กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/17445
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานการฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางรัฐศาสตร์ ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Efficiency development of professional experience training in political science, Faculty of Political Science and Law, Burapha University |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ธัช ขันธประสิทธิ์ |
คำสำคัญ: | การทำงาน การฝึกอบรม |
วันที่เผยแพร่: | 2566 |
สำนักพิมพ์: | คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methodology) ผสานวิธีคิดและกระบวนการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เข้าด้วยกัน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินประสิทธิภาพการปฏิบัติงานการฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางรัฐศาสตร์ ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์และนิศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคการปฏิบัติงานฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางรัฐศาสตร์ ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์และนิศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานการฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางรัฐศาสตร์ ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์และนิศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ คือ นิสิตที่ลงทะเบียนฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางรัฐศาสตร์ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จ านวน 162 คน คณาจารย์นิเทศจำนวน 7 คน และผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานที่นิสิตเข้ารับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ จำนวน 84 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ นิสิตคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ที่ฝึกงานในหน่วยงานภาครัฐ จำนวน 5 คน และหน่วยงานภาคเอกชนและอื่น ๆ จำนวน 5 คน คณาจารย์นิเทศ จำนวน 5 คน และผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานที่นิสิตเข้ารับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ จำนวน 6 หน่วยงาน ผลการวิเคราะห์เชิงปริมาณจากการประเมินประสิทธิภาพของระบบและกลไกการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จากอาจารย์นิเทศ พบว่า ก่อน-ระหว่าง-หลังการฝึกงานอยู่ในระดับมาก จากการประเมินประสิทธิภาพ ของนิสิตที่เข้าฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 4 ด้านในภาพรวมผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ทั้งนี้ ในส่วน ของผู้บริหารและผู้แทนหน่วยงานภาพรวมผลการประเมินประสิทธิภาพของนิสิตที่เข้าฝึกประสบการณ์ วิชาชีพ 4 ด้านอยู่ในระดับมากเช่นกัน อย่างไรก็ตาม การวิจัยครั้งนี้ไม่พบความแตกต่างของประสิทธิภาพการปฏิบัติงานการฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางรัฐศาสตร์ของนิสิตภาควิชารัฐศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ในหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาคเอกชนและอื่น ๆ รวมถึงแหล่งฝึกงานในจังหวัดกรุงเทพมหานคร หรือจังหวัดอื่น ๆ แสดงว่าปัจจัยด้านหน่วยงานและสถานที่ในการฝึกประสบการณ์ไม่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานการฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางรัฐศาสตร์ของนิสิตภาควิชารัฐศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา แต่อย่างใด ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิเคราะห์การ สัมภาษณ์เชิงลึกจากนิสิต อาจารย์นิเทศ และผู้บริหารหรือผู้แทนแหล่งฝึกงานได้แสดงทัศนะที่สอดคล้องกัน ควรมีการแนะแนวการเติบโตของสายงานก่อนที่นิสิตจะเลือกวิชาเอกในชั้นปีที่ 2 รวมถึงการคัดเลือกสถานที่ฝึกงานจากเจ้าหน้าที่แหล่งฝึกงานแต่ละประเภท ทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อให้นิสิตสามารถตัดสินใจและวางแผนการศึกษาต่อและฝึกประสบการณ์วิชาชีพในชั้นปีที่ 4 เทอม 2 อีกหนึ่งกลยุทธ์ที่ควรให้ความส าคัญในการพัฒนานิสิต ก่อนสำเร็จการศึกษาและพร้อมเติบโตในเส้นทางอาชีพ คือการพัฒนาบุคลิกภาพและภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/17445 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2568-174.pdf | 2.96 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น