กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1352
ชื่อเรื่อง: | ความหลากหลายทางพันธุกรรมของปูบางชนิดที่พบบริเวณพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชทางทะเล หมู่เกาะแสมสาร จังหวัดชลบุรี (รายงานฉบับสมบูรณ์ปีที่ 2) |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วันศุกร์ เสนานาญ นงนุช ตั้งเกริกโอฬาร มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ปูทะเล - - การจำแนก ปูทะเล - - เกาะแสมสาร (ชลบุรี) สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา |
วันที่เผยแพร่: | 2555 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้จึงได้ศึกษาความหลากชนิดของปูน้ำเค็ม 11 สปีชีส์ จาก แฟมิลี Portunidae ที่พบบริเวณหมู่เกาะแสมสารโดยใช้ลำดับนิวคลีโอไทด์บางส่วนของยีน Cytochrome oxidase subunit (COI), 16SrRNA ในไมโตคอนเดรีย และ Histone H3 ในนิวเคลียส ในการตรวจสอบความสัมพันธ์ ทางวิวัฒนาการและศักยภาพของการใช้ดีเอ็นเอในการจัดจำแนกชนิด ผลการศึกษาพบว่าสายนิวคลีโอไทด์ยีน COI, 16S rRNA และ Histone H3 ที่ใช้มีขนาดเท่ากับ 662, 542 และ 328 คู่เบสตามลำดับ แต่ดีเอ็นเอทั้งสามสายมีความแปรปรวนที่แตกต่างกัน โดยยีน COI มีความระดับความแปรปรวนใกล้เคียงกับยีน 16S rRNA และมีความแปรปรวนมากกว่ายีน Histone H3 ซึ่งยีน COI และ 16S rRNA มีจำนวนตำแหน่งที่มีความแปรปรวน คิดเป้นร้อยละ 38.21 และ 38.01 ของความยาวสายนิวคลีโอไทด์ ตามลำดับ ในขณะที่ ยีน Histone H3 มีสัดส่วนตำแหน่งที่มีความแปรปรวนร้อยละ 31.09 ของความยาวสายนิวคลีโอไทด์ ยีน COI และ 16S rRNA สามารถจัดหมวดหมู่ตัวอย่างตามสปีชีส์ และจีนัส ในขณะที่ยีน Histone H3 ไม่สามารถจัดหมวดหมู่ได้ตาม สปีชีส์ ดังนั้นสำหรับปูม้าในแฟมิลี Portunidae ลำดับนิวคลีโอไทด์ของยีน COI และ 16S rRNA จึงมีศักยภาพในการอธิบายความแตกต่างระหว่างหน่วยอนุกรมวิธาน และจัดหมวดหมู่ได้มากกว่ายีน Histone H3 ลำดับนิวคลีโอไทด์ของยีน COI และ 16r rRNA สามารถจัดตัวอย่างได้ตรงตามสปีชีส์ที่แยกโดยสัณฐานได้อย่างชัดเจนใน 10 จาก 11 ชนิดที่ทำการวิเคราะห์ (ข้อยกเว้นคือ ระหว่าง T. dance และ T. prymna) และสามารถจัดกลุ่มสปีชีส์โดยวิธี Minimum Evolution และ Maximum Likelihood ได้อย่างน้อย 3 กลุ่มตรงตามจีนัสคือ Charybdis, Thalamita และ Portunus โดย มีความใกล้ชิดทางพันธุกรรมซึ่งการจัดกลุ่มนี้สนับสนุนการจัดแยก subfamily โดยสัณฐาน ที่จัด Charybdis และ Thalamita ให้อยู่ใน subfamily Thalamitinae และ Portunus อยู่ใน subfamily Portuninae การจัดกลุ่มของ Portunus เป็นแบบ paraphyletic ขึ้นอยู่กับยีนและวิธีวิเคราะห์ที่ใช้ ดังนั้นจึงควรมีการศึกษาโดยละเอียดต่อไปความสัมพันธ์ภายในทั้งสามเจเนอรา พบว่า ภายในจีนัส Charybdis ปูชนิด C. anisodon มีลำดับนิวคลีโอไทด์ใกล้เคียงกันกับ C.hellerii ภายในจีนัส Thalamita ปู T. danae, T.prymna และ T. pelsarti มีความัสมพันธ์ใกล้ชิดกัน และ T. sima ต่างจากสปีชีส์อื่น ๆ ส่วนภายในจีนัส Portunus ปู P. pelagicus ใกล้ชิดทางพันธุกรรมกับ P. sanguinolentus ข้อมูลในส่วนนี้จะเป็นฐานข้อมูลที่สำคัญในอนาคตในการจัดจำแนกตัวอย่างที่อาจมีสภาพไม่สามารถแยกโดยสัณฐานได้ และการศึกษาเกี่ยวกับระบบการจัดหมวดหมู่ของปูกลุ่มนี้ต่อไป |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1352 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น