กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1770
ชื่อเรื่อง: | การวิจัยและพัฒนาการใช้รัฐบาลอิเล็กทรินิกส์ของไทยผ่านศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชน. |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | research and development of Thai e-Governmant usage through community telecentres |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เรวัต แสงสุริยงค์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ |
คำสำคัญ: | อินเทอร์เน็ตในการบริหารรัฐกิจ -- ไทย การบริหารรัฐกิจ -- การใช้เครื่องจักรกล สาขาสังคมวิทยา |
วันที่เผยแพร่: | 2556 |
สำนักพิมพ์: | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยและพัฒนาการใช้รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของไทยผ่านศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชน มีคำถามการวิจัย คือ 1) สภาพบริบทและโครงสร้างสังคมของชุมชนบ้านหัวโกรกมีลักษณะอย่างไร และ 2) คู่มือการใช้บริการอิเล็กทรอนิกส์ของหน่วยงานของรัฐบาลที่เหมาะสมกับสภาพบริบทและโครงสรา้งทางสังคมของชุมชนบ้านหัวโกรก มีขั้นตอน กระบวนการ และวิธีการใช้เป็นอย่างไร กรอบแนวคิดที่ใช้ประกอบการค้นหาคำตอบการวิจัย คือแนวคิดเกี่ยวกับรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แนวคิดความเหลื่อมล้ำด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ทฤษฎีการแพร่กระจายของนวัตกรรมแนวคิดเกี่ยวกับศูนย์บริการสารสนเทศชุมชน แนวคิดศูนย์บริการสารสนเทศชุมชนกับการลอดช่องว่างด้านดิจิทัล และแนวคิดศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชนกับบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ วิธีการค้นหาคำตอบใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบพหุหรือหลายวิธี ด้วยวิธีการแบบผสมผสาน ใช้ทั้งข้อมูลเชิงคุณภาพ และข้อมูลเชิงปริมาณ เพื่อให้ได้ข้อมูลทั้งในระดับภาพรวมของชุมชน ระดับครอบครัวและระดับบุคคล สำหรับนำมาประกอบการพัฒนาคู่มือการใช้รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของชุมชน ผลการศึกษาพบว่า บ้านหัวโกรก อยู่ในเขตชนบทของอำเภอเมืองชลบุรี สังคมและเศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากความเป็นอุตสาหกรรมและความเป็นเมืองที่อยู่โดยรอบ ระดับชุมชนมีความพร้อมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพราะมีศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชนที่พร้อมให้บริการประชาชนระดับครัวเรือนแต่ละครัวเรือนมีความพร้อมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแตกต่างกันตามสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคม ภาพรวมจากการศึกษาบริการอิเล็กทรอนิกส์ของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับชุมชนบ้านหัวโกรกแสดงให้เห็นว่า หน่วยงานของรัฐในระดับท้องถิ่นและชุมชนมีและใช้เทคโนดลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการบริหารงาน แต่ยังไม่มีระบบบริการแบบออนไลน์ให้ประชาชนใช้บริการได้จากครัวเรือน การมีและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ยังไม่มีความพร้อมด้านเทคโนโลยี ด้านพฤติกรรม และด้านบริบทของการใช้รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ แต่มีความเชื่อว่าอินเทอร์เน็ตสามารถช่วยลดเวลาและลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปติดต่อกับหน่วยงานของรัฐ |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1770 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2559_108.pdf | 6.97 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น