กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1770
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorเรวัต แสงสุริยงค์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:08:40Z
dc.date.available2019-03-25T09:08:40Z
dc.date.issued2556
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1770
dc.description.abstractการวิจัยและพัฒนาการใช้รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของไทยผ่านศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชน มีคำถามการวิจัย คือ 1) สภาพบริบทและโครงสร้างสังคมของชุมชนบ้านหัวโกรกมีลักษณะอย่างไร และ 2) คู่มือการใช้บริการอิเล็กทรอนิกส์ของหน่วยงานของรัฐบาลที่เหมาะสมกับสภาพบริบทและโครงสรา้งทางสังคมของชุมชนบ้านหัวโกรก มีขั้นตอน กระบวนการ และวิธีการใช้เป็นอย่างไร กรอบแนวคิดที่ใช้ประกอบการค้นหาคำตอบการวิจัย คือแนวคิดเกี่ยวกับรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แนวคิดความเหลื่อมล้ำด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ทฤษฎีการแพร่กระจายของนวัตกรรมแนวคิดเกี่ยวกับศูนย์บริการสารสนเทศชุมชน แนวคิดศูนย์บริการสารสนเทศชุมชนกับการลอดช่องว่างด้านดิจิทัล และแนวคิดศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชนกับบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ วิธีการค้นหาคำตอบใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบพหุหรือหลายวิธี ด้วยวิธีการแบบผสมผสาน ใช้ทั้งข้อมูลเชิงคุณภาพ และข้อมูลเชิงปริมาณ เพื่อให้ได้ข้อมูลทั้งในระดับภาพรวมของชุมชน ระดับครอบครัวและระดับบุคคล สำหรับนำมาประกอบการพัฒนาคู่มือการใช้รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของชุมชน ผลการศึกษาพบว่า บ้านหัวโกรก อยู่ในเขตชนบทของอำเภอเมืองชลบุรี สังคมและเศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากความเป็นอุตสาหกรรมและความเป็นเมืองที่อยู่โดยรอบ ระดับชุมชนมีความพร้อมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพราะมีศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชนที่พร้อมให้บริการประชาชนระดับครัวเรือนแต่ละครัวเรือนมีความพร้อมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแตกต่างกันตามสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคม ภาพรวมจากการศึกษาบริการอิเล็กทรอนิกส์ของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับชุมชนบ้านหัวโกรกแสดงให้เห็นว่า หน่วยงานของรัฐในระดับท้องถิ่นและชุมชนมีและใช้เทคโนดลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการบริหารงาน แต่ยังไม่มีระบบบริการแบบออนไลน์ให้ประชาชนใช้บริการได้จากครัวเรือน การมีและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ยังไม่มีความพร้อมด้านเทคโนโลยี ด้านพฤติกรรม และด้านบริบทของการใช้รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ แต่มีความเชื่อว่าอินเทอร์เน็ตสามารถช่วยลดเวลาและลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปติดต่อกับหน่วยงานของรัฐth_TH
dc.description.sponsorshipงานวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยประจำปีงบประมาณ 2555 ภาควิชาสังคมวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาen
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectอินเทอร์เน็ตในการบริหารรัฐกิจ -- ไทยth_TH
dc.subjectการบริหารรัฐกิจ -- การใช้เครื่องจักรกลth_TH
dc.subjectสาขาสังคมวิทยาth_TH
dc.titleการวิจัยและพัฒนาการใช้รัฐบาลอิเล็กทรินิกส์ของไทยผ่านศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชน.th_TH
dc.title.alternativeresearch and development of Thai e-Governmant usage through community telecentresen
dc.typeResearchth_TH
dc.author.emailrewat@buu.ac.th
dc.year2556
dc.description.abstractalternativeThe research questions of research and development of Thai e-Government usage through community telecentres are: 1) what is the context and the social structure of Ban Hua Krok community? and 2) what is the manual of usage e-government service be appropriate context and social structure of Ban Hua Krok community? The framework used for research to find answers are the concept of e-Government, diffusion of innovation theory, digital devide, community telecenter, community telecenter and digital divide and community telecenters and e-Government. The research methodology to find the answer is multimethodology with mixed method research using both qualitative data and quantitative data for get an overview of the entire community, the family level and individual level to the development of e-Goverment manual of the community. The study found that the Ban Hua Krok community are uplands and located on the outskirts of the Chon Buri district and has been affected by the industry and the city surrounding it. The community level is the readiness of information and communications technology. Because have the community telecentre that provide public services. But now closed due to lack of budget management. The household level are each hosehold with information and communications technology vary by socioeconomic status, but old. However are many households that have both old and new information and communications technology. An overview of the e-government service related with the Ban Hua Krok Community found that government agencies and local communities in the use of information and communications technology in the administration but haven't online services system to provide public to households. Citizens need to contact and service with government agencies themselves. The study using of information and communications technology from the sample found that most of not readiness in the technology, the behavior and the context of e-government. There is a belief that the internet can help reduce the time and cost of travel to dealing with government agencies. The manual e-services of government agencies from the context and the social structure of the community have two types are: 1) The manual for using non-transactions e-service of government agencies, and 2) The manual for using transactions e-services of government agenciesen
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2559_108.pdf6.97 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น