กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1330
ชื่อเรื่อง: | การศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพของใบเร่วหอม: มูลค่าเพิ่มจากของเหลือทิ้งทางการเกษตร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | study on biologival activity of leaves of Etlingera pavieana : Value added product from agricultural waste |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | กล่าวขวัญ ศรีสุข เอกรัฐ ศรีสุข มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | เร่วหอม สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช |
วันที่เผยแพร่: | 2556 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | เร่วหอมเป็นพืชในวงศ์ Zingiberaceae ในแถบตะวันออกของไทยมีการใช้เหง้าเร่วหอมเป็นเครื่องเทศ งานวิจัยส่วนมากทำการศึกษาในส่วนของเหง้าเร่วหอม ในขณะที่ใบเร่วหอมที่มีจำนวนมากซึ่งเป็นของเหลือใช้ทางการเกษตรยังไม่มีการศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพ ดังนั้นการวิจัยนี้จึงมีจุดมุ่งหมายที่ศึกษาเปรียบเทียบฤทธิ์ทางชีวภาพ (ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ต้านอักเสบ และฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส) ของส่วนสกัดน้ำและน้ำมันหอมระเหยจากเหง้าและใบของเร่วหอม ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระศึกษาโดยการทดสอบที่แตกต่างกันสามระบบได้แก่ การกำจัดอนุมูล 2,2-diphenyl-1-picrylhydrazy1 (DPPH) ความสามารถในการรีดิวซ์ และความสามารถในการคีเลทไอออนของโลหะ ปริมาณสารประกอบฟีนอลของส่วนสกัดทดสอบโดยวิธี Folin-ciocalteu ฤทธิ์ต้านอักเสบถูกทดสอบโดยศึกษาการยับยั้งการผลิตไนตริกออกไซด์ในเซลล์แมคโครฟาจ RAW264.7 ที่ถูกกระตุ้นด้วยไลโพพอลิแซกคาร์ไรด์ (LPS) ทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์ด้วยวิธี MTT จากการทดสอบพบว่าส่วนสกัดทั้งหมดแสดงฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในลักษณะที่ขึ้นกับความเข้มข้น ส่วนสกัดน้ำของใบเร่วหอมมีฤทธิ์ในการกำจัดอนุมูล DPPH ความสามารถในการรีดิวซ์ ความสามารถในการคีเลทไอออนของโลหะ และมีปริมาณสารประกอบฟีนอลสูงกว่าส่วนสกัดจากเหง้า ในขณะที่ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสของใบต่ำกว่าของเหง้า การต้านอนุมูลอิสระ การต้านอักเสบ และการยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสของน้ำมันหอมระเหยจากเหง้าและใบมีฤทธิ์ใกล้เคียงกัน เมื่อเปรียบเทียบระหว่างส่วนสกัดพบว่าฤทธิ์ทางชีวภาพทุกชนิดที่ทดสอบของน้ำมันหอมระเหยสูงกว่าฤทธิ์ของส่วนสกัดน้ำยกเว้นฤทธิ์ในการกำจัดอนุมูล DPPH การวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันทำโดยเทคนิค GS-MS จากการวิเคราะห์พบว่า น้ำมันหอมระเหยของเหง้าและใบประกอบด้วยสารที่ระบุชนิดได้ 3 และ 4 ชนิด ตามลำดับ คิดเป็น 99.24 และ 96.73% ขององค์ประกอบของน้ำมันทั้งหมด น้ำมันหอมระเหยของเหง้าประกอบด้วย trans-anethole (94.81%), methyl chavicol (3.13%) และ &-Cadinene (1.30%) ในขณะที่น้ำมันหอมระเหยของใบประกอบด้วย methyl chavicol (93.41%), B-Selinene (1.11%), &-Cadinene (1.18%) and &-Selinene (0.70%) ผลที่ได้แสดงให้เห็นว่าส่วนสกัดน้ำมันหอระเหยของเหง้าและใบเร่วหอมแสดงฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ต้านอักเสบ และฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส การค้นพบของเราแสดงให้เห้นว่าเหง้าและใบเร่วหอมเป็นแหล่งสารต้านอนุมูลอิสระ สารต้านอักเสบ และสารยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสที่อายจำไปใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องสำอาง |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1330 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น