กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1635
ชื่อเรื่อง: พฤติกรรมและจริยธรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรรณประภา เอี่ยมฤทธิ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คำสำคัญ: จริยธรรม
เครือข่ายสังคมออนไลน์
สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา พฤติกรรมและจริยธรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา โดยใช้วิธีดำเนินการวิจัยแบบผสานวิธี ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 633 คน สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ One-way ANOVA เปรียบเทียบกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ t-test และ F-test ANOVA เพื่อวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างกลุ่ม ทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีของ scheffe และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสนทนากลุ่ม จำนวน 40 คน ผลการวิจัยพบว่า นิสิตส่วนใหญ่ใช้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์จากเฟสบุ๊คสูงเป็นอันดับ 1 คิดเป็นร้อยละ 96.1 โดยส่วนใหญ่เริมใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ จากการศึกษาด้วยตนเอง ร้อยละ 60.5 และพบว่าบุคคลที่อยู่ในเครือข่ายออนไลน์ ส่วนใหญ่ร้อยละ 55 คือ เพื่อนในชั้นเรียน โดยวิธีพิจารณาเลือกรับเพื่อนบนเครือข่ายสังคมออนไลน์จากความรู้จักและคุ้นเคยกับบุคคลนั้นอยู่ก่อนแล้วมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 68.9 ส่วนระยะเวลาการใช้งาน พบว่าส่วนใหญ่ ร้อยละ 34.3 มีระยะเวลาการใช้งานอยู่ระหว่าง 4-5 ชั่วโมง/ วัน และใช้งานมากที่สุด ร้อยละ 46.1 ในช่วงเวลา 20.00-24.00 น. โดยใช้บริการผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คที่หอพักมากที่สุด ร้อยละ64 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรับรู้ข่าวสารมากที่สุด ร้อยละ 76.3 ส่วนด้านจริยธรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ พบว่า ด้านความเป็นส่วนตัวนิสิตมีจริยธรรมอยู่ในระดับปานกลาง (X=3.20,SD = .540) ด้านความถูกต้องอยู่ในระดับมาก (X= 3.41, SD = .441) ด้านความเป็นเจ้าของอยู่ในระดับปานกลาง (X = 2.77, SD .684) และด้านการเข้าถึงข้อมูลอยู่ในระดับน้อย (X = 2.50, SD .659) และเมื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมจากปัจจัยต่าง ๆ กับระดับจริยธรรม พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 สรุปได้ว่าไม่เป็นไปตามสมมติฐาน ส่วนปัจจัยด้านพฤติกรรมการใช้พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ พบว่า ปัจจัยด้านประสบการณ์ วิธีการเริ่มใช้ การพิจารณาเลือกรับเพื่อน จำนวนชื่อ login จำนวนเพื่อนบนเครือข่ายการติดตาม ระยะเวลาการใช้ และความถี่ในการอัพเดตข้อมูล แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่งผลต่อระดับจริยธรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ในทุกด้าน เป็นไปตามสมมติฐาน และผลจากการสนทนากลุ่มพบว่า นิสิตส่วนใหญ่ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อติดต่อสื่อารและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับกลุ่มเพื่อนในเรื่อง การเรียน สังคม และบันเทิง
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1635
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2566_134.pdf7.31 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น