กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1635
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | วรรณประภา เอี่ยมฤทธิ์ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T09:08:31Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T09:08:31Z | |
dc.date.issued | 2557 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1635 | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา พฤติกรรมและจริยธรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา โดยใช้วิธีดำเนินการวิจัยแบบผสานวิธี ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 633 คน สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ One-way ANOVA เปรียบเทียบกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ t-test และ F-test ANOVA เพื่อวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างกลุ่ม ทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีของ scheffe และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสนทนากลุ่ม จำนวน 40 คน ผลการวิจัยพบว่า นิสิตส่วนใหญ่ใช้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์จากเฟสบุ๊คสูงเป็นอันดับ 1 คิดเป็นร้อยละ 96.1 โดยส่วนใหญ่เริมใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ จากการศึกษาด้วยตนเอง ร้อยละ 60.5 และพบว่าบุคคลที่อยู่ในเครือข่ายออนไลน์ ส่วนใหญ่ร้อยละ 55 คือ เพื่อนในชั้นเรียน โดยวิธีพิจารณาเลือกรับเพื่อนบนเครือข่ายสังคมออนไลน์จากความรู้จักและคุ้นเคยกับบุคคลนั้นอยู่ก่อนแล้วมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 68.9 ส่วนระยะเวลาการใช้งาน พบว่าส่วนใหญ่ ร้อยละ 34.3 มีระยะเวลาการใช้งานอยู่ระหว่าง 4-5 ชั่วโมง/ วัน และใช้งานมากที่สุด ร้อยละ 46.1 ในช่วงเวลา 20.00-24.00 น. โดยใช้บริการผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คที่หอพักมากที่สุด ร้อยละ64 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรับรู้ข่าวสารมากที่สุด ร้อยละ 76.3 ส่วนด้านจริยธรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ พบว่า ด้านความเป็นส่วนตัวนิสิตมีจริยธรรมอยู่ในระดับปานกลาง (X=3.20,SD = .540) ด้านความถูกต้องอยู่ในระดับมาก (X= 3.41, SD = .441) ด้านความเป็นเจ้าของอยู่ในระดับปานกลาง (X = 2.77, SD .684) และด้านการเข้าถึงข้อมูลอยู่ในระดับน้อย (X = 2.50, SD .659) และเมื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมจากปัจจัยต่าง ๆ กับระดับจริยธรรม พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 สรุปได้ว่าไม่เป็นไปตามสมมติฐาน ส่วนปัจจัยด้านพฤติกรรมการใช้พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ พบว่า ปัจจัยด้านประสบการณ์ วิธีการเริ่มใช้ การพิจารณาเลือกรับเพื่อน จำนวนชื่อ login จำนวนเพื่อนบนเครือข่ายการติดตาม ระยะเวลาการใช้ และความถี่ในการอัพเดตข้อมูล แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่งผลต่อระดับจริยธรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ในทุกด้าน เป็นไปตามสมมติฐาน และผลจากการสนทนากลุ่มพบว่า นิสิตส่วนใหญ่ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อติดต่อสื่อารและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับกลุ่มเพื่อนในเรื่อง การเรียน สังคม และบันเทิง | th_TH |
dc.description.sponsorship | งานวิจัยฉบับนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากงบประมาณเงินรายได้ ประจำปีงบประมาณ 2555 | en |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | จริยธรรม | th_TH |
dc.subject | เครือข่ายสังคมออนไลน์ | th_TH |
dc.subject | สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ | th_TH |
dc.title | พฤติกรรมและจริยธรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.type | Research | |
dc.author.email | wannapapar@buu.ac.th | en |
dc.year | 2557 | |
dc.description.abstractalternative | This objective of this research is to study behaviour and ethics on using social network of undergraduate students, Burapha University. The study uses mixed methods research ti gather quantitative data with random sampling from 633 students who were done the research questionnaires. The statistics in this research which are frequency, percentage and standard deviation. As for the hypothesis testing uses One-way ANOVA to compare the sampling by using t-test and F-test ANOVA to analyse differentiated between groups and testing the paired differences whith Scheffe analysis and gather qualitative data with group discussion 40 students. The research found that the majority students used Facebook 96.1% they got started to use the social network by themselves 60.5% and 55% of their social network account connected to friends in classes. As for consideration to be friends on the social network, 68.9% of the students accepted acquaintances. The period of using the social network found that 34.3% spent time 3-4 hours per day, 46.1% using the social media at 08.00 pm to 00.00 am. The students accessed their social network account 64% at dormitories and the purpose of using the social network 76.3% for browsing information. As for the ethics to use the social network found that the moral of students were in the middle level (x=3.20, SD = .540), the high level of accuracy (X= 3.41, SD = .441), the middle level of ownership (X= 2.77, SD = .684) and the level of reachable performance (X = 2.50, SD = .659). The comparison from various factors with ethics found that there was not significant differences in term of statistics at .05. It can conclude that the result does not accordant with the hypothesis. As for behaviour factors to use the social network found that experience, usage method, friends consideration, amount of user accounts, amount of friends on the social network, following, period of usage, and frequency of information updates, there were significant differences in term of statistics at .05. The result causes to ethics level of using the social network in all aspects. Therefore it is in the line of the hypothesis. The result of group discussion found that the majority of students used the social network for communication and opinion sharing among friends which are education, society and entertainment. | en |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2566_134.pdf | 7.31 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น