กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1382
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorศักดินา บุญเปี่ยม
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:04:31Z
dc.date.available2019-03-25T09:04:31Z
dc.date.issued2553
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1382
dc.description.abstractการวิจัยเรื่อง “การพัฒนาแบบทดสอบพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ สำหรับนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา” มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนาแบบทดสอบพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ วิเคราะห์องค์ประกอบของพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ และสร้างเกณฑ์ปกติของพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การกลุ่มรวม และจำแนกเพศและชั้นปี ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนิสิตที่กำลังศึกษาระดับปริญญาตรีในคณะต่างๆ ของมหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี จำนวน 29,330 คน กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตที่กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 2,500 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ แบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ คือระดับ 1-5 ไม่จริง-จริง จำนวน 27 ข้อซึ่งแบ่งออกเป็น 5 องค์ประกอบได้แก่ พฤติกรรมการให้ความช่วยเหลือ (Altruism) พฤติกรรมความสำนึกในหน้าที่ (Conscientiousness) พฤติกรรมความอดทนอดกลั้น (Sportsmanship) พฤติกรรมการคำนึงถึง ผู้อื่น (Courtesy) และพฤติกรรมการให้ความร่วมมือ (Civic Virtue) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ เพื่อคำนวณหาค่าสถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์ความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และการหาค่าเปอร์เซ็นไทล์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ความเชื่อมั่นของแบบทดสอบพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ พบว่าแบบทดสอบพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การมีค่าความเชื่อมั่นของ 4 องค์ประกอบ ได้แก่ พฤติกรรมการคำนึงถึงผู้อื่นและให้ความช่วยเหลือ .822 พฤติกรรมการให้ความร่วมมือ .786 พฤติกรรมความสำนึกในหน้าที่ .712 พฤติกรรมความอดทนอดกลั้น .682 และทั้งฉบับ .904 2. ค่าอำนาจจำแนกของแบบทดสอบพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ พบว่า แบบทดสอบพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อของ 4 องค์ประกอบ ได้แก่ พฤติกรรมการคำนึงถึงผู้อื่นและให้ความช่วยเหลือ อยู่ระหว่าง .455 - .589 พฤติกรรมการให้ความร่วมมือ อยู่ระหว่าง .479 - .596 พฤติกรรมความสำนึกในหน้าที่ อยู่ระหว่าง .342 - .500 พฤติกรรมความอดทนอดกลั้น อยู่ระหว่าง .357 - .514 และทั้งฉบับอยู่ระหว่าง .352 - .573 3. ความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง พบว่าประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ โดยองค์ประกอบที่ 1 พฤติกรรมการคำนึงถึงผู้อื่นละให้ความช่วยเหลือ อธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 29.584 ของความแปรปรวนทั้งหมดของพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ องค์ประกอบที่ 2 พฤติกรรมการให้ความร่วมมือ อธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 5.721 ของความแปรปรวนทั้งหมดของ พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ องค์ประกอบที่ 3 พฤติกรรมความสำนึกในหน้าที่ อธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 5.375 ของความแปรปรวนทั้งหมดของพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ และองค์ประกอบที่ 4 พฤติกรรมความอดกลั้น อธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 5.152 ของความแปรปรวนทั้งหมดของพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ โดยทั้ง 4 องค์ประกอบสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 45.831 ของความแปรปรวนทั้งหมดของพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ 4. เกณฑ์ปกติของคะแนนพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ ได้แบ่งเกณฑ์เป็น 3 ระดับตามช่วงของค่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ คือ ช่วงเปอร์เซ็นต์ไทล์ต่ำกว่า 25 จัดอยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ย ช่วงเปอร์เซ็นต์ไทล์ตั้งแต่ 25 ถึง เปอร์เซ็นต์ไทล์ 75 จัดอยู่ในระดับระดับเกณฑ์เฉลี่ย และช่วงเปอร์เซ็นต์ไทล์สูงกว่า 75 จัดอยู่ในระดับสูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ย โดยมีการหาเกณฑ์ปกติเปอร์เซ็นต์ไทล์ทั้งฉบับและแต่ละด้านของกลุ่มนิสิตทั้งหมด กลุ่มตามเพศ และกลุ่มตามชั้นปี ทำให้สามารถนำแบบทดสอบพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การไปใช้ได้ง่ายและสะดวกในการแปลความหมายของคะแนนเชิงเปรียบเทียบในกลุ่มต่างๆth_TH
dc.description.sponsorshipงานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากงบประมาณเงินรายได้ปีงบประมาณ 2553 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์en
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectพฤติกรรมองค์การth_TH
dc.titleการพัฒนาแบบทดสอบพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การสำหรับนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.title.alternativeThe Development of Organizational Citizenship Behavior Test for Burapha University Studentsen
dc.typeResearch
dc.year2553
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research were to develop the organizational citizenship behavior test, analyze factors of test and develop norms divided by sex and academic years for Burapha University Students. The participants of this study were 2500 undergraduate students studying in faculties of Burapha University, Chonburi. The instruments were The Organizational Citizenship Behavior Test which compose of 5 factors such as altruism, conscientiousness, sportsmanship, courtesy and civic virtue. Data was analyzed using reliability analysis, factor analysis and percentiles. The results are as follow: 1. The 4 factors reliability of test were courtesy and altruism = .822, civic virtue = .786, conscientiousness = .712, sportsmanship = .682 and total = .904. 2. The 4 factors discriminant power of test were courtesy and altruism = .455 to .589, civic virtue = .479 to .596, conscientiousness = .342 to .500, sportsmanship = .357 to .514 and total = .352 to .573. 3. The 4 factors construct validity explaining variance percentage of test were courtesy and altruism = 29.584%, civic virtue = 5.721%, conscientiousness = 5.375%, sportsmanship = 5.152% and total = 45.831%. 4. The norms divided into 3 levels were below 25 percentile, between 25 to 15 percentile and over 75 percentile. These norms divided by sex, academic years and total students.en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2566_103.pdf3 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น