กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/17387
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาและประยุกต์ใช้โพรไบโอติกในการลดปริมาณของเสียและป้องกันโรคในการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development and application of probiotic on the waste management and disease control in the black tiger shrimp culture
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุบัณฑิต นิ่มรัตน์
วีรพงศ์ วุฒิพันธุ์ชัย
มานพ กาญจนบุรางกูร
คำสำคัญ: กุ้งกุลาดำ -- การเลี้ยง -- วิจัย
กุ้งกุลาดำ -- อาหาร -- วิจัย
ผลิตภัณฑ์อาหาร
โพรไบโอติก
วันที่เผยแพร่: 2549
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: จากการคัดเลือกแบคทีเรียที่แยกได้จากลำไส้กุ้งกุลาดำจำนวน 14 สายพันธุ์ พบว่า แบคทีเรียที่ไม่สามารถย่อยสลายเม็ดแดงจำนวน 6 สายพันธุ์ คือ S2, S3, T0, T1, T2 และ T3 และจากแบคทีเรียกลุ่มนี้พบว่า แบคทีเรียที่มีประสิทธิภาพในการย่อยสลายโปรตีน คาร์โบไฮเดรตและไขมัน คือ S2, S3, T2 และ S3, T3 รวมทั้ง S2, T1, T2 ตามลำดับ ส่วนแบคทีเรียสายพันธ์ที่ทนทานต่อสิ่งแวดล้อมได้ดีที่สุดคือ S2 และ T0 แต่ไม่พบว่ามีแบคทีเรียสายพันธ์ใดที่สามารถต่อต้าน V.harveyi ได้เลย ดังนั้นการประยุกต์ใช้แบคทีเรียที่แยกได้จากลำไส้กุ้งกุลาดำในการนำมาใช้เป็นโพรไบโอติดคือ เป็นแบคทีเรียผสมโดยนำสายพันธุ์ที่มีคุณสมบัติที่ดีในด้านต่าง ๆ ของโพรไบโอติก ได้แก่ S2, S3, T2 และ T3 ส่วนการคัดแยกแบคทีเรียจากผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกจำนวน 6 ตัวอย่าง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ A, B, C, D, E และ F พบแบคทีเรียปริมาณในช่วง 613.3+-344.4 ถึง 85,666.7+-3511.9 CFU/g ซึ่งมีปริมาณที่น้อยและไม่เท่ากับปริมาณที่ได้มีการโฆษณาของแต่ละผลิตภัณฑ์นั้น ๆ และแบคทีเรียที่คัดแยกได้ในทุกผลิตภัณฑ์คือแบคทีเรียสกุล Bacillus ผสมกับแบคทีเรียสกุล Staphylococcus, Micrococcus, Coryneform และ lactic acid bacterium อยู่บ้าง จากการศึกษาความสามารถในการย่อยสลายสารอาหารพบว่า ผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกมีประสิทธิภาพในการย่อยสลายโปรตีน คาร์โบไฮเดรตและไขมัน ได้ปานกลาง แต่จากการศึกษาความสามารถในการต่อต้านเชื้อก่อโรคในกุ้งกุลาดำ พบว่าไม่มีผลิตภัณฑ์ใดเลยที่สามารถต่อต้านเชื้อก่อโรค Vibrio harveyi จากผลการทดลองในครั้งนี้สามารถสรุปได้ว่าแบคทีเรียที่แยกจากลำไส้ของกุ้งกุลาดำสามารถนำมาพัฒนาและประยุกต์ใช้เป็นโพรไบโอติกที่ดีต่อไปได้จากคุณสมบัติที่ดีหลายประการ ส่วนผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกในการศึกษาครั้งนี้พบว่ามีปริมาณที่น้อยกว่าที่ได้โฆษณาไว้ข้างผลิตภัณฑ์และมีประสิทธิภาพในการย่อยสลายโปรตีน คาร๋โบไฮเดรตและไขมันได้ปานกลางเมื่อเปรียบเทียบกับแบคทีเรียที่แยกจากลำไส้กุ้งกุลาดำ และแบคทีเรียสกุล Bacillus และ Micrococcus เป็นแบคทีเรียส่วนประกอบหลักทั้งในผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกและแบคทีเรียกลุ่มที่แยกจากลำไส้กุ้งกุลาดำที่มีคุณสมบัติที่น่าจะพัฒนาเป็นโพรไบโอติกได้
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/17387
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2568_186.pdf2.21 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น