กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1859
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาการตรึงเอนไซม์ไลเปสประสิทธิภาพสูงจากแบคทีเรียบนวัสดุราคาประหยัดเพื่อใช้ในการผลิตไบโอดีเซล
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of high-efficiency lipase immobilization on economic efficiency carrier for biodiesel production
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พัชรนันท์ อมรรัตนพันธ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: การตรึงเอนไซม์
สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
เอนไซม์ไลเปส
แร่เวอร์มิคูไลท์
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้จึงได้ศึกษาการตรึงเอนไซม์ไลเปสจากเชื้อ Bacillus sp. BLCD 003 บนแร่มอนท์มอริลโลไนท์ และแร่เวอร์มิคูไลท์ โดยวิธี Physical adsorption และศึกษาสภาวะต่าง ๆ ที่เหมาะสมต่อการทำงานของเอนไซม์ไลเปสตรึง พบว่า เอนไซม์ไลเปสตรึงบนแร่มอนท์มอริลโลไนท์ มีสภาวะที่เหมาะสมในการตึงดังนี้ การใช้ปริมาณเอนไซม์ต่อสารพยุงเท่ากับ 5:1 ใช้เวลาในการตรึง 90 นาที เมื่อศึกษาคุณสมบัติของเอนไซม์ไลเปสตรึงบนแร่มอนท์มอริลโลไนท์พบว่า ค่าพีเอชที่เหมาะสมในการทำงานคือ พีเอช 9 มีอุณหภูมิที่เหมาะสมในการทำงานคือ 70 องศาเซลเซียส มีความเสถียรต่อพีเอชในช่วง 6-9 และมีความเสถียรต่ออุณหภูมิในช่วง 45-80 องศาเซลเซียส ส่วนเอนไซม์ตรึงบนแร่เวอร์มิคูไลท์มีสภาวะที่เหมาะสมในการตรึง ได้แก่ ปริมาณเอนไซม์ต่อสารพยุงเท่ากับ 3:1 ใช้เวลาในการตึง 30 นาที ค่าพีเอชที่เหมาะสมในการทำงานคือพีเอช 6-7 มีอุณหภูมิที่เหมาะสมในการทำงานคือ 45 องศาเซลเซียส มีความเสถียรต่อพีเอชที่ช่วงพีเอช 7-10 และมีความเสถียรต่ออุณหภูมิในช่วง 45-80 องศาเซลเซียส ผลการศึกษานี้บ่งชี้ว่าแร่มอนท์มอริลโลไนท์ และแร่เวอร์มิคูไลท์มีคุณสมบัติที่ดีในการเป็นสารพยุงสำหรับตรึงเอนไซม์ไลเปส แต่อย่างไรก็ตามยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อหาสภาวะที่สามารถนำเอนไซม์ตรึงรูปทั้งสองแบบไปใช้ในการผลิตไบโอดีเซลต่อไป
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1859
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2560_045.pdf11.46 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น