กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/17345
ชื่อเรื่อง: | ขบวนการกลายเป็นเมืองของเขตเทศบาลเมืองชลบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The urbanization of Chonburi Municipal Area |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | บุญเดิม พันรอบ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน |
คำสำคัญ: | เทศบาลเมืองชลบุรั ชลบุรี - - ประวัติศาสตร์ ชลบุรี - - การพัฒนาชุมชน |
วันที่เผยแพร่: | 2528 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน |
บทคัดย่อ: | การศึกษาขบวนการกลายเป็นเมืองของเขตเทศบาลเมืองชลบุรี มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ที่ดินของภาครัฐบาลและเอกชนในระยะต่าง ๆ ศึกษาปัจจัยสาเหตุอันทำให้เกิดวิวัฒนาการของเมืองตลอดจนแนวโน้มพัฒนาการของเมือง ขอบเขตการศึกษาจำกัดเฉพาะภายในพื้นที่เขตเเทศบาลเมืองชลบุรี ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 4.75 ตารางกิโลเมตร การศึกษาใช้ข้อมูล 2 ประเภทคือ 1. ข้อมูลชั้นหนึ่งจากการสังเหตการณ์ภาคสนาม 2. ข้อมูลชั้นสองจากเอกสารและการสัมภาษณ์พยานที่รู้เห็นเหตุการณ์ สามารถสรุปผลการศึกษาได้ดังนี้คือ 1. การใช้ที่ดินระยะแรกก่อนปี พ.ศ. 2457 เมืองชลบุรีเป็นชุมชนเล็กประกอบไปด้วยการใช้ที่ดิน 5 ประเภท คือ การใช้ที่ดินสำหรับที่อยู่อาศัย การใช้ที่ดินสำหรับเขตค้าปลีกและค้าส่ง การใช้ที่ดินสำหรับเขตพักการขนส่ง การใช้ที่ดินสำหรับภาครัฐบาลและการใช้ที่ดินสำหรับศูนย์กลางศาสนา 2. การใช้ที่ดินระยะที่่สองก่อนปี พ.ศ. 2493 การใช้ที่ดินสำหรับที่อยู่อาศัยเขตค้าปลีกและค้าส่งมีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้นในขณะที่การใช้ที่ดินสำหรับภาครัฐบาลมีการขยายตัวช้าลง แม้ว่าจะมีการจัดการปกครองท้องถิ่นในรูปเทศบาลขึ้นก็ตาม ส่วนการใช้ที่ดินสำหรับเขตพักการขนส่งหมดไป เนื่องจากรัฐบาลได้จัดให้มีการคมนาคมขนส่งทางรถยนต์ขึ้นแทนที่การขนส่งทางน้ำ 3. การใช้ที่ดินในเขตเมืองชลบุรีปัจจุบันมีการใช้ที่ดินทั้งสิ้น 5,626 หน่วย ความหนาแน่น 1,184.6 หน่วยต่อหนึ่งตารางกิโลเมตร เขตธุรกิจเก่ามีการใช้ที่ดินหนาแน่นสูงที่สุด เขตธุรกิจใหม่มีการใช้ที่ดินจำนวนหน่วยสุงที่สุด มีการแบ่งแยกเขตการใช้ที่ดินแน่ชัดระหว่างการใช้ที่ดินสำหรับที่อยู่อาศัย การค้าการพาณิชย์และเขตอุตสาหกรรม สามารถสรุปได้ว่า เมืองชลบุรีพัฒนามาจากชุมชนหนาแน่น (Eoholis) เป็นเมืองเล็ก (Polis) มีการใช้ที่ดินแบบเมืองที่มีหลายจุดศูนย์กลาง (Multiple nuchi) ปัจจัยสาเหตุการขยายตัวเป็นเมืองมีหลายประการคือ ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ ปัจจัยเกี่ยวกับจุดเปลี่ยนระบบการขนส่ง (Break in transportation) ปัจจัยเกี่ยวกับการคมนาคมทางบกและนโยบายของรัฐบาล |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/17345 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
Research_Hu001.pdf | 9.45 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น