กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1916
ชื่อเรื่อง: | โครงการ การตรวจหามะเร็งเต้านมโดยการตรวจหามวลที่มีรูปร่างแบบ Spiculation สำหรับคอมพิวเตอร์ช่วยการวินิจฉัยในโรงพยาบาล |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Breast cancer detection by evaluating spiculated mass for computer-aided diagnosis in hospital patients |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | กฤษณะ ชินสาร สุวรรณา รัศมีขวัญ เบญจภรณ์ จันทรกองกุล ภูสิต กุลเกษม อัณณ์นุพันธ์ รอดทุกข์ ชิดชนก เหลือสินทรัพย์ ปิยตระกูล บุญทอง มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาการสารสนเทศ |
คำสำคัญ: | การวินิจฉัยโรค การหามะเร็งเต้านม คอมพิวเตอร์ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การตรวจหามะเร็งเต้านมจะใช้เทคนิคการประมวลผลภาพทางการแพทย์มาตรวจสอบก้อนเนื้อที่เป็นรอยฉีกจะเป็นปัจจัยที่บ่งชี้การเป็นมะเร็งเบื้องต้น ในกระบวนการตรวจสอบก้อนเนื้อที่เป็นรอยฉีกแบบอัตโนมัติจะประกอบไปด้วย ขั้นตอนการประมวลผลภาพที่มีประสิทธิภาพ โดยการกำจัดส่วนของกล้ามเนื้อหน้าอก (Pectoral Muscle) ด้วยวิธีการ Region growing จากนั้นทำการลดขนาดรูปภาพเพื่อหาบริเวณที่เราสนใจ (Region of interest: ROI) ด้วยวิธีคำนวณหาอัตราส่วนของเต้านม การปรับปรุงคุณภาพของส่วนพื้นที่ที่เหลือในภาพ ROI ด้วยโพลิโนเมียลเฮอร์ไมท์ เมื่อจบการประมวลผลขั้นตอน ผู้วิจัยได้นำเสนอขั้นตอนวิธีการหาจุดเริ่มต้นของเอ็กทีฟคอนทัวร์ (Active contour) ด้วยขั้นวิธี Radon Transform จากนั้นคำนวณรูปร่างของมวลเนื้อเยื่อแบบรอยฉีกด้วยแอ็กทีฟคอนทัวร์ ด้วยเทคนิคที่อยู่บนพื้นฐาน GGVF จากกระบวนการที่ได้นำเสนอภาพที่ใช้จากฐานข้อมูลภาพดิจิตอลเมมโมแกรมให้ความถูกต้องของผลลัพธ์เป้นที่น่าพึงพอใจมากและสามารถระบุตำแหน่งของมวลเนื้อเยื่อที่คาดว่าจะเป็นเนื้อเยื่อที่มีรอบฉีกอย่างอัตโนมัติ |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1916 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2560_069.pdf | 1.85 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น