กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/17441
ชื่อเรื่อง: ความไม่สอดคล้องของทักษะในตลาดแรงงาน : กรณีศึกษาในประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Skill Mismatch in the Labor Market: The Case Study of Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศิริทัศน์ เขตตานุรักษ์
คำสำคัญ: แรงงาน -- การจ้างงาน
การจ้างงาน
แรงงาน
วันที่เผยแพร่: 2567
สำนักพิมพ์: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการจ้างงานที่ถูกจำแนกตามกลุ่มทักษะต่าง ๆ และตรวจสอบความไม่สอดคล้องในแนวดิ่งของทักษะแรงงานในประเทศไทย โดยนำข้อมูลทุติยภูมิของตัวแปรในตลาดแรงงานทั้ง 77 จังหวัดระหว่างปี พ.ศ. 2560 – 2565 มาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรในรูปแบบสมการฟังก์ชันจับคู่ดัดแปลงที่เพิ่มความหนาแน่นของตำแหน่งงานว่างในแต่ละกลุ่มทักษะแรงงานให้เป็นตัวแปรหนึ่งที่ส่งอิทธิพลต่อการจ้างงาน จากนั้น จึงใช้แบบจำลอง General Method of Moment (GMM) เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรในระยะสั้นและในระยะยาว ผลการทดสอบ พบว่า ตัวแปรการจ้างงานในแต่ละกลุ่มทักษะมีความเป็นพลวัต โดยจำนวนแรงงานว่างงานและจำนวนตำแหน่งงานว่างในแต่ละกลุ่มทักษะแรงงานเป็นปัจจัยสำคัญที่กำหนดปริมาณการจ้างงาน ซึ่งค่าความยืดหยุ่นของการจ้างงานต่อจำนวนแรงงานว่างงานโดยรวมมีค่าระหว่าง 0.36 – 0.46 นอกจากนี้ ความหนาแน่นของตำแหน่งงานว่างที่ต้องการทักษะแรงงานระดับต่ำกว่า สร้างผลกระทบในเชิงลบต่อการจ้างงานแรงงานที่มีทักษะระดับสูงกว่า ในขณะที่ ความหนาแน่นของตำแหน่งงานว่างที่ต้องการแรงงานกึ่งทักษะที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้การจ้างงานแรงงานที่มีทักษะระดับต่ำลดลงเช่นกัน สำหรับปัจจัยภายนอกที่ผันแปรไปตามกาลเวลา ส่งอิทธิพลในเชิงลบต่อการจ้างงานแรงงานที่มีทักษะสูงและทักษะต่ำ แต่ส่งผลกระทบในเชิงบวกต่อการจ้างงานแรงงานกึ่งทักษะในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 จากผลการศึกษา ทำให้สามารถสรุปรูปแบบความไม่สอดคล้องในแนวดิ่งของทักษะแรงงานในประเทศไทยได้ 2 รูปแบบคือ 1) การจ้างแรงงานที่มีทักษะสูงกว่าความต้องการของตำแหน่งงาน (Over-skilling) ซึ่งอาจเกิดจากการประหยัดต้นทุนในการหางานหรือการแข่งขันที่น้อยกว่าเพื่อที่จะได้รับการจ้างงาน และ 2) การจ้างแรงงานที่มีทักษะต่ำกว่าความต้องการของตำแหน่งงาน (Under-skilling) ซึ่งเกิดจากการที่แรงงานที่มีทักษะต่ำได้รับการจ้างงานในตำแหน่งงานที่ต้องการแรงงานกึ่งทักษะ เหตุผลที่สนับสนุนปรากฏการณ์ดังกล่าวคือการที่แรงงานกึ่งทักษะมีความต้องการและขาดแคลนเป็นอย่างมาก จึงทำให้สถานประกอบการรับแรงงานที่มีทักษะต่ำเข้ามาฝึกอบรมหรือเรียนรู้งานก่อนปฏิบัติงานจริง ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลจึงควรแก้ไขปัญหาการจ้างแรงงานที่มีทักษะสูงกว่าความต้องการของตำแหน่งงาน ด้วยการสร้างฐานข้อมูลขนาดใหญ่และแพลตฟอร์มการจับคู่ระหว่างแรงงานว่างงานกับสถานประกอบการ เพื่อลดต้นทุนการหางานของแรงงานว่างงานและลดต้นทุนในการเปิดตำแหน่งงานของสถานประกอบการ สำหรับปัญหาการจ้างแรงงานที่มีทักษะต่ำกว่าความต้องการของตำแหน่งงาน สามารถแก้ไขได้โดยเพิ่มหลักสูตรการอบรมหรือเพิ่มหลักสูตรพัฒนาฝีมือแรงงานว่างงาน เพื่อให้แรงงานที่มีทักษะต่ำสามารถพัฒนาทักษะ อันเป็นการเตรียมความพร้อมในการสมัครงานให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน
รายละเอียด: โครงการวิจัยประเภทเงินรายได้มหาวิทยาลัย เงินรายได้ส่วนงาน มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/17441
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2568-199.pdf1.23 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น