กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1652
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | วันศุกร์ เสนานาญ | th |
dc.contributor.author | นงนุช ตั้งเกริกโอฬาร | th |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T09:08:32Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T09:08:32Z | |
dc.date.issued | 2558 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1652 | |
dc.description.abstract | แม้ว่าการจัดจำแนกโดยใช้ลักษณะภายนอก (morphology) ยังมีความจำเป็นในการแยกชนิดสิ่งมีชีวิต จะเป็นวิธีมาตรฐานที่นักอนุกรมวิธานใช้ทั่วโลก แต่เครื่องมือดังกล่าวก็มีข้อจำกัดในบางกรณี เนื่องจากบางลักษณะที่ใช้แยกจีนัส หรือสปีชีส์อาจไม่ได้สะท้อนถึงความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการ หรือมีความคาบเกี่ยวของลักษณะในกลุ่มอนุกรมวิธานที่ต่างกัน การศึกษานี้จึงได้ศึกษาความหลากชนิดของปู และกุ้งน้ำเค็ม 4 กลุ่มชนิด คือกลุ่มปูใบ้ Leptodius exaratus, ปูม้าหิน Thalamita spp., ปูลม, Ocypode ceratophthalmus และกุ้งดีดขันสกุล Alpheus ที่พบบริเวณหมู่เกาะแสมสารโดยใช้ลำดับนิวคลีโอไทด์บางส่วนของยีน COI และ 16SrRNA บนไมดครตอนเดรียและ Histone H3 บนนิวเคลียส ซึ่งในปีที่ 3 ของการวิจัย เน้นการวิเคราะห์ชนิดพันธุ์ที่มีคำถามทางอนุกรมวิธานที่ชัดเจน ขนาดสายนิวคลีโอไทด์ของยีน COI ที่ใช้วิเคราะห์ (หลังจากการจัดเรียงนิวคลีโอไทด์) ในการศึกษาครั้งนี้ มีความยาวทั้งสิ้น 623 (ปูลม) -686 (ปูใบ้) คู่เบส และสายนิวเคลีโอไทด์ของยีน 16S rRNA มีความยาวทั้งสิ้น 516 (กุ้งดีดขัน) - 542 (ปูม้าหิน) คู่เบส ในขณะที่ยีน Histone H3 ที่วิเคราะห์มีความยาว 297 (ปูลม) - 349 (ปูใบ้) ในตัวอย่างกุ้งปูทุกชนิด ยีน COI มีระดับความแปรปรวนมากที่สุด และยีน Histone H3 มีความแปรปรวนต่ำสุด จากผลการวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์ทั้งสามตำแหน่ง กลุ่มตัวอย่างที่รวบรวมจากหมู่เกาะแสมสารที่ประกอบไปด้วยสัตว์สปีชีส์เดียว ได้แก่ กลุ่มปูใบ้ ที่มีสีและลายบนลำดัวแตกต่างกัน ปูลมที่มีลักษณะตาไม่เหมือนกัน และ Thalamita pryma/ dance ในกรณีปูม้าหิน Thalamita ที่รวบรวมจากหมู่เกาะแสมสารน่าจะเป็น T.dance อย่างไรก็ตาม เพื่อยืนยันข้อสังเกตนี้ จึงควรมีการเพิ่มตัวอย่างที่คาดว่าจะเป็นปูทั้งสองชนิดนี้จากแหล่งอื่น ๆ ในประเทศไทยด้วยข้อมูลที่ได้เป็นพื้นฐานสำหรับการศึกษาทางชีววิทยา และนิเวศวิทยาของปูม้าหินสกุล Thalamita ต่อไป การศึกษาลำดับนิวคลีโอไทด์บางส่วนของยีน 16S rRNA ของกุ้งดีดขันสกุล Alpheus จำนวน 3 สปีชีส์ ที่เก็บได้จากบริเวณชายฝั่งทะเลและท่าเทียบเรือประมงในบางพื้นที่จังหวัดชลบุรี ซึ่งพบว่ายีน 16 S rRNA ขนาดประมาณ 493 คู่เบส สามารถจัดตัวอย่างชนิดเดียวกันอยู่ในกลุ่มเดียวกันได้ชัดเจน (Bootstarp = 99-100%) โดยเมื่อพิจารณาจากค่าระยะห่างทางพันธุกรรมแล้ว Alpheus sp. น่าจะเป็นชนิดที่แตกต่างจาก A. rapacida และ A. serenie (ค่าระยะห่างทางพันธุกรรมเท่ากับ 0.03 และ 0.18-0.19 ตามลำดับ) นอกจากนี้แผนภูมิทางวิวัฒนาการยังแสดงว่า A.rapacida, Alpheus sp.,และ A.distinguendus, มีความใกล้ชิดกันทางวิวัฒนาการในขณะที่ A. serenie, Alpheus aff. Euphrosyne, A. microrhynchus แบ่งกลุ่มออกอีกกลุ่มหนึ่งอย่างชัดเจน ข้อมูลที่ได้เป็นพื้นฐานสำหรับการศึกษาทางชีววิทยา และนิเวศวิทยาของกุ้งดีดขันสกุล Alpheus ต่อไป | th_TH |
dc.description.sponsorship | ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยงบประมาณเงินรายได้ (เงินอุดหนุนรัฐบาล) ปีงบประมาณ 2556 | en |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | ความหลากหลายทางพันธุกรรม | th_TH |
