กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1652
ชื่อเรื่อง: ความหลากหลายทางพันธุกรรมของปูบางชนิดที่พบบริเวณพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชทางทะเล หมู่เกาะแสมสาร จังหวัดชลบุรี (ปีที่ 3)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Genetic diversity of shrimp, crab and mantis in the same-sarn lslands, Chon buri province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วันศุกร์ เสนานาญ
นงนุช ตั้งเกริกโอฬาร
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: ความหลากหลายทางพันธุกรรม
ปู
พืชทะเล
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: แม้ว่าการจัดจำแนกโดยใช้ลักษณะภายนอก (morphology) ยังมีความจำเป็นในการแยกชนิดสิ่งมีชีวิต จะเป็นวิธีมาตรฐานที่นักอนุกรมวิธานใช้ทั่วโลก แต่เครื่องมือดังกล่าวก็มีข้อจำกัดในบางกรณี เนื่องจากบางลักษณะที่ใช้แยกจีนัส หรือสปีชีส์อาจไม่ได้สะท้อนถึงความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการ หรือมีความคาบเกี่ยวของลักษณะในกลุ่มอนุกรมวิธานที่ต่างกัน การศึกษานี้จึงได้ศึกษาความหลากชนิดของปู และกุ้งน้ำเค็ม 4 กลุ่มชนิด คือกลุ่มปูใบ้ Leptodius exaratus, ปูม้าหิน Thalamita spp., ปูลม, Ocypode ceratophthalmus และกุ้งดีดขันสกุล Alpheus ที่พบบริเวณหมู่เกาะแสมสารโดยใช้ลำดับนิวคลีโอไทด์บางส่วนของยีน COI และ 16SrRNA บนไมดครตอนเดรียและ Histone H3 บนนิวเคลียส ซึ่งในปีที่ 3 ของการวิจัย เน้นการวิเคราะห์ชนิดพันธุ์ที่มีคำถามทางอนุกรมวิธานที่ชัดเจน ขนาดสายนิวคลีโอไทด์ของยีน COI ที่ใช้วิเคราะห์ (หลังจากการจัดเรียงนิวคลีโอไทด์) ในการศึกษาครั้งนี้ มีความยาวทั้งสิ้น 623 (ปูลม) -686 (ปูใบ้) คู่เบส และสายนิวเคลีโอไทด์ของยีน 16S rRNA มีความยาวทั้งสิ้น 516 (กุ้งดีดขัน) - 542 (ปูม้าหิน) คู่เบส ในขณะที่ยีน Histone H3 ที่วิเคราะห์มีความยาว 297 (ปูลม) - 349 (ปูใบ้) ในตัวอย่างกุ้งปูทุกชนิด ยีน COI มีระดับความแปรปรวนมากที่สุด และยีน Histone H3 มีความแปรปรวนต่ำสุด จากผลการวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์ทั้งสามตำแหน่ง กลุ่มตัวอย่างที่รวบรวมจากหมู่เกาะแสมสารที่ประกอบไปด้วยสัตว์สปีชีส์เดียว ได้แก่ กลุ่มปูใบ้ ที่มีสีและลายบนลำดัวแตกต่างกัน ปูลมที่มีลักษณะตาไม่เหมือนกัน และ Thalamita pryma/ dance ในกรณีปูม้าหิน Thalamita ที่รวบรวมจากหมู่เกาะแสมสารน่าจะเป็น T.dance อย่างไรก็ตาม เพื่อยืนยันข้อสังเกตนี้ จึงควรมีการเพิ่มตัวอย่างที่คาดว่าจะเป็นปูทั้งสองชนิดนี้จากแหล่งอื่น ๆ ในประเทศไทยด้วยข้อมูลที่ได้เป็นพื้นฐานสำหรับการศึกษาทางชีววิทยา และนิเวศวิทยาของปูม้าหินสกุล Thalamita ต่อไป การศึกษาลำดับนิวคลีโอไทด์บางส่วนของยีน 16S rRNA ของกุ้งดีดขันสกุล Alpheus จำนวน 3 สปีชีส์ ที่เก็บได้จากบริเวณชายฝั่งทะเลและท่าเทียบเรือประมงในบางพื้นที่จังหวัดชลบุรี ซึ่งพบว่ายีน 16 S rRNA ขนาดประมาณ 493 คู่เบส สามารถจัดตัวอย่างชนิดเดียวกันอยู่ในกลุ่มเดียวกันได้ชัดเจน (Bootstarp = 99-100%) โดยเมื่อพิจารณาจากค่าระยะห่างทางพันธุกรรมแล้ว Alpheus sp. น่าจะเป็นชนิดที่แตกต่างจาก A. rapacida และ A. serenie (ค่าระยะห่างทางพันธุกรรมเท่ากับ 0.03 และ 0.18-0.19 ตามลำดับ) นอกจากนี้แผนภูมิทางวิวัฒนาการยังแสดงว่า A.rapacida, Alpheus sp.,และ A.distinguendus, มีความใกล้ชิดกันทางวิวัฒนาการในขณะที่ A. serenie, Alpheus aff. Euphrosyne, A. microrhynchus แบ่งกลุ่มออกอีกกลุ่มหนึ่งอย่างชัดเจน ข้อมูลที่ได้เป็นพื้นฐานสำหรับการศึกษาทางชีววิทยา และนิเวศวิทยาของกุ้งดีดขันสกุล Alpheus ต่อไป
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1652
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น