กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1566
ชื่อเรื่อง: ประสิทธิผลของการสนับสนุนผู้ดูแลโดยใช้โปรแกรม "Powerful tools" ต่อความเครียดในบทบาทและความผาสุกของผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้องรังในชุมชน.
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The effectiveness of caregivers's support using "Powerful Tolls" program on role stress and well being of caregivers of elderly with chronic illness in the community
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พรชัย จูลเมตต์
รัชนีภรณ์ ทรัพย์กรานนท์
จันทนงค์ อินทร์สุข
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: ความเครียด
ผู้สูงอายุ
โรคเรื้องรัง
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยกึ่งทดลองชนิดสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการสนับสนุนผู้ดูแลผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้องรังโดยใช้โปรแกรม “Powerful Tools” ต่อความเครียดในบทบาทและความผาสุกของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง จำนวน 100 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองกลุ่มละ 50 ราย กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติจากเจ้าหน้าที่ทีมสุขภาพ ส่วนกลุ่มทดลองได้รับการสนับสนุนตามโปรแกรม “Powerful Tools” จำนวน 4 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 1 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบประเมินข้อมูลพื้นฐานของผู้ดูแลและผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้องรัง แบบประเมินความเครียดในบทบาทของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .85 แบบประเมินความผาสุกของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่เจ็บป่วย ด้วยโรคเรื้อรังที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .87 แผนการสนับสนุนผู้ดูแลผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังโดยใช้โปรแกรม “Powerful tools” และคู่มือการสนับสนุนผู้ดูแลผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที (Independent t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง มีคะแนนความเครียดในบทบาทหลังการทดลอง ต่ำกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. ผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังมีคะแนนความผาสุกหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้องรังกลุ่มทดลองมีคะแนนความเครียดในบทบาทภายหลังการทดลอง 1 สัปดาห์ และภายหลังการทดลอง 1 เดือน ต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. ผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังกลุ่มทดลองมีคะแนนความผาสุกภายหลังการทดลอง 1 สัปดาห์และภายหลังการทดลอง 1 เดือนสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่าพยาบาลควรนำโปรแกรมดังกล่าวนี้ไปประยุกต์ใช้ในการให้การดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้องรังในชุมชน เพราะจะช่วยให้ผู้ดูแลมีความเครียดในบทบาท ลดลงและมีความผาสุกมากขึ้น อันจะส่งผลให้ผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังได้รับการดูแลที่มีประสิทธิภาพจากผู้ดูแล
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1566
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2567_002.pdf4.16 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น