กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1309
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorภารดี อนันต์นาวี
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:04:25Z
dc.date.available2019-03-25T09:04:25Z
dc.date.issued2556
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1309
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสภาพ ปัญหาการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานภาคตะวันออกสู่อาเซียน จำแนกตามวุฒิการศึกษา ระดับการจัดการศึกษา ขนาดของสถานศึกษา และเขตพื้นที่การศึกษา รวมทั้งศึกษาแนวทางการพัฒนา 4 ด้าน ได้แก่ 1) การสร้างประชาคมอาเซียนด้านการศึกษา 2) การขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนด้านการศึกษา 3) การสร้างประชาคมอาเซียนด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา 4) การสร้างประชาคมอาเซียนด้านสังคมและวัฒนธรรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูสถานศึกษาขั้นพื้นฐานภาคตะวันออก โดย การสุ่มแบบแบ่งชั้น ตามระดับการศึกษา จำนวน 380 คน ผู้เชี่ยวชาญสำหรับ การสัมภาษณ์ จำนวน 17 คน และผู้เชี่ยวชาญสำหรับสนทนากลุ่ม จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามสภาพและปัญหาการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และแบบสัมภาษณ์แนวทางพัฒนาการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานภาคตะวันออกสู่อาเซียน สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) เปรียบเทียบรายคู่โดยวิธี LSD การวิเคราะห์ผลจากการสัมภาษณ์โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และการสนทนากลุ่ม (Focus group) การสังเคราะห์แบบอุปนัย (Inductive Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคตะวันออกสู่อาเซียน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง 2. เปรียบเทียบสภาพการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคตะวันออกสู่อาเซียน จำแนกตามวุฒิการศึกษา โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นด้านการขับเคลื่อนประชาคมอาเซียน ด้านการศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำแนกตามระดับการจัดการศึกษา โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นการสร้างประชาคมอาเซียนด้านการศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำแนกตามเขตพื้นที่การศึกษา โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. ปัญหาการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคตะวันออกสู่อาเซียน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง 4. เปรียบเทียบปัญหาการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานภาคตะวันออกสู่อาเซียน จำแนกตามวุฒิการศึกษา โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ จำแนกตามระดับการศึกษาโดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ จำแนกตามขนาดของสถานศึกษาโดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นด้านการสร้างประชาคมอาเซียนด้านการศึกษา และการขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนด้านการศึกษาแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ จำแนกตามเขตพื้นที่การศึกษา โดยรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 5. ข้อเสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานภาคตะวันออกสู่อาเซียน 4 ด้าน ได้แก่ ควรพัฒนาการศึกษาของประเทศให้เป็นศูนย์กลางอาเซียนศึกษาในภูมิภาค โดยประสานนโยบายสู่การปฏิบัติในระดับสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพ ควรพัฒนาคุณลักษณะของเยาวชนไทยให้รองรับประชาคมอาเซียน ควรส่งเสริมให้มีการเชื่อมโยงเครือข่ายใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาร่วมกัน โดยส่งเสริมการเป็นแหล่งการเรียนรู้ให้เกิดประโยชน์แก่นักเรียน และควรจัดให้มีการสร้างประชาคมอาเซียนด้านสังคมและวัฒนธรรมทั้งในระดับส่วนกลาง ภูมิภาคและระดับสถานศึกษาth_TH
dc.description.sponsorshipการวิจัยครั้งนี้ได้รับเงินอุดหนุนจากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectผู้บริหารโรงเรียน -- ไทย (ภาคตะวันออก)th_TH
dc.subjectโรงเรียน -- การบริหาร -- ไทย (ภาคตะวันออก)th_TH
dc.subjectสาขาการศึกษาth_TH
dc.titleสภาