กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/17442
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorธีระพงษ์ ภูริปาณิก-
dc.date.accessioned2025-03-07T01:41:23Z-
dc.date.available2025-03-07T01:41:23Z-
dc.date.issued2565-
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/17442-
dc.description.abstractการศึกษาเรื่อง สมรรถนะขององค์การบริหารส่วนจังหวัดในภาคตะวันออกในการจัดการศึกษาสำหรับ คนพิการ มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ คือ 1) เพื่อศึกษาสมรรถนะหลักขององค์การบริหารส่วนจังหวัดในภาค ตะวันออกในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ 2) เพื่อศึกษาสมรรถนะด้านการจัดการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดในภาคตะวันออกในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะ ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดในภาคตะวันออกในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ และ 4) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และแนวทางในการเสริมสร้างสมรรถนะขององค์การบริหารส่วนจังหวัดในภาคตะวันออกในการจัด การศึกษาสำหรับคนพิการ ซึ่งผู้วิจัยได้ศึกษาโรงเรียนในสังกัดขององค์การบริหารส่วนจังหวัดในภาคตะวันออกของประเทศไทย ประกอบไปด้วย 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชลบุรี จังหวัดระยอง จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดตราด จังหวัด ปราจีนบุรี และจังหวัดสระแก้ว โดยมุ่งเน้นศึกษาและวิเคราะห์สมรรถนะของบุคลากรครู สมรรถนะหลัก สมรรถนะด้านการจัดการ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะขององค์การบริหารส่วนจังหวัดในภาค ตะวันออกในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ และทำการศึกษาจากผู้บริหารขององค์การบริหารส่วนจังหวัด คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และผู้ปกครอง ของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วน จังหวัดในภาคตะวันออก ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 พบว่า สมรรถนะของบุคลากรครูขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ในภาคตะวันออกอยู่ในระดับมากที่สุดสองด้าน คือ ด้านนิสัย (X = 4.44) และด้านความรู้สึกเกี่ยวกับตนเอง ( X =4.25) และอยู่ในระดับมากสามด้าน ซึ่งสามารถเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านแรงจูงใจ ( X = 3.89) ด้านความรู้ ( X = 3.88) และด้านทักษะ ( X = 3.82) ตามลำดับ ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 พบว่า สมรรถนะหลักขององค์การบริหารส่วนจังหวัดใน ภาคตะวันออกในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ อยู่ในระดับมากทุกด้าน ซึ่งสามารถเรียงลำดับจากมากไป หาน้อยได้ดังนี้ ด้านการยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม ( X = 3.77) ด้านการบริการเป็นเลิศ ( X = 3.75) ด้านความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน (X = 3.74) ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ (X = 3.68) และด้านการทำงานเป็นทีม ( X = 3.67) ตามลำดับ ส่วนสมรรถนะการจัดการขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ในภาคตะวันออกในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ อยู่ในระดับมากสามด้าน ซึ่งสามารถเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านโครงสร้าง (X = 3.58) ด้านสถานที่ ( X = 3.52) ด้านวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือเครื่องใช้ ( X = 3.45) และอยู่ในระดับปานกลางสองด้าน คือ ด้านงบประมาณ ( X= 3.38) และด้านบุคลากร ( X = 3.21) ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 พบว่า การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสมรรถนะของ บุคลากรทางการศึกษาขององค์การบริหารส่วนจังหวัดในภาคตะวันออก กับสมรรถนะขององค์การบริหารส่วน จังหวัดในภาคตะวันออกในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พบว่า สมรรถนะของบุคลากรทางการศึกษาของ องค์การบริหารส่วนจังหวัดในภาคตะวันออกมีความสัมพันธ์ปานกลาง (r = .412) กับสมรรถนะขององค์การ บริหารส่วนจังหวัดในภาคตะวันออกในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสมรรถนะของบุคลากรทางการศึกษาขององค์การบริหารส่วน จังหวัดในภาคตะวันออกในรายด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ ด้านทักษะ ด้านความรู้สึกเกี่ยวกับตนเอง ด้านนิสัย และด้านแรงจูงใจ กับสมรรถนะขององค์การบริหารส่วนจังหวัดในภาคตะวันออกในการจัดการศึกษาสำหรับคน พิการ พบว่า ทุกด้านมีความสัมพันธ์ปานกลาง ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 4 พบว่า องค์การบริหารส่วนจังหวัดในภาคตะวันออกยังมีปัญหา และอุปสรรคในการเสริมสร้างสมรรถนะในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ดังนี้ 1. องค์การบริหารส่วนจังหวัดหรือโรงเรียนที่สังกัดยังไม่มีครูหรือบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียน หรือในส่วนขององค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีวุฒิการศึกษาหรือได้รับการอบรมเพื่อจัดการศึกษาเพื่อคนพิการ ซึ่งการจัดการศึกษาเพื่อคนพิการนั้นต้องการผู้ที่มีความรู้ความสามารถที่ตรงสาขา เพื่อการพัฒนาผู้พิการให้มี พัฒนาการเป็นไปตามขั้นตอน และเหมาะสมกับภาวะของพัฒนาการของแต่ละช่วง 2. องค์การบริหารส่วนจังหวัดหรือโรงเรียนที่สังกัดไม่ได้มีการตั้งเป้าหมายของความสำเร็จไว้อย่างเป็น รูปธรรมรวมไปถึงองค์การไม่ได้ให้ความสำคัญในด้านการสร้างแรงจูงใจในการทำงานเพื่อเด็กนักเรียนกลุ่มที่ เป็นเด็กพิเศษ เช่น เงินค่าตำแหน่งสำหรับบุคลากรทางการศึกษาที่จบตรงสาขาการศึกษาพิเศษ หรือ ผู้ที่ผ่าน การอบรมหลักสูตรพิเศษต่าง ๆ ที่ตรงกับการพัฒนาเด็กพิเศษโดยเฉพาะ เป็นต้น ซึ่งการขาดแรงจูงใจดังกล่าว ส่งผลต่อการจัดการองค์การอย่างมีประสิทธิภาพ 3. องค์การบริหารส่วนจังหวัดหรือโรงเรียนที่สังกัดมีปัญหาในด้านสมรรถนะการจัดการในประเด็น เรื่องวัสดุอุปกรณ์ และเครื่องมือเครื่องใช้ ที่เกี่ยวเนื่องกับการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ เช่น สื่อการเรียน การสอนตามรายวิชาต่าง ๆ ที่ตรงตามพัฒนาการ ห้องเรียนที่มีวัสดุสำหรับเด็กพิเศษที่ต้องมีการใช้สี และสื่อต่าง ๆ ที่แตกต่างกับปกติการฟื้นฟูสมรรถภาพของเด็กth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectการปกครองท้องถิ่นth_TH
dc.subjectองค์การบริหารส่วนจังหวัดth_TH
dc.subjectเด็กพิการ -- การศึกษาth_TH
dc.subjectสมรรถนะth_TH
dc.titleสมรรถนะขององค์การบริหารส่วนจังหวัดในภาคตะวันออกในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการth_TH
dc.title.alternativeCompetency of provincial administrative organizations in the Eastern Region in Providing Education for persons with disabilitiesth_TH
dc.typeResearchth_TH
dc.year2565th_TH
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2568-175.pdf1.31 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น