กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/17441
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorศิริทัศน์ เขตตานุรักษ์-
dc.date.accessioned2025-02-27T10:23:22Z-
dc.date.available2025-02-27T10:23:22Z-
dc.date.issued2567-
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/17441-
dc.descriptionโครงการวิจัยประเภทเงินรายได้มหาวิทยาลัย เงินรายได้ส่วนงาน มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566th_TH
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการจ้างงานที่ถูกจำแนกตามกลุ่มทักษะต่าง ๆ และตรวจสอบความไม่สอดคล้องในแนวดิ่งของทักษะแรงงานในประเทศไทย โดยนำข้อมูลทุติยภูมิของตัวแปรในตลาดแรงงานทั้ง 77 จังหวัดระหว่างปี พ.ศ. 2560 – 2565 มาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรในรูปแบบสมการฟังก์ชันจับคู่ดัดแปลงที่เพิ่มความหนาแน่นของตำแหน่งงานว่างในแต่ละกลุ่มทักษะแรงงานให้เป็นตัวแปรหนึ่งที่ส่งอิทธิพลต่อการจ้างงาน จากนั้น จึงใช้แบบจำลอง General Method of Moment (GMM) เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรในระยะสั้นและในระยะยาว ผลการทดสอบ พบว่า ตัวแปรการจ้างงานในแต่ละกลุ่มทักษะมีความเป็นพลวัต โดยจำนวนแรงงานว่างงานและจำนวนตำแหน่งงานว่างในแต่ละกลุ่มทักษะแรงงานเป็นปัจจัยสำคัญที่กำหนดปริมาณการจ้างงาน ซึ่งค่าความยืดหยุ่นของการจ้างงานต่อจำนวนแรงงานว่างงานโดยรวมมีค่าระหว่าง 0.36 – 0.46 นอกจากนี้ ความหนาแน่นของตำแหน่งงานว่างที่ต้องการทักษะแรงงานระดับต่ำกว่า สร้างผลกระทบในเชิงลบต่อการจ้างงานแรงงานที่มีทักษะระดับสูงกว่า ในขณะที่ ความหนาแน่นของตำแหน่งงานว่างที่ต้องการแรงงานกึ่งทักษะที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้การจ้างงานแรงงานที่มีทักษะระดับต่ำลดลงเช่นกัน สำหรับปัจจัยภายนอกที่ผันแปรไปตามกาลเวลา ส่งอิทธิพลในเชิงลบต่อการจ้างงานแรงงานที่มีทักษะสูงและทักษะต่ำ แต่ส่งผลกระทบในเชิงบวกต่อการจ้างงานแรงงานกึ่งทักษะในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 จากผลการศึกษา ทำให้สามารถสรุปรูปแบบความไม่สอดคล้องในแนวดิ่งของทักษะแรงงานในประเทศไทยได้ 2 รูปแบบคือ 1) การจ้างแรงงานที่มีทักษะสูงกว่าความต้องการของตำแหน่งงาน (Over-skilling) ซึ่งอาจเกิดจากการประหยัดต้นทุนในการหางานหรือการแข่งขันที่น้อยกว่าเพื่อที่จะได้รับการจ้างงาน และ 2) การจ้างแรงงานที่มีทักษะต่ำกว่าความต้องการของตำแหน่งงาน (Under-skilling) ซึ่งเกิดจากการที่แรงงานที่มีทักษะต่ำได้รับการจ้างงานในตำแหน่งงานที่ต้องการแรงงานกึ่งทักษะ เหตุผลที่สนับสนุนปรากฏการณ์ดังกล่าวคือการที่แรงงานกึ่งทักษะมีความต้องการและขาดแคลนเป็นอย่างมาก จึงทำให้สถานประกอบการรับแรงงานที่มีทักษะต่ำเข้ามาฝึกอบรมหรือเรียนรู้งานก่อนปฏิบัติงานจริง ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลจึงควรแก้ไขปัญหาการจ้างแรงงานที่มีทักษะสูงกว่าความต้องการของตำแหน่งงาน ด้วยการสร้างฐานข้อมูลขนาดใหญ่และแพลตฟอร์มการจับคู่ระหว่างแรงงานว่างงานกับสถานประกอบการ เพื่อลดต้นทุนการหางานของแรงงานว่างงานและลดต้นทุนในการเปิดตำแหน่งงานของสถานประกอบการ สำหรับปัญหาการจ้างแรงงานที่มีทักษะต่ำกว่าความต้องการของตำแหน่งงาน สามารถแก้ไขได้โดยเพิ่มหลักสูตรการอบรมหรือเพิ่มหลักสูตรพัฒนาฝีมือแรงงานว่างงาน เพื่อให้แรงงานที่มีทักษะต่ำสามารถพัฒนาทักษะ อันเป็นการเตรียมความพร้อมในการสมัครงานให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectแรงงาน -- การจ้างงานth_TH
dc.subjectการจ้างงานth_TH
dc.subjectแรงงานth_TH
dc.titleความไม่สอดคล้องของทักษะในตลาดแรงงาน : กรณีศึกษาในประเทศไทยth_TH
dc.title.alternativeSkill Mismatch in the Labor Market: The Case Study of Thailandth_TH
dc.typeResearchth_TH
dc.year2567th_TH
dc.description.abstractalternativeThis paper aims to investigate the determinants of job employment and examine the existence of the vertical skill mismatch in Thailand. The secondary data of local labor market in 77 provinces during 2017 – 2022 is collected and analyzed the relationship among variables through the augmented matching function. By adding the congestion externalities of the different required skill typesof job vacancies and using the General Method of Moment (GMM), the result shows that the job employment of each skill groups is dynamic, and it can be determined by the number of unemployed workers and the number of job vacancies in each skill groups. The elasticity of job employment with respect to the unemployment is around 0.36 – 0.46. Furthermore, the congestion of job vacancies that require a lower labor skill has a negative impact on job employment that need a higher skill of labor. Meanwhile, an increasing in the congestion of job vacancies that require semi-skilled labor will statistically decrease the number of low-skilled job hires. For the time-variant factor, it has a negative effect on high skilled and low-skilled employment during the pandemic of Covid-19. In contrast, the semiskilled employment is positively affected in the same period. The pattern of vertical mismatching in Thailand can be demonstrated into two patterns; over-skilling and under-skilling. Over-skilling occurs when high-skilled workers or semi-skilled workers get a job offer on low-skilled positions. This is because applying for a low-skilled job is less competitive and save a huge search cost for skilled workers. On the other hand, underskilling takes place when low-skilled workers get a job offer on semi-skilled positions. Since the implementation of Thailand 4.0 pushes the demand for semi-skilled workers, they become scarce. A high premium encourages low-skill workers to apply for semi-skill jobs and they are willing to put the effort on-the-job training process. For the policy recommendation, the government should reduce a search cost by developing the database and the platform that can match up the job positions and the application forms submitted by unemployed workers. Also, the government should offer the training course, which can enhance labor skills for lowskilled workers. By doing this, they will probably become semi-skilled workers that are ready to work in semi-skilled job positions.th_TH
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2568-199.pdf1.23 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น