กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1396
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorกาญจนา พิบูลย์th
dc.contributor.authorพิสิษฐ์ พิริยาพรรณth
dc.contributor.authorมยุรี พิทักษ์ศิลป์th
dc.contributor.authorพวงทอง อินใจth
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:04:32Z
dc.date.available2019-03-25T09:04:32Z
dc.date.issued2557
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1396
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุแบบไปกลับในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 3 ระยะ การศึกษาครั้งนี้ดำเนินการในระยะที่ 1 ซึ้งเป็นการศึกษาความต้องการพื้นฐานในการจัดบริการการดูแลผู้สูงอายุแบบไปกลับในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย การศึกษาในระยะที่ 1 ประกอบด้วยการศึกษาทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพโดยสรุปผลการศึกษาวิจัยดังนี้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเชิงปริมาณคือผู้ที่มารับบริการ ณ แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 384 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเชิงคุณภาพเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจำนวน 50 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมิถุนายน – ตุลาคม 2556 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็น แบบประเมินความต้องการพื้นฐานในการจัดบริการการดูแลผู้สูงอายุแบบไปกลับในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยและแนวทางในการสัมภาษณ์และสนทนากลุ่ม ผลการศึกษาพบว่า การศึกษาในเชิงปริมาณกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นว่าสถานบริการแบบไปกลับควรมีห้องหรือพื้นที่ส่วนกลางสำหรับทำกิจกรรมร่วมกัน มีบริเวณที่เป็นสนามหญ้าหรือสวนหย่อมเพื่อใช้ในการพักผ่อน มีพื้นที่สำหรับออกกำลังการกลางแจ้งและร่ม มีห้องทำกิจกรรมทางศาสนา และมีห้องพักผ่อนหรือดูทีวีส่วนกลางร้อยละ 79.9 75 73.4 74.5 88.8 และ 92.2 ตามลำดับ สำหรับความต้องการด้านการบริการพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดว่าสถานบริการดูแลผู้สูงอายุแบบไปกลับควรมีกิจกรรมตรวจสุขภาพเบื้องต้นให้ผู้สูงอายุเดือนละ 1 ครั้ง ควรมีกิจกรรมตรวจสุขภาพฟันให้ผู้สูงอายุปีละ 2 ครั้ง ควรมีการจัดเตรียมอาหารกลางวัน และอาหารว่างให้ผู้สูงอายุ ควรมีกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพ หรือกิจกรรมการให้ความรู้เรื่องสุขภาพแก่ผู้สูงอายุ ควรมีกิจกรรมนันทนาการให้แก่ผู้สูงอายุ ควรมีบริการรับส่งที่บ้าน และ ควรมีบริการรถรับส่งผู้สูงอายุไปโรงพยาบาลเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน ร้อยละ 89.6 91.9 91.7 93.5 84.1 81.3 และ 93.0 ตามลำดับ นอกจากนี้ร้อยละ 76.6 กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการให้มีสถานบริการดูแลผู้สูงอายุแบบไปกลับในชุมชน ร้อยละ 74.2 มีความสนใจไปใช้บริการดูแลผู้สูงอายุแบบไปกลับ และคิดว่าถ้ามีสถานบริการผู้สูงอายุแบบไปกลับในชุมชนมีประโยชน์มากต่อกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 93.8 ผลการศึกษาในเชิงคุณภาพนั้นทีมผู้วิจัยสรุปความต้องการพื้นฐานในการจัดการการดูแลผู้สูงอายุแบบไปกลับในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนั้นเป็นไปตามแนวคิดผสมผสานของรูปแบบบริการดูแลทางสังคมและรูปแบบบริการการดูแลทางการแพทย์ซึ่งกิจกรรมบริการทางสังคมคือเน้นการบริการแบบดูแลทั่วๆไปในกิจวัตรประจำวันที่ครอบคลุมการบริการเรื่อง การดูแลเรื่องอาหาร การดูแลทำความสะอาดร่างกาย อาบน้ำ การเข้าห้องน้ำ การรับประทานยา หรือกิจกรรมสันทนาการ และรูปแบบบริการการดูแลทางการแพทย์เน้นการดูแลเรื่องบริการการรักษาบางเรื่องที่มีความจำเป็นสำหรับผู้ป่วย เช่น กายภาพบำบัดหรือกิจกรรมบำบัด เป็นต้นth_TH
dc.description.sponsorshipงานวิจัยฉบับนี้ได้รับทุนสนับสนุนจาก สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2556en
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectผู้สูงอายุ - -การดูแลth_TH
dc.subjectผู้สูงอายุth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์th_TH
dc.titleรูปแบบการจัดบริการสำหรับผู้สูงอายุแบบไปกลับในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา (ระยะที่ 1)th_TH
dc.title.alternativeElderly day care model in Burapha University Hospitalen
dc.typeResearch
dc.year2557
dc.description.abstractalternativeThis participatory action research aims to develop an elderly day care model in the university hospital. This research project consists of three phases. This phase is the first phase of this project and the objective of this phase was to explore the basic needs of day care services. Mix methods were used to conduct this research. 384 of out- patients from the Burapha university hospital were selected to participate in quantitative study and 50 participants were recruited to participate in qualitative study. The results from quantitative study found that almost the participant reported physical structure of day-care should have area for doing activities together, outdoor relax area, indoor and outdoor exercise areas, religion activity room, and living room (79.9%, 75%, 73.4%, 74.5%, 88.8% and 92.2% respectively). For basic needs of services, almost the participant report day care services should provide basic health assessment once a mouth, teeth assessment twice a year, food for elderly people, health promotion activities, relaxes activities, transportation from home to day care and ambulance for emergency care (89.6%, 91.9%, 91.7%, 93.5%, 84.1%, 81.3% and 93.0%, respectively). Furthermore, 76.6% of the participants reported that day care for the elderly were needed in their community, 74.2% of the participants revealed that they were interested to use the day care, and 93.8% of the participants reported that day care for the elderly was valuable for them. For the qualitative study, the research teams concludes that day care services model that the participants need was mix model from social and medical models. For social model services including general care for the elderly, such as food management, bath and toilet care, administer medication, or relax activities. For medical model services, medical treatments including physical therapy or occupational therapy.en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น