กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1585
ชื่อเรื่อง: | ประสิทธิผลของการใช้ศิลปกรรมในโปรแกรม "กล้าอยู่อย่างเบิกบาน" ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่รักษาตัวด้วยเคมีบำบัดและครอบครัวของผู้ป่วย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Effectiveness of artistic program "Dare to live a pleasant life" to maximize quality of life among breast cancer patients receiving chemotherapy and their families |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สายใจ พัวพันธ์ สาวิตรี หลักทอง พรพรรณ ศรีโสภา ลาวัลย์ รักษนาเวศ พิชญาภา พิชะยะ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ |
คำสำคัญ: | คุณภาพชีวิต มะเร็งเต้านม ศิลปกรรมบำบัด สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
วันที่เผยแพร่: | 2557 |
สำนักพิมพ์: | คณะพยาบาลศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การเจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็งเต้านมเป็นประสบการณ์ที่เลวร้ายสำหรับสตรีทุกคน มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ ผู้วิจัยจึงได้พัฒนาโปรแกรม "กล้าอยู่อย่างเบิกบาน" เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่รักษาด้วยเคมีบำบัดและครอบครัวโดยใช้แนวคิดทฤษฎีการดูแลมนุษย์อย่างเอื้ออาทรของวัตสันบูรณาการกับหลักการของการใช้ศิลปกรรมเพื่อการบำบัด วัตถุประสงค์ของการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียวนี้มีเพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้ศิลปกรรมดังกล่าวต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ป่วยมะเร็งเต้านมหลังผ่าตัดนมออกที่อยู่ในระหว่างรับการรักษาด้วยเคมีบำบัด 25 ราย และสมาชิกครอบครัวที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย จำนวน 8 ราย โปรแกรม "กล้าอยู่อย่างเบิกบาน" เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้ทบทวนชีวิต ประสบการณ์การเจ็บป่วยครั้งนี้ และกระตุ้นพลังที่เสริมสร้างความมีชีวิตชีวาที่มีอยู่ในตัว ผลการวิจัยเเชิงคุณภาพพบว่า 1) ผู้ป่วยได้แง่คิดที่ช่วยให้ยอมรับการเปลี่ยนแปลง การปล่อยวาง และการจัดการกับความรู้สึกขัดแย้งในใจ 2) ผู้ป่วยตระหนักรู้ถึงรอยต่อระหว่างความสุขและความทุกข์ 3) ผู้ป่วยตระหนักถึงคุณค่าและความเข้มแข็งในตนเอง 4) ผู้ป่วยมีความชัดเจนว่าพลังสำคัญเพื่อการขับเคลื่อนชีวิตและเผชิญหน้ากับปัญหาคือครอบครัว 5) ผู้ป่วยประจักษ์ว่าการอยู่อย่างมีสติเป้นการสร้างสมพลังชีวิต และ 6) ผู้ป่วยรู้จักการแสวงหาความสุข สบาย และเบิกบานได้จากธรรมชาติและสิ่งต่าง ๆ รอบตัว พร้อมกันนี้สมาชิกครอบครัวของผู้ป่วยยืนยันว่า 1) ครอบครัวเป็นทุกข์เมื่อเห็นผู้ป่วยทุกข์ทรมาน 2) ครอบครัวยินดีที่จะเป็นที่ซึมซับความรู้สึกขัดแย้งและความทุกข์ของผู้ป่วย และ 3) ครอบครัวจะไม่ผลัดผ่อนอีกแล้วที่จะร่วมเดินตามความใฝ่ฝันของผู้ป่วย จากผลการวิจัยนี้ แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการบำบัดที่ยึดผู้ป่วยและครอบครัวมีโอกาสและมีความกล้าที่จะใช้ชีวิตอยู่ต่อไปอย่างมีสติและเบิกบานได้ พยาบาลควรให้ความสำคัญกับการบำบัดช่วยเหลือผู้ป่วยเช่น เนื่องจากมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าการรักษาตามแนวทางการแพทย์สมัยใหม่ Having breast cancer is injurious lived experience and brings about damaging physical, psychological, social and spiritual quality in living life of women. Artiatic program "Dare to Live a Pleasant Life" was developed based on the integration of Watson's science of human care and principles of art therapy. This study was aimed at maximizing quality of life among breast cancer patients receiving chemotherapy and their families. 25 breast cancer patients receiving chemotherapy and 8 family members participated in the program. Participants' life and illness experiences were reviewed and liveliness was provoked. Through participation of patients, 6 themes ware emerged including 1)having thought about and accepting obvious change, letting things go, and dealing with inner conflict, 2) Being aware of continuum of happiness and suffering, 3) Being aware of one's value and strength, 4) Being unambiguous that 'family' is powerful resource of moving forward and dealing with problems 5) Being undoubted that practice mindfulness bring about liviness, and 6) Knowing how to live daily life happiness,stillness, and pleasure from nature and surrounding. In addition, family members confirmed that they 1) were unhappy from knowing that patients are suffering, 2) werepleased to absorb patients' conflict and suffering, and 3) would not hesitate to walk through patients' wish. The findings demonstrate that this patient centered program could offer opportunities for breast cancer patients and families to live life with courage, mindfulness, and pleasure. Nurses should be concerned that this kind of human care intervention is very important not even leass than caring from modern medicine. |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1585 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2567_171.pdf | 17.16 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น