กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/17446
ชื่อเรื่อง: | อาชญากรรมไซเบอร์ : ศึกษากรณีการหลอกให้ลงทุน |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Cyber crime : a case study of investment scams |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ธีระ กุลสวัสดิ์ |
คำสำคัญ: | ความมั่นคงในระบบคอมพิวเตอร์ อาชญากรรม อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2567 |
สำนักพิมพ์: | คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงวิธีการหลอกลวงทางไซเบอร์ให้เหยื่อหลงเชื่อและลงทุน เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตกเป็นเหยื่อของการหลอกลวงให้ลงทุน เพื่อศึกษาผลกระทบ จากการถูกหลอกให้ลงทุน และเพื่อเสนอแนวทางในการป้องกันการตกเป็นเหยื่อของการหลอกให้ ลงทุน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In- depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสําคัญ โดยการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้สมัครใจให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลสําคัญจํานวน 27 คน แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ผู้ ที่ตกเป็นเหยื่อการหลอกลวงทางไซเบอร์จํานวน 17 คน เจ้าหน้าที่และนักวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการ ช่วยเหลือผู้ที่ถูกหลอกลวงทางไซเบอร์จํานวน 5 คน และผู้มีส่วนร่วมในการหลอกลวงจํานวน 5 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) วิธีการหลอกลวงให้ลงทุน มิจฉาชีพจะใช้กระบวนการในการสร้างแม่ทีม และให้แม่ทีมชักชวนผู้ลงทุน โดยเสนอให้ผลตอบแทนสูงกว่าสถาบันการเงิน โดยมีกระบวนการสร้าง คามน่าเชื่อถือให้กับเหยื่อเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในการลงทุน 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตกเป็นเหยื่อ ของการหลอกลวงให้ลงทุน ประกอบด้วย ปัจจัยด้านความไม่รู้ ไม่มีความเข้าใจในการลงทุน ปัจจัย ด้านความโลภ ปัจจัยด้านการชักชวนให้ลงทุนจากเพื่อนที่รู้จักหรือญาติ ปัจจัยด้านความน่าเชื่อถือของ ผู้หลอกลวง และปัจจัยการรู้ไม่เท่าทันการหลอกลวง 3 ผลกระทบจากการถูกหลอกให้ลงทุน ผลกระทบจากการถูกหลอกให้ลงทุน ผู้เสียหายบางส่วนสูญเสียทรัพย์สินเงินทองจํานวนมากจนเงิน เก็บสะสมหมดลง แต่ก็มีผู้เสียหายบางส่วนที่ลงทุนโดยอาศัยประสบการณ์ที่เคยถูกหลอก ทําให้นําเงิน บางส่วนมาลงทุน 4) แนวทางในการป้องกันการตกเป็นเหยื่อของการหลอกให้ลงทุน คือ การลงทุน ต้องไม่อยู่ในความโลภ ความรู้ความเข้าใจในการลงทุน การมีสายตรวจไซเบอร์ การให้วัคซีนไซเบอร์ กับประชาชน และ การเพิ่มกําลังพลของเจ้าหน้าที่ให้มีจํานวนมากพอที่จะจัดการกับคดีการหลอกลวงทางไซเบอร์ |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/17446 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2568-173.pdf | 941.1 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น