กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1881
ชื่อเรื่อง: การศึกษาฤทธิ์ต้านจุลชีพของราที่แยกได้จากนาเกลือ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Study of antimicrobial activities of fungi isolated from solar salterns
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อภิรดี ปิลันธนภาคย์
สุดารัตน์ สวนจิตร
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: TLC bioautography
ความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการ
รานาเกลือ
ฤทธิ์ต้านจุลชีพ
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาฤทธิ์ต้านจุลชีพของราที่แยกได้จากดินและน้ำในนาเกลือ จำนวน 150 สายพันธุ์ โดยใช้สารสกัดเอธิลอะซิเตทหยาบจากอาหาร potato dextrose broth ความเค็ม 30 ppt (PDB/sw) ที่ใช้เลี้ยงราทดสอบ นำไปทดสอบการยับยั้งแบคทีเรียสายพันธุ์มาตรฐาน จำนวน 6 ชนิดและยีสต์ Candida albicans สายพันธุ์มาตรฐาน จำนวน 2 สายพันธุ์ ด้วยวิธี disk diffusion พบว่าสารสกัดหยาบ 60 สารจากอาหารเหลวเลี้ยงรา 150 สายพันธุ์ (ร้อยละ 40) ยับยั้งแบคทีเรียทดสอบได้อย่างน้อย 1 ชนิด และสารสกัดหยาบ 36 สาร (ร้อยละ 24) ยับยั้งยีสต์ทดสอบอย่างน้อย 1 สายพันธุ์ สารสกัดเกือบทั้งหมดยับยั้งแบคทีเรียแกรมบวก Bacillus cereus TISTR 008 และ Staphylococcus aureus ATCC 25923ได้ดี ค่า MIC ต่อแบคทีเรียแกรมบวกของสารสกัดจาก PDB/sw ของราที่ดีที่สุด ที่คัดเลือกมาจำนวน 11 สายพันธุ์ อยู่ในช่วง 8-256 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ค่า MIC ต่อยีสต์อยู่ในช่วง 512-1024 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ราที่สารสกัดให้ผลยับยั้งดีต่อแบคทีเรียแกรมบวกทั้งสองชนิด (MIC<128 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร) มีจานวน 8 สายพันธุ์ ได้แก่ SS 066, SS 069, SS 070, SS 076, SS 078, SS 079, SSpb4215 และ SSpb4225 เมื่อเปรียบเทียบค่า MIC ของสารสกัดจาก PDB/sw และ PDB/dw (ความเค็ม 0 ppt) ของราที่คัดเลือกไว้จำนวน 5 สายพันธุ์จาก 8 สายพันธุ์ พบว่าแตกต่างกันไปขึ้นกับสายพันธุ์รา สารองค์ประกอบในสารสกัดสามารถแยกออกจากกันโดยวิธี TLC ในตัวทำละลาย toluene: methanol: acetone (6:1:3 ปริมาตรต่อปริมาตร) พบว่าราสายพันธุ์เดียวกันแต่เลี้ยงในอาหารเลี้ยงเชื้อที่มีความเค็มต่างกัน แสดงจำนวนสารองค์ประกอบต่างกัน แต่ส่วนใหญ่สารที่แยกได้มีค่า Rf ไม่แตกต่างกัน พบการยับยั้งแบคทีเรียทดสอบของสารองค์ประกอบที่แยกได้บนแผ่น TLC โดยวิธี autobiography อย่างชัดเจน แต่ในเบื้องต้นยังไม่สามารถตัดสินแน่ชัดว่าการยับยั้งเป็นผลมาจากสารองค์ประกอบใด มีแนวโน้มว่าสารองค์ประกอบ ที่มีค่า Rf 0.62 และ 0.64 0.64 0.64 0.64 (PDB/sw และ PDB/dw) ของสารสกัดรา SS 069 SS 069 SS 069 SS 069 SS 069 SS 069 SS 069 ค่า Rf 0.700.700.700.70 และ 0.71 0.71 0.71 0.71 0.71 (PDB/sw) ของสารสกัดรา SSpb1122 SSpb1122 SSpb1122 SSpb1122 SSpb1122 SSpb1122 SSpb1122 SSpb1122 SSpb1122 ค่า Rf 0.660.660.660.66 และ 0.69 (PDB/sw) ของสารสกัดรา SSpb4225 SSpb4225 SSpb4225 SSpb4225 ค่า Rf 0.68 (PDB/sw) ของสารสกัดรา SSpb4332 SSpb4332 ยังคงยับยั้งแบคทีเรียแกรมบวก B. cereus TISTR 008 ได้ดีที่สุด และดีกว่า S. aureus ATCC 25923 การจัดจำแนกราทางอณูพันธุศาสตร์ร่วมกับการศึกษาความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการของราที่ดีที่สุด ที่คัดเลือกมา จำนวน 11 สายพันธุ์ข้างต้น สามารถระบุสปีชีส์ได้เพียง 1 สายพันธุ์ ราส่วนใหญ่เป็น Aspergillus ที่ยังไม่สามารถระบุสปีชีส์ได้ รา SS 033 และ SS 066 เป็นราที่ระบุแทกซ้อนได้เพียง Dothidiomyces และ Hypocreales ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าราที่มีคุณสมบัติยับยั้งแกรมบวกจากนาเกลือส่วนใหญ่มีแนวโน้มเป็นราชนิดใหม่
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1881
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2560_024.pdf3.59 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น