กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/17387
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | สุบัณฑิต นิ่มรัตน์ | |
dc.contributor.author | วีรพงศ์ วุฒิพันธุ์ชัย | |
dc.contributor.author | มานพ กาญจนบุรางกูร | |
dc.date.accessioned | 2025-02-17T02:15:50Z | |
dc.date.available | 2025-02-17T02:15:50Z | |
dc.date.issued | 2549 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/17387 | |
dc.description.abstract | จากการคัดเลือกแบคทีเรียที่แยกได้จากลำไส้กุ้งกุลาดำจำนวน 14 สายพันธุ์ พบว่า แบคทีเรียที่ไม่สามารถย่อยสลายเม็ดแดงจำนวน 6 สายพันธุ์ คือ S2, S3, T0, T1, T2 และ T3 และจากแบคทีเรียกลุ่มนี้พบว่า แบคทีเรียที่มีประสิทธิภาพในการย่อยสลายโปรตีน คาร์โบไฮเดรตและไขมัน คือ S2, S3, T2 และ S3, T3 รวมทั้ง S2, T1, T2 ตามลำดับ ส่วนแบคทีเรียสายพันธ์ที่ทนทานต่อสิ่งแวดล้อมได้ดีที่สุดคือ S2 และ T0 แต่ไม่พบว่ามีแบคทีเรียสายพันธ์ใดที่สามารถต่อต้าน V.harveyi ได้เลย ดังนั้นการประยุกต์ใช้แบคทีเรียที่แยกได้จากลำไส้กุ้งกุลาดำในการนำมาใช้เป็นโพรไบโอติดคือ เป็นแบคทีเรียผสมโดยนำสายพันธุ์ที่มีคุณสมบัติที่ดีในด้านต่าง ๆ ของโพรไบโอติก ได้แก่ S2, S3, T2 และ T3 ส่วนการคัดแยกแบคทีเรียจากผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกจำนวน 6 ตัวอย่าง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ A, B, C, D, E และ F พบแบคทีเรียปริมาณในช่วง 613.3+-344.4 ถึง 85,666.7+-3511.9 CFU/g ซึ่งมีปริมาณที่น้อยและไม่เท่ากับปริมาณที่ได้มีการโฆษณาของแต่ละผลิตภัณฑ์นั้น ๆ และแบคทีเรียที่คัดแยกได้ในทุกผลิตภัณฑ์คือแบคทีเรียสกุล Bacillus ผสมกับแบคทีเรียสกุล Staphylococcus, Micrococcus, Coryneform และ lactic acid bacterium อยู่บ้าง จากการศึกษาความสามารถในการย่อยสลายสารอาหารพบว่า ผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกมีประสิทธิภาพในการย่อยสลายโปรตีน คาร์โบไฮเดรตและไขมัน ได้ปานกลาง แต่จากการศึกษาความสามารถในการต่อต้านเชื้อก่อโรคในกุ้งกุลาดำ พบว่าไม่มีผลิตภัณฑ์ใดเลยที่สามารถต่อต้านเชื้อก่อโรค Vibrio harveyi จากผลการทดลองในครั้งนี้สามารถสรุปได้ว่าแบคทีเรียที่แยกจากลำไส้ของกุ้งกุลาดำสามารถนำมาพัฒนาและประยุกต์ใช้เป็นโพรไบโอติกที่ดีต่อไปได้จากคุณสมบัติที่ดีหลายประการ ส่วนผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกในการศึกษาครั้งนี้พบว่ามีปริมาณที่น้อยกว่าที่ได้โฆษณาไว้ข้างผลิตภัณฑ์และมีประสิทธิภาพในการย่อยสลายโปรตีน คาร๋โบไฮเดรตและไขมันได้ปานกลางเมื่อเปรียบเทียบกับแบคทีเรียที่แยกจากลำไส้กุ้งกุลาดำ และแบคทีเรียสกุล Bacillus และ Micrococcus เป็นแบคทีเรียส่วนประกอบหลักทั้งในผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกและแบคทีเรียกลุ่มที่แยกจากลำไส้กุ้งกุลาดำที่มีคุณสมบัติที่น่าจะพัฒนาเป็นโพรไบโอติกได้ | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | กุ้งกุลาดำ -- การเลี้ยง -- วิจัย | th_TH |
dc.subject | กุ้งกุลาดำ -- อาหาร -- วิจัย | th_TH |
dc.subject | ผลิตภัณฑ์อาหาร | th_TH |
dc.subject | โพรไบโอติก | th_TH |
dc.title | การพัฒนาและประยุกต์ใช้โพรไบโอติกในการลดปริมาณของเสียและป้องกันโรคในการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ | th_TH |
dc.title.alternative | Development and application of probiotic on the waste management and disease control in the black tiger shrimp culture | th_TH |
dc.type | Research | th_TH |
dc.year | 2549 | th_TH |
dc.description.abstractalternative | In this study, 14 strains of bacteria were isolated from gastrointestinal tract of black tiger shrimps. Six strains (S2, S3, T0, T1, T2 and T3) from 14 strains were not able to hemolyze red blood cells, indicating that they are potentially nonpathogenic bacteria to both human and animals. Within these bacteria, biodegradation efficiency of protein, carbohydrate and lipid isolates were S2, S3, T2; S3, T3 and S2, S3, T1, T2, respectively. Only S2 and T0 showed the highest tolerant to environmental parameters. However, none of isolated bacteria can not resist to V. harveyi. Result concluded that mixture of S2, S3, T1, T2 and T3 could be developed to be potential probiotic bacteria. Bacteria from six types of commercial probiotic products (A, B, C, D, E and F) were enumerated which showed in the rang of 613.3 +- 344.4 CFU/g to 85,666.7+- 3511.9 CFU/g. The concentration of bacteria in all probiotic products were less than those advertised in each products. All of probiotic products consisted of Bacillus and mixed with either Staphylococcus, Micrococcus, Coryneform or lactic acid bacterium. The efficiency of protein, carbohydrate and lipid degrading probiotic products were medium; however, no products showed the efficiency of Vibrio harveyi resistant. Results showed that bacteria isolated from gastrointestinal tract of black tiger shrimp could be developed into effective probiotic bacteria. Application of commercial probiotic bacteria should be pretested before field use due to less numbers of advertised products. Bacillus and Micrococcus were the major bacteria in both commercial probiotic products and isolated bacteria from gastrointestinal tracts of black tiger shrimps. | th_en |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2568_186.pdf | 2.21 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น