กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1392
ชื่อเรื่อง: รูปทรงไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Thai Form
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เทพศักดิ์ ทองนพคุณ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: ประติมากรรม - - ไทย
สาขาปรัชญา
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยเชิงสรา้งสรรค์ เรื่อง "รูปทรงไทย" (Thai Form) ในครั้งนี้เกิดจากแรงบันดาลใจที่จะสรา้งงานทัศนศิลป์สามมิติด้วยวิธีการประติมากรรมโลหะวิธีตรง (Direct metal sculpture ดังนั้นจึงได้ทำการค้นคว้าวิจัย ศิลปะไทย เพื่อค้นหารูปทรงที่เป็นอัตลักษณ์ของไทย และได้พบว่าลายไทยโดยเฉพาะลายกนก มีรูปทรงที่เป็นอัตลักษณ์ของศิลปะทั้งลายไทยที่เป็นลวดลายสองมิติ และลายที่เป็นประติมากรรมตกแต่งอาคารศาสนสถาน เช่น ช่อฟ้า ใบระกา หางหงษ์ ฯลฯ โดยทั้งหมดทีต้นกำเนิดมาจาก "ตัวเหงา" นอกจากนี้ยังพบว่า รูปทรงของศิลปะไทย นิยมนำรูปทรงธรรมชาติมาเป็นต้นแบบ เช่น ดอกไม้ เปลวไฟ ที่นิยมที่สุดคือ รูปทรงดอกบัว ดังนั้นจึงได้นำสิ่งที่พบมาเป็นแนวทางในการออกแบบรูปทรงไทย เมื่อออกแบบได้เรียบร้อย ก็นำมาสรา้งแบบจำลอง แล้วขยายแบบจำลองทำชิ้นงานจริงด้วยแผ่นโลหะคือเหล็ก ตักแผ่นเหล็กตามแบบที่แยกออกเป็นชิ้น ๆ ด้วยแสงเลเซอร์ แล้วนำมาประกอบเป็นรูปทรงด้วยการเชื่อมโลหะ จากนั้นทาสีกันสนิม และตกแต่งสีจริงด้วยสีสเปรย์ เมื่อชิ้นงานเสร็จเรียบร้อยก็นำไปติดตั้งบริเวณอาคารคณะศิลปกรรมศาสตร์ ก็จะได้งานประติมากรรม "รูปทรงไทย" (Thai Form) ตามต้องการ ในการค้นคว้าวิจัยและสรา้งสรรค์ครั้งนี้ ยังพบว่า มีรูปทรงที่เป็นอัตลักษณ์ของศิลปะไทยอีกหลายชนิด ที่จะนำมาสรา้งสรรค์เป้นงานประติมากรรมร่วมสมัยได้
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1392
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น