กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1314
ชื่อเรื่อง: การศึกษาคำกริยาภาษาญี่ปุ่นในคำพ้องรูปคันจิสมบูรณ์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The study of Japanese verbs written in complete Kanji homographs
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นฤมล ลี้ปิยะชาติ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คำสำคัญ: คันจิ
คำพ้องรูป
ภาษาญี่ปุ่น
สาขาปรัชญา
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาว่าคำกิริยาภาษาญี่ปุ่นในคำพ้องรูปคันจิมีจำนวนประมาณเท่าไหร่ และศึกษาความแตกต่างของคำกิริยาภาษาญี่ปุ่นในคำพ้องรูปสมบูรณ์ในแง่เสียงอ่าน ความหมาย และการใช้ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร จากการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าจากตัวอักษรที่ยังใช้อยู่ทั้งหมด 2,636 ตัวในพจนานุกรมที่นำมาใช้ในการวิจัยนี้มีตัวอักษรคันจิที่ปรากฏในรูปคำกิริยาได้ทั้งหมด จำนวน 874 ตัวอักษร เป็นคำกิริยา จำนวน 1,455 คำและพบว่ามีคำพ้องรูปสมบูรณ์จำนวนทั้งหมด 48 ชุด หรือ 97 คำ จากการวิเคราะห์เปรียบเทียบคำกิริยาในแต่ละชุดทั้ง 48 ชุดนี้พบว่าคำกิริยาพ้องรูปมีความแตกต่างกันพอสรุปได้ดังนี้คือ คำกิริยาพ้องรูปที่มีความหมายใกล้เคียงกันมีจำนวนมากถึง 22 ชุด ในขณะที่คำพ้องรูปที่มีความหมายต่างกันอย่างชัดเจนมีเพียง 4 ชุด ในขณะเดียวกันยังมีลักษณะของคำพ้องรูปที่ไม่ใช้แล้วทั้งสองคำ จำนวน 2 ชุด คำพ้องรูปที่นิยมใช้เพีนงคำเดียวมีจำนวน 10 ชุด คำพ้องรูปที่เปลี่ยนการเขียนคำในคู่นั้นเป็นฮิระงะนะ จำนวน 6 ชุด และคำพ้องรูปที่เปลี่ยนตัวเขียนคันจิคำหนึ่งในคู่นั้นเป็นคันจิตัวอื่นอีก 4 ชุด จากลักษณะที่กล่าวมานี้ทำให้เห็นว่าคำพ้องรูปมีการเปลี่ยนแปลงรูปการเขียนไปซึ่งมีแนวโน้มว่าจะทำให้เกิดรูปที่แตกต่างและไม่เป็นปัญหากับผู้เรียนมากขึ้น
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1314
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2566_144.pdf5.33 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น