กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/17351
ชื่อเรื่อง: วัฒนธรรมจีนที่ศาลเจ้าในภาคตะวันออก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Chinese Culture at Shrine in Eastern Area
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บุญเดิม พันรอบ
คำสำคัญ: ชาวจีน -- ความเป็นอยู่และประเพณี
ศาลเจ้า
สถาปัตยกรรมศาสนา
วันที่เผยแพร่: 2546
สำนักพิมพ์: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยเพื่อศึกษาวัฒนธรรมจีนที่ศาลเจ้าในภาคตะวันออกคือ ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี ตราด นครนายก ปราจีนบุรีและสระแก้ว เพื่อศึกษาแนวความคิด ความสำคัญของวัฒนธรรมของคนไทยเชื้อสายจีนประเภทสถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม ภาษาและวรรณกรรมที่ศาลเจ้าในภาคตะวันออกสำหรับเป็นแหล่งการเรียนรู้เพื่อการท่องเที่ยวในภาคตะวันออก ศาลเจ้าจำนวน 51 แห่งเป็นกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสำรวจและสัมภาษณ์แล้วนำมาวิเคราะห์ด้วยวิธีการพรรณาธิบายตามแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นชุมชนเมืองท่าชายทะเลภาคตะวันออกซึ่งเป็นชุมชนเก่าของชาวไทยเชื้อสายจีนที่สำคัญ 5 แห่งที่ชลบุรี-บางปลาสร้อย ฉะเชิงเทรา-แปดริ้ว ระยอง จันทบุรีและตราด ชาวจีนจากแผ่นดินแม่ได้ถ่ายทอดภูมิปัญญาวัฒนธรรมด้านจิตใจที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนาพุทธนิกายมหายาน ศาสนาเต๋า ลัทธิขงจื้อ กำหนดการออกแบบภูมิปัญญาวัฒนธรรมด้านวัตถุให้กับชาวจีนผู้อพยพอย่างเป็นรูปธรรม ตัวอย่างอาคารสถาปัตยกรรมศาลเจ้าจำนวน 10 ศาลเจ้าจากหลักฐานด้านประวัติการก่อตั้งศาลเจ้า ประติมากรรมจำนวน 8 ประเภทแสดงให้เห็นความเชื่อตามแนวศาสนาพุทธมหายาน ศาสนาเต๋า และลัทธิขงจื้อ รวมทั้งความเชื่อตามตำนานเรื่องเล่าและตำนานประวัติศาสตร์ของจีน ซึ่งมีอิทธิพลต่อแนวความคิดของชาวไทยเชื้อสายจีนที่นำติดตัวอพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทย วรรณกรรมจำนวน 11 วรรณกรรมแสดงให้เห็นวรรณกรรมเกี่ยวกับความเชื่อตามแนวศาสนาพุทธมหายาน ศาสนาเต๋า ความเชื่อตามตำนานเรื่องเล่าแบบพื้นบ้านและตำนานประวัติศาสตร์ของจีน ภาษาและวรรณกรรมที่ศาลเจ้าจารึกและเขียนไว้ที่ระฆังบอกถึงคัมภีร์ในศาสนาพุทธนิกายมหายาน ผู้อุทิศ ปีที่สร้างระฆัง โคลงจารึกที่เสา ป้ายทองเหลือง ป้ายเทพเจ้า ป้ายบอกชื่อศาลและอธิบายเรื่องราววรรณกรรม เป็นต้น การวิจัยได้นำเสนอแนวความคิดเพื่อการอนุรักษ์อาคารสถาปัตยกรรม ประติมากรรม และวรรณกรรม รวมทั้งนำเสนอแนวทางการบริหารงานศาลเจ้าแบบใหม่ในรูปของพิพิธภัณฑ์ การจัดการแบบกวานซี่หรือเครือข่ายทางสังคม การให้ชุมชนมีส่วนร่วม การปรับปรุงภูมิสถาปัตยกรรมเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับการท่องเที่ยวเป็นต้น
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/17351
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2568_088.pdf33.4 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น