กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1752
ชื่อเรื่อง: | ความพึงพอใจของนายจ้างต่อบัณฑิตภาควิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา ปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา รุ่นปีการศึกษา 2549-2553 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The satisfaction of employer toward quadrat of innovational and educational technology bachelor's degree faculty of education, Burapha University in the Academic year 2549-2553. |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ภูเบศ เลื่อมใส มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ความพึงพอใจ นายจ้าง บัณฑิต สาขาการศึกษา |
วันที่เผยแพร่: | 2558 |
สำนักพิมพ์: | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยเรื่อง ศึกษาความพึงพอใจของนายจ้างต่อบัณฑิตภาควิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา รุ่นปีการศึกษา 2549-2553 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนายจ้างต่อ บัณฑิตภาควิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ในด้านความรู้ความสามารถทางวิชาการ ด้านความสามารถพื้นฐานที่ส่งผลต่อการทำงาน และด้านคุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณในวิชาชีพ ผู้วิจัยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ บัณฑิตที่จบการศึกษา สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา และผู้ใช้บัณฑิต เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. ความพึงพอใจของนายจ้างต่อบัณฑิตภาควิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา รุ่นปีการศึกษา 2549-2553 โดยภาพรวม พบว่า บัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา และผู้ใช้บัณฑิต มีความคิดเห็นว่าเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 2. ความพึงพอใจด้านความรู้ความสามารถทางวิชาการ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ การเรียนรู้งานที่ได้รับมอบหมายอย่างรวดเร็ว มีความเหมาะสมลำดับแรก ส่วนความรู้ที่ทันสมัยในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องเข้าใจอย่างลุ่มลึกในเนื้อหาสาระหลัก มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดรองลงมา 3. ความพึงพอใจด้านความสามารถพื้นฐานที่ส่งผลต่อการทำงาน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือการรู้เทคนิค วิธีและกระบวนการในการเรียนรู้สามารถนำไปใช้ในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างเหมาะสม มีความเหมาะสมลำดับแรก ส่วนการมีความสามารถในการทำงานเป็นทีมมีค่าเฉลี่ยมากที่สุดรองลงมา 4. ความพึงพอใจด้านคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณในวิชาชีพ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับของหน่วยงาน มีความเหมาะสมลำดับแรก ส่วนการศรัทธาในความดี มีหลักคิดและแนวปฏิบัติในทางส่งเสริมความดีและคุณค่าความเป็นมนุษย์ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดรองลงมา |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1752 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2567_216.pdf | 2.55 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น