กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1396
ชื่อเรื่อง: รูปแบบการจัดบริการสำหรับผู้สูงอายุแบบไปกลับในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา (ระยะที่ 1)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Elderly day care model in Burapha University Hospital
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กาญจนา พิบูลย์
พิสิษฐ์ พิริยาพรรณ
มยุรี พิทักษ์ศิลป์
พวงทอง อินใจ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
คำสำคัญ: ผู้สูงอายุ - -การดูแล
ผู้สูงอายุ
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุแบบไปกลับในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 3 ระยะ การศึกษาครั้งนี้ดำเนินการในระยะที่ 1 ซึ้งเป็นการศึกษาความต้องการพื้นฐานในการจัดบริการการดูแลผู้สูงอายุแบบไปกลับในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย การศึกษาในระยะที่ 1 ประกอบด้วยการศึกษาทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพโดยสรุปผลการศึกษาวิจัยดังนี้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเชิงปริมาณคือผู้ที่มารับบริการ ณ แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 384 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเชิงคุณภาพเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจำนวน 50 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมิถุนายน – ตุลาคม 2556 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็น แบบประเมินความต้องการพื้นฐานในการจัดบริการการดูแลผู้สูงอายุแบบไปกลับในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยและแนวทางในการสัมภาษณ์และสนทนากลุ่ม ผลการศึกษาพบว่า การศึกษาในเชิงปริมาณกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นว่าสถานบริการแบบไปกลับควรมีห้องหรือพื้นที่ส่วนกลางสำหรับทำกิจกรรมร่วมกัน มีบริเวณที่เป็นสนามหญ้าหรือสวนหย่อมเพื่อใช้ในการพักผ่อน มีพื้นที่สำหรับออกกำลังการกลางแจ้งและร่ม มีห้องทำกิจกรรมทางศาสนา และมีห้องพักผ่อนหรือดูทีวีส่วนกลางร้อยละ 79.9 75 73.4 74.5 88.8 และ 92.2 ตามลำดับ สำหรับความต้องการด้านการบริการพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดว่าสถานบริการดูแลผู้สูงอายุแบบไปกลับควรมีกิจกรรมตรวจสุขภาพเบื้องต้นให้ผู้สูงอายุเดือนละ 1 ครั้ง ควรมีกิจกรรมตรวจสุขภาพฟันให้ผู้สูงอายุปีละ 2 ครั้ง ควรมีการจัดเตรียมอาหารกลางวัน และอาหารว่างให้ผู้สูงอายุ ควรมีกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพ หรือกิจกรรมการให้ความรู้เรื่องสุขภาพแก่ผู้สูงอายุ ควรมีกิจกรรมนันทนาการให้แก่ผู้สูงอายุ ควรมีบริการรับส่งที่บ้าน และ ควรมีบริการรถรับส่งผู้สูงอายุไปโรงพยาบาลเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน ร้อยละ 89.6 91.9 91.7 93.5 84.1 81.3 และ 93.0 ตามลำดับ นอกจากนี้ร้อยละ 76.6 กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการให้มีสถานบริการดูแลผู้สูงอายุแบบไปกลับในชุมชน ร้อยละ 74.2 มีความสนใจไปใช้บริการดูแลผู้สูงอายุแบบไปกลับ และคิดว่าถ้ามีสถานบริการผู้สูงอายุแบบไปกลับในชุมชนมีประโยชน์มากต่อกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 93.8 ผลการศึกษาในเชิงคุณภาพนั้นทีมผู้วิจัยสรุปความต้องการพื้นฐานในการจัดการการดูแลผู้สูงอายุแบบไปกลับในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนั้นเป็นไปตามแนวคิดผสมผสานของรูปแบบบริการดูแลทางสังคมและรูปแบบบริการการดูแลทางการแพทย์ซึ่งกิจกรรมบริการทางสังคมคือเน้นการบริการแบบดูแลทั่วๆไปในกิจวัตรประจำวันที่ครอบคลุมการบริการเรื่อง การดูแลเรื่องอาหาร การดูแลทำความสะอาดร่างกาย อาบน้ำ การเข้าห้องน้ำ การรับประทานยา หรือกิจกรรมสันทนาการ และรูปแบบบริการการดูแลทางการแพทย์เน้นการดูแลเรื่องบริการการรักษาบางเรื่องที่มีความจำเป็นสำหรับผู้ป่วย เช่น กายภาพบำบัดหรือกิจกรรมบำบัด เป็นต้น
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1396
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น