กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1550
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาศักยภาพในการจัดเก็บรักษาน้ำเชื้อปลายี่สกไทยเพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการอนุรักษ์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of cryopreservation technology for seven-stripped carp (Probarbus jullieni) sperm for aquaculture and conservation
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วีระพงศ์ วุฒิพันธุ์ชัย
สุบัณฑิต นิ่มรัตน์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: น้ำเชื้อ- - การเก็บรักษา
ปลายี่สก
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: โครงการวิจัยเรื่อง การพัฒนาศักยภาพในการจัดเก็บรักษาน้ำเชื้อปลายี่สกไทยเพื่อการเพาะเลี้ยง สัตว์น้ำและการอนุรักษ์ ได้ศึกษาศึกษาชนิดของสารไครโอโพรเทคแทนท์ (cryoprotectant) ที่เหมาะสมในการเก็บรักษาน้ำเชื้อปลายี่สกไทยแบบแช่แข็ง โดยได้ทำการทดสอบความเป็นพิษของสารไครโอโพรเทค แทนท์ชนิดต่าง ๆ 4 ชนิด (dimethylsulfoxide; DMSO, ethylene glycol, propylene glycol และsucrose) ที่ความเข้มข้นสุดท้าย 4 ระดับ (5%, 10%, 15% และ 20%) ที่เวลา 10, 20, 30, 60, 90, 120 และ 150 นาที และศึกษาผลของอัตราการลดอุณหภูมิ (-1, -3, -5 และ -7 องศาเซลเซียส/นาที) ที่ มีต่อการเคลื่อนที่ของสเปิร์มปลายี่สกไทยที่ผ่านการแช่แข็ง ได้ผลการทดลองพบว่า DMSO มีความเป็นพิษน้อยที่สุด รองลงมา คือ ethylene glycol และ propylene glycol ตามลำดับ โดย sucrose มีความเป็นพิษต่อสเปิร์มมากที่สุด การแช่แข็งน้ำเชื้อปลายี่สกไทยด้วยสารละลาย Ca-F HBSS ร่วมกับ DMSO, ethylene glycol และ propylene glycol แล้วนำมาเก็บไว้ในไนโตรเจนเหลว (อุณหภูมิ -196 องศาเซลเซียส) ปรากฎว่า DMSO มีความเหมาะสมมากที่สุดในการแช่แข็งน้ำเชื้อปลายี่สกไทย โดยการแช่แข็งด้วยการใช้ 10% DMSO และลดอุณหภูมิในอัตรา 5 องศาเซลเซียส/นาที หรือลดอุณหภูมิในอัตรา 7 องศาเซลเซียส/นาที ทำให้เปอร์เซนต์การเคลื่อนที่ของสเปิร์มหลังการละลาย (post-thaw sperm motility) มีค่าเฉลี่ยสูงไม่แตกต่างกับน้ำเชื้อสด การแช่แข็งน้ำเชื้อปลายี่สกไทยด้วยสารละลายบัฟเฟอร์ extender 7 ร่วมกับ DMSO, methanol และ propylene glycol) พบว่า การแช่แข็งน้ำเชื้อปลายี่สกไทยมาที่อุณหภูมิสุดท้าย -80 องศาเซลเซียส ให้ผลการทดลองดีกว่าการใช้อุณหภูมิสุดท้าย -40 องศา เซลเซียส โดยเปอร์เซนต์การเคลื่อนที่ของสเปิร์มหลังการละลายที่มีค่าสูงสุดได้จากชุดการทดลองที่ใช้ สารละลาย 20% DMSO และลดอุณหภูมิ 3 องศาเซลเซียส/นาที มาที่อุณหภูมิสุดท้าย -80 องศา เซลเซียส การพัฒนาแช่แข็งน้ำเชื้อปลายี่สกไทยด้วยไอไนโตรเจนเหลว สามารถทำได้ด้วยการแช่แข็งที่ความสูงเหนือผิวหน้าไนโตรเจนเหลว 4-6 เซ็นติเมตร โดยให้น้ำเชื้อปลายี่สกไทยสัมผัสไอไนโตรเจนเหลว 10 นาที น้ำเชื้อปลายี่สกไทยแช่แข็งที่เก็บไว้ในไนโตรเจนเหลวนาน 1 เดือนมีการเคลื่อนที่ของสเปิร์มและศักยภาพในการปฏิสนธิไข่ปลายี่สกไทย ไม่แตกต่างจากน้ำเชื้อสด สามารถนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการเพาะเลี้ยงและการอนุรักษ์ปลายี่สกไทยได้ต่อไป
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1550
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2559_085.pdf780.55 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น