กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1391
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorเพ็ญนภา กุลนภาดลth
dc.contributor.authorประชา อินังth
dc.contributor.authorพงศ์เทพ จิระโรth
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:04:31Z
dc.date.available2019-03-25T09:04:31Z
dc.date.issued2556
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1391
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนานวัตกรรมเครือข่ายประชาสังคมเพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการเตรียมการรับภาวะวิกฤตชุมชน โดนมีวัตถุประสงค์ย่อย ดังนี้ 1.) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์สภาพการมีส่วนร่วมของชุมชนในการเตรียมการรับภาวะวิกฤติชุมชน 2) เพื่อพัฒนานวัตกรรมเครือข่ายประชาสังคมเพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการเตรียมการรับภาวะวิกฤติชุมชน 3) เพื่อประเมินนวัตกรรมเครือข่ายประชาสังคมเพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการเตรียมการรับภาวะวิกฤติชุมชน ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาและวิเคราะห์สภาพการมีส่วนร่วมของชุมชนในการเตรียมรับภาวะวิกฤตชุมชน เป็นประชาชนในเขตพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 350 คน ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนานวัตกรรมเครือข่าย ประชาสังคมได้แก่ ประชาชน ผู้นำชุมชน ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 30 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อนวัตกรรมเพื่อขายประชาสังคม ฯ เป็นประชาชนที่สมัครใจเป็นเครือข่ายประชาสังคมในการเตรียมการรับภาวะวิกฤติชุมชน จำนวน 30 คน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. การศึกษาและวิเคราะห์สภาพการมีส่วนร่วมของชุมชนในการเตรียมการรับภาวะวิกฤติชุมชน จากการสอบถามด้วยแบบสอบถามความเป็นประชาสังคม และ การมีส่วนร่วมของชุมชน พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความเห็นว่า ปัญหาของชุมชนไม่สามารถแก้ไขได้เพียงคนเดียว หรือ ครอบครัวเดียว ต้องช่วยเหลือกันทั้งชุมชนเท่านั้น อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.15 ลองลงมา คือ การพูดคุยสื่อสารกันในชุมชน เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในการแก้ไขภาวะวิกฤต อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.00 ส่วนความคิดเห็นที่กลุ่มตัวอย่างมีในระดับน้อย คือ กลุ่มตัวอย่างมีความเห็นว่า การสร้างความร่วมมือในชุมชน ควรขึ้นอยู่กับผู้นำชุมชนเท่านั้น ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.56 และจากการสังเกตสภาพชุมชน สภาพทั่วไปมีความเหมาะสม ประชาชนมีความเอื้ออาทรกัน มีการช่วยเหลือเกื้อกูล พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ลักษณะของการบริหารจัดการในพื้นที่จึงเป็นการเป็นการบริหารจัดการในลักษณะของสังคมเมือง และ สังคมชนบท จึงทำให้สะดวกต่อการสร้างกระแสประชาสังคมให้เกิดขึ้นในพื้นที่ 2. ผลการพัฒนานวัตกรรมเครือข่ายประชาสังคมเพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการเตรียมการรับภาวะวิกฤติชุมชน พบว่า นวัตกรรมเครือข่ายประชาสังคมที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ประกอบด้วยกระบวนการใน 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่เตรียมความพร้อมชุมชน ระยะพัฒนาเครือข่ายประชาสังคม และ และสร้างความยั่งยืน โดยทั้ง 3 ระยะ จะใช้กระบวนการทางจิตวิทยาร่วมด้วยในทุกระยะ 3. ผลการประเมินนวัตกรรมเครือข่ายประชาสังคมเพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการเตรียมการรับภาวะวิกฤติชุมชน พบว่า ประชาชนที่สมัครเป็นเครือข่ายประชาสังคมมีความพึงพอใจในนวัตกรรมอยู่ในระดับมากth_TH
dc.description.sponsorshipภายใต้โครงการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนฐานราก ประจำปีงบประมาณ 2555en
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectชุมชน - - การมีส่วนร่วมของประชาชนth_TH
dc.subjectชุมชนth_TH
dc.subjectสาขาสังคมวิทยาth_TH
dc.titleนวัตกรรมเครือข่ายประชาสังคมเพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการเตรียมการรับภาวะวิกฤตชุมชนth_TH
dc.title.alternativeCivil society network innovation to enhance community participation for community crisis preparationen
dc.typeResearch
dc.year2556
dc.description.abstractalternativeThis research is aimed to develop a networking of civil society in order to reinforce the involvement of the community in preparation for a community crisis with the objectives as follows: 1) to study and analyze the involvement of the community, 2) to develop the networking innovation and 3) to evaluate the networking innovation which was developed by the researchers. The sample used in this study was divided into three parts. First, a sample of 350 people in Chachoengsao Province were used to study the circumstances of the involvement of the community in preparation for a community crisis, second a sample of 30 people including the leaders and the specialists in crisis management were used to build up the networking innovation and third a sample of 30 people who were volunteer in preparation for a community crisis were used to assess the satisfaction on the innovation. The results were as follows: 1) the result found that the samples commented on community problems that cannot be solved with only one family alone and required the help one another by entire community at high level with mean equal to 4.15, followed by a discussion of communication in a community which played an important role and necessary to resolve the crisis at high level with mean equal to 4.00. The sample had commented that the structure of the involvement in community should be based on only the community leader at low level with mean equal to 1.56. Based on the observing, the community had appropriate circumstances; people were kindness and support one another one another. Therefore the management models should be on the urban and rural society models. It was easy to create a flow of civil society to occur in the area. 2) The results of development of the networking innovation showed that it consisting of three phrases: phrase of community preparing, development phrase and phrase of building a sustainability of a civil society, and all of three phrases will create on the psychological processes. 3) The evaluation of the innovation showed that people who join in the network of a civil society have satisfied with the novelty in the high level.en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2568_016.pdf3.23 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น