กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2011
ชื่อเรื่อง: | อุบัติการณ์และแนวทางเพื่อนําไปสู่การควบคุมการปนเปื้อน แบคทีเรียกรดแลคติกในอุตสาหกรรมการผลิตเอทานอลเพื่อเป็นเชื้อเพลิง ของประเทศไทย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Incidence and strategies for controlling lactic acid bacteria contamination in Thailand industrial fuel ethanol production |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ศิริโฉม ทุ่งเก้า มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | กากน้ำตาล การปนเปื้อน สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา เอทานอล แบคทีเรียกรดแลคติกใส |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | งานวิจัยนี้ได้นําแบคทีเรียกรดแลคติกจํานวน 20 ไอโซเลตที่แยกได้จากโรงงานผลิตเอทานอล ที่ใช่กากน้ำตาลเป็นวัตถุดิบซึ่งจัดจําแนกสปีชีส์ด้วยวิธีการวิเคราะห์ยีน 16S rRNA ได้เป้น Lactobacillus plantarum, Lactobacillus farraginis และ Lactobacillus rhamnosus และ Lactobacillus sp. มาทดสอบหาค่า Minimum Inhibitory Concentration (MIC) ต่อยาปฏิชีวนะ 2 ชนิด ได้แก้ Kamoran และ Erythromycin และต่อสารเคมี 1 ชนิด ได้แก่ Hydrogen peroxide (H2O2) โดยวิธี Macrobroth dilution พบว่าแบคทีเรียทั้ง 20 ไอโซเลตมีค่า MIC ต่อยา Kamoran >100 ppm มีค่า MIC ต่อยา Erythromycin ระหว่าง <0.1 ถึง >50 ppm และมีค่า MIC ต่อ H2O2 ระหว่าง <1 ถึง >400 ppm เมื่อทําการทดสอบการยับยั้งแบคทีเรียกรดแลคติกผสมโดยสาร ทดสอบแต่ละชนิดในสภาวะการหมักเอทานอลจําลองที่ใช้กากน้ําตาลเป็นวัตถุดิบพบว่าสารแต่ละชนิด มีผลยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียกรดแลคติกผสมได้ แต่เมื่อเติมยา Kamoran ที่ความเข้มข้น 5 ppm ในกากน้ําตาลที่มีเชื้อแบคทีเรียกรดแลคติกผสมไม่ทําให้ยีสต์ผลิตเอทานอลได้เพิ่มขึ้น การทดสอบความสามารถในการสร้างไบโอฟอล์มบนแผ่นเหล็กกล้าปลอดสนิมชนิด 304 ของแบคทีเรีย กรดแลคติกแต่ละไอโซเลตในกากน้ําตาล หาปริมาณไบโอฟิมด้วยวิธี viable plate count พบว่า 11 ใน 20 ไอโซเลตสร้างไบโอฟิล์มได้เมื่อบ่มนาน 48 ชั่วโมง โดยความสามารถในการสร้างไบโอฟิล์ม แตกต่างกันตามสปีชีส์และสายพันธุ์ของแบคทีเรีย นอกจากนั้นยังพบว่าแบคทีเรียกรดแลคติกผสม สร้างไบโอฟิล์มร่วมกับยีสต์บนแผ่นเหล็กกล้าปลอดสนิมในสภาวะการหมักเอทานอลจําลองได้โดย ความหนาแน่นของไบโอฟิล์มเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาการบ่มเมื่อตรวจสอบด้วยวิธี viable plate count และจากกล่องอิเลคตรอนแบบส่องกราด |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2011 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2560_035.pdf | 2.39 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น