กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1762
ชื่อเรื่อง: การรับรู้และความคาดหวังต่อบทบาทของศูนย์นวัตกรรมการบริหารและผู้นำทางการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคตะวันออก.
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Perception and expectation on the role of innovative administration and educational leadership center of the basic school administrators, eastren region, Thailand.
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สถาพร พฤฑฒิกุล
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: การรับรู้
ความคาดหวัง
สาขาการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการรับรู้และความคาดหวังต่อบทบาทของศูนย์นวัตกรรมการบริหารและผู้นำทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา โดยการวิเคราะห์บทบาทใน 4 ด้านการผลิตและการพัฒนาคุณภาพบัณฑิต ด้านการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ ด้านการบริการวิชาการแก่ชุมชน และด้านการอนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรม กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออก จำนวน 279 โดย จำแนกตามเพศ ประสบการณ์ในการทำงาน วุฒิการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นโดยรวมเท่ากับ 0.93 และวิเคราะห์ข้อมูลด้วย การทดสอบค่าที (t-test)การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และค่าสัมประสิทธฺ์สหสัมพันธ์ (Simple Correlaion)ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป ผลการศึกษา สรุปได้ดังนี้ 1.ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีการรับรู้ต่อบทบาทของศูนย์นวัตกรรมการบริหารและผู้นำทางการศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และมีความคาดหวังต่อบทบาทของศูนย์นวัตกรรมการบริหารและผู้นำทางการศึกษา ในระดับมาก เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อยได้ดังนี้ ด้านการผลิตและพัฒนาคุณภาพบัณฑิต ด้านการวิจัยและพัฒนา องค์ความรู้ ด้านบริการวิชาการแก่สังคม และด้านการอนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรม ตามลำดับ 2.การเปรียบเทียบการรับรู้และความคาดหวังต่อบทบาทของศูนย์นวัตกรรมการบริหารและผู้นำทางการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่าผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคาดหวังต่อบทบาทของศูนย์นวัตกรรมการบริหาร และผู้นำทางการศึกษาสูงกว่าการรับรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อวิเคราะห์โดยจะแนกตามเพศ พบว่าการรับรู้ของผู้บริหารโดยรวมและด้านการผลิตและพัฒนาคุณภาพบัณฑิต ด้านการบริการวิชาการแก่สังคมแตกต่างกันอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนความคาดหวังโดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำแนกตามประสบการณ์ผู้บริหาร พบว่ามีการรับรู้ไม่แตกต่างกัน ส่วนความคาดหวังโดยรวมและรายด้านแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำแนกตามวุฒิการศึกษาของผู้บริหาร พบว่าการรับรู้ด้านการผลิตและพัฒนา คุณภาพบัณฑิตและด้านการอนุรักษ์ศิลปกรรม แตกต่างกันอย่างน้อยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนความคาดหวัง โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และจำแนกตามสังกัดสถานศึกษา พบว่าผู้บริหาร มีการรับรู้โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนความคาดหวังไม่แตกต่างกันยกเว้นด้านการวิจัย และพัฒนาองค์ความรู้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.การรับรู้และความคาดหวังต่อบทบาทของศูนย์นวัตกรรมการบริหารและผู้นำทางการศึกษา ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมมีความสัมพันกันทางบวก ในระดับค่อนข้างสูง (rxy=.64)อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1762
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2568_004.pdf3.64 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น