กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1410
ชื่อเรื่อง: เมมเบรนไคโตซาน/พอลิ (อะคริเลต) อินเทอร์เพนิงเทรทิง พอลิเมอร์เน็ทเวิร์ค สำหรับใช้งานด้านชีวการแพทย์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Chitosan/poly (acrylate) interpenetrating polymer network membranes for biomedical application
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธนิดา ตระกูลสุจริตโชค
ปริยา นุพาสันต์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
ไคโตซาน
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือ การสังเคราะหือินเทอร์เพนิเทรทิงพอลิเมอร์เน็ตเวิร์ค ระหว่างไคโตซาน/พอลิ (ไฮดรอกซีเอทิล เมทาไครเลท) (CHI/PKEMA IPNs) ที่มีการเชื่อมโยงระหว่างโมเลกุลภายใต้สภาวะการทดลองต่าง ๆ โดยพอลิเมอไรเซชันของไฮดรอกซีเอทิล เมทาไครเลทมอนอเมอร์ถูกริเริ่มด้วยการแตกตัวของ K2 S2 O8 และเชื่อมโยงระหว่างโมเลกุลด้วยเอทิลีนไกลคอล ไดเมทาไครเลท ส่วนไตโตซานที่มีโครงสร้างแบบร่างแหถูกเตรียมขึ้นโดยใช้กลูตารัลดีไฮด์เป็นสารเชื่อมโยงระหว่างโมเลกุล สมบัติของ IPNs ที่เตรียมขึ้นถูกวิเคราะห์ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอนแบบส่องกราด เทคนิคฟูริเออร์ทรานฟอร์มอินฟราเรด สเปกโทรสโกปี การบวมตัวในตัวทำละลายและทดสอบสมบัติความทนต่อแรงดึง นอกจากนี้ IPN ที่อัตราส่วน 80CHI/20PHEMA ได้นำไปเตรียมเป็นคอมโพสิตเมมเบรนกับซิงค์ออกไซด์ขนาดอนุภาคระดับนาโนเมตร (nano-ZnO) จากนั้นวิเคราะห์สมบัติทางเคมี สมบัติทางกายภาพ และสมบัติการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ถูกทดสอบโดยใช้จุลินทรีย์สองชนิดคือ S. aureus และ E.coli พบว่า CHI/PHEMA IPNs ไม่สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อได้ แต่นาโนคอมโพสิต IPNs แสดงสมบัติการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียทั้งสองชนิด และประสิทธิภาพการยับยั้งเชื้อมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อเพิ่มองค์ประกอบของ nano-ZnO ในตัวอย่าง
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1410
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น