กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1391
ชื่อเรื่อง: นวัตกรรมเครือข่ายประชาสังคมเพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการเตรียมการรับภาวะวิกฤตชุมชน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Civil society network innovation to enhance community participation for community crisis preparation
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เพ็ญนภา กุลนภาดล
ประชา อินัง
พงศ์เทพ จิระโร
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: ชุมชน - - การมีส่วนร่วมของประชาชน
ชุมชน
สาขาสังคมวิทยา
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนานวัตกรรมเครือข่ายประชาสังคมเพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการเตรียมการรับภาวะวิกฤตชุมชน โดนมีวัตถุประสงค์ย่อย ดังนี้ 1.) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์สภาพการมีส่วนร่วมของชุมชนในการเตรียมการรับภาวะวิกฤติชุมชน 2) เพื่อพัฒนานวัตกรรมเครือข่ายประชาสังคมเพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการเตรียมการรับภาวะวิกฤติชุมชน 3) เพื่อประเมินนวัตกรรมเครือข่ายประชาสังคมเพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการเตรียมการรับภาวะวิกฤติชุมชน ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาและวิเคราะห์สภาพการมีส่วนร่วมของชุมชนในการเตรียมรับภาวะวิกฤตชุมชน เป็นประชาชนในเขตพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 350 คน ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนานวัตกรรมเครือข่าย ประชาสังคมได้แก่ ประชาชน ผู้นำชุมชน ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 30 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อนวัตกรรมเพื่อขายประชาสังคม ฯ เป็นประชาชนที่สมัครใจเป็นเครือข่ายประชาสังคมในการเตรียมการรับภาวะวิกฤติชุมชน จำนวน 30 คน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. การศึกษาและวิเคราะห์สภาพการมีส่วนร่วมของชุมชนในการเตรียมการรับภาวะวิกฤติชุมชน จากการสอบถามด้วยแบบสอบถามความเป็นประชาสังคม และ การมีส่วนร่วมของชุมชน พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความเห็นว่า ปัญหาของชุมชนไม่สามารถแก้ไขได้เพียงคนเดียว หรือ ครอบครัวเดียว ต้องช่วยเหลือกันทั้งชุมชนเท่านั้น อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.15 ลองลงมา คือ การพูดคุยสื่อสารกันในชุมชน เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในการแก้ไขภาวะวิกฤต อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.00 ส่วนความคิดเห็นที่กลุ่มตัวอย่างมีในระดับน้อย คือ กลุ่มตัวอย่างมีความเห็นว่า การสร้างความร่วมมือในชุมชน ควรขึ้นอยู่กับผู้นำชุมชนเท่านั้น ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.56 และจากการสังเกตสภาพชุมชน สภาพทั่วไปมีความเหมาะสม ประชาชนมีความเอื้ออาทรกัน มีการช่วยเหลือเกื้อกูล พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ลักษณะของการบริหารจัดการในพื้นที่จึงเป็นการเป็นการบริหารจัดการในลักษณะของสังคมเมือง และ สังคมชนบท จึงทำให้สะดวกต่อการสร้างกระแสประชาสังคมให้เกิดขึ้นในพื้นที่ 2. ผลการพัฒนานวัตกรรมเครือข่ายประชาสังคมเพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการเตรียมการรับภาวะวิกฤติชุมชน พบว่า นวัตกรรมเครือข่ายประชาสังคมที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ประกอบด้วยกระบวนการใน 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่เตรียมความพร้อมชุมชน ระยะพัฒนาเครือข่ายประชาสังคม และ และสร้างความยั่งยืน โดยทั้ง 3 ระยะ จะใช้กระบวนการทางจิตวิทยาร่วมด้วยในทุกระยะ 3. ผลการประเมินนวัตกรรมเครือข่ายประชาสังคมเพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการเตรียมการรับภาวะวิกฤติชุมชน พบว่า ประชาชนที่สมัครเป็นเครือข่ายประชาสังคมมีความพึงพอใจในนวัตกรรมอยู่ในระดับมาก
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1391
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น