dc.subject | ปู | th_TH |
dc.subject | พืชทะเล | th_TH |
dc.subject | สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา | th_TH |
dc.title | ความหลากหลายทางพันธุกรรมของปูบางชนิดที่พบบริเวณพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชทางทะเล หมู่เกาะแสมสาร จังหวัดชลบุรี (ปีที่ 3) | th_TH |
dc.title.alternative | Genetic diversity of shrimp, crab and mantis in the same-sarn lslands, Chon buri province | en |
dc.type | Research | |
dc.year | 2558 | |
dc.description.abstractalternative | Although morphological characters are essential for taxonomic classification, the variation in some characters may not reflect evolutionary relationships among taxa due to convergent evolution. Also, morphological species indentification may be chanllenging when diagnostic characters are highly variable. Molecular information can be very informative especially when using in a combination with morphological examination. This study, therefore, utilized nucleotide sequence analyses to resolve some taxonomic uncertainties for crustaceans found on a marine protected area, the Same-sarn lslands, Chon buri province. We focused on four taxonomic group: (1) Leptodius exaratus (individuals with variation on body color and pattern), (2) swimming crab species (Thamita dance and T. prymna with only few obscure diagnostic characters), (3) Ghost crab (Ocypode ceratophthalmus), and (4) snapping shrimp (Alpheus app). We analyzed partial sequences of mitochondrial Cytochrome Oxidase subunit I (COI) and 16S rRNA genes and a nuclear Histone H3 gene. DNA fragment sizes ranged from 623-686 bp for COI, 493-542 bp for 16S rRNA and 297-349 bp for Histone H3 gene. COI and 16S rRNA sequences were more informative than those of Histone H3 gene. Histone H3 sequences were least variable. Taxonomic groups consting of only one species included Leptodius exaratus (despite the different color patterens), ghost crab (Ocypode ceratopthalmus) swimming crab (Thalamita prymna/ danae). For the Thalamita spp., Samae-sarn samples are likely T. dance. However, this observation needs to be confirmed with cross-examination of specimens from other areas of Thailand and from other parts of the world. Based on partial sequences of 16S rRNA genes (793 bp_, the three Alpheus snapping shrimp morphospecies from coastal areas of Chon Buri province were genetically distinct. Alpheus spp. belonged to a monophyletic group and the phylogenetic analysis assigned species according to their morphological identification (boostrap value = 99-100%). Genetic distances and phylogenetic trees suggested genetic differentiation between Alpheus sp. and two other species, A. rapacida and A. serenie (Genetic distances = 0.03 and 0.18-0.19 respectively). In addition, phylogetic analyses suggested at least two clusters consisting of (1) A. rapacida, Alpheus sp., and A.distinguendus and (2) A. serenie, Alpheus aff. Euphrosyne and A. microrhynchus. Insights gained from this study can further facilitate the ecological studies of snapping shrimp in Thailand and South East Asian region. | en |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น