กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1352
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorวันศุกร์ เสนานาญth
dc.contributor.authorนงนุช ตั้งเกริกโอฬารth
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:04:28Z
dc.date.available2019-03-25T09:04:28Z
dc.date.issued2555
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1352
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้จึงได้ศึกษาความหลากชนิดของปูน้ำเค็ม 11 สปีชีส์ จาก แฟมิลี Portunidae ที่พบบริเวณหมู่เกาะแสมสารโดยใช้ลำดับนิวคลีโอไทด์บางส่วนของยีน Cytochrome oxidase subunit (COI), 16SrRNA ในไมโตคอนเดรีย และ Histone H3 ในนิวเคลียส ในการตรวจสอบความสัมพันธ์ ทางวิวัฒนาการและศักยภาพของการใช้ดีเอ็นเอในการจัดจำแนกชนิด ผลการศึกษาพบว่าสายนิวคลีโอไทด์ยีน COI, 16S rRNA และ Histone H3 ที่ใช้มีขนาดเท่ากับ 662, 542 และ 328 คู่เบสตามลำดับ แต่ดีเอ็นเอทั้งสามสายมีความแปรปรวนที่แตกต่างกัน โดยยีน COI มีความระดับความแปรปรวนใกล้เคียงกับยีน 16S rRNA และมีความแปรปรวนมากกว่ายีน Histone H3 ซึ่งยีน COI และ 16S rRNA มีจำนวนตำแหน่งที่มีความแปรปรวน คิดเป้นร้อยละ 38.21 และ 38.01 ของความยาวสายนิวคลีโอไทด์ ตามลำดับ ในขณะที่ ยีน Histone H3 มีสัดส่วนตำแหน่งที่มีความแปรปรวนร้อยละ 31.09 ของความยาวสายนิวคลีโอไทด์ ยีน COI และ 16S rRNA สามารถจัดหมวดหมู่ตัวอย่างตามสปีชีส์ และจีนัส ในขณะที่ยีน Histone H3 ไม่สามารถจัดหมวดหมู่ได้ตาม สปีชีส์ ดังนั้นสำหรับปูม้าในแฟมิลี Portunidae ลำดับนิวคลีโอไทด์ของยีน COI และ 16S rRNA จึงมีศักยภาพในการอธิบายความแตกต่างระหว่างหน่วยอนุกรมวิธาน และจัดหมวดหมู่ได้มากกว่ายีน Histone H3 ลำดับนิวคลีโอไทด์ของยีน COI และ 16r rRNA สามารถจัดตัวอย่างได้ตรงตามสปีชีส์ที่แยกโดยสัณฐานได้อย่างชัดเจนใน 10 จาก 11 ชนิดที่ทำการวิเคราะห์ (ข้อยกเว้นคือ ระหว่าง T. dance และ T. prymna) และสามารถจัดกลุ่มสปีชีส์โดยวิธี Minimum Evolution และ Maximum Likelihood ได้อย่างน้อย 3 กลุ่มตรงตามจีนัสคือ Charybdis, Thalamita และ Portunus โดย มีความใกล้ชิดทางพันธุกรรมซึ่งการจัดกลุ่มนี้สนับสนุนการจัดแยก subfamily โดยสัณฐาน ที่จัด Charybdis และ Thalamita ให้อยู่ใน subfamily Thalamitinae และ Portunus อยู่ใน subfamily Portuninae การจัดกลุ่มของ Portunus เป็นแบบ paraphyletic ขึ้นอยู่กับยีนและวิธีวิเคราะห์ที่ใช้ ดังนั้นจึงควรมีการศึกษาโดยละเอียดต่อไปความสัมพันธ์ภายในทั้งสามเจเนอรา พบว่า ภายในจีนัส Charybdis ปูชนิด C. anisodon มีลำดับนิวคลีโอไทด์ใกล้เคียงกันกับ C.hellerii ภายในจีนัส Thalamita ปู T. danae, T.prymna และ T. pelsarti มีความัสมพันธ์ใกล้ชิดกัน และ T. sima ต่างจากสปีชีส์อื่น ๆ ส่วนภายในจีนัส Portunus ปู P. pelagicus ใกล้ชิดทางพันธุกรรมกับ P. sanguinolentus ข้อมูลในส่วนนี้จะเป็นฐานข้อมูลที่สำคัญในอนาคตในการจัดจำแนกตัวอย่างที่อาจมีสภาพไม่สามารถแยกโดยสัณฐานได้ และการศึกษาเกี่ยวกับระบบการจัดหมวดหมู่ของปูกลุ่มนี้ต่อไปth_TH
dc.description.sponsorshipทุนอุดหนุนการวิจัยงบประมาณเงินรายได้ (เงินอุดหนุนรัฐบาล) ปีงบประมาณ 2555en
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectปูทะเล - - การจำแนกth_TH
dc.subjectปูทะเล - - เกาะแสมสาร (ชลบุรี)th_TH
dc.subjectสาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยาth_TH
dc.titleความหลากหลายทางพันธุกรรมของปูบางชนิดที่พบบริเวณพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชทางทะเล หมู่เกาะแสมสาร จังหวัดชลบุรี (รายงานฉบับสมบูรณ์ปีที่ 2)th_TH
dc.typeResearch
dc.year2555
dc.description.abstractalternativeAlthough morphological characters and typically useful for taxonomy, the variation in some characters may reflect evolution relationships among taxa due to convergent evolution or the morphological-based identification may be difficult with taxa with highly variable characters. This study, therefore, analyzed genetic divergence among 11 species from the Family Portunidae collected from Samaesn lslands using partial sequences of mitochondrial Cytochrome oxidase subunit I (COI), 16S rRNA and nuclear Histone H3 genes. The aims are to evaluate phylogenetic relationships among taxa and the potential of these DNA fragments as a species diagnostic tool. We analyzed 662, 542 and 328 base pairs of COI, 16S rDNA and Histone H3 sequences respectively. Sequences of COI and 16srRNA gene appeared to be more variable than those of Histone H3 with the variable sites accounting for 38.21% and 38.01% of the total length . In contrast, the Histone sequences contained 31.09% of variable sites. Both COI and 16S rRNA genes can discriminate most species within genera Charybdis, Thalamita and Portuns and revealed phylogentic relationships among them. Histone H3 sequences were less informative. COI and 16SrDNA sequences correctly assigned 10 of 11 species according to the Morphology-based identification (one exception was bwtween T. dance and T. prymna. A phylogetic analysis based on Maximum likelihood and Minimum Evolution methods revealed at least 3 clades accoeding to their genera, Charybdis, thalamita Portunus with Charybdis and Thalamita being more closely related. The grouping supports the division of subfamilies with Charybdis and Thalamita in subfamily Thalamitinae and Portunus was paraphyletic depending on the genes and analytical approaches. The results suggested more detailed analyses of this genus. Within Charybdis, C. anisodon was more closely related to C. hellerii. Within Thalamita, T. dance, T.prymna and T. pelsarit were closely reted and T. sima was geneticallty distinct from other species within this genus. For Portunus, P. polagicus was closely related. To P. sanguinolentus. Insights obtained from this study provided important baselines for species identification and systematic studies.en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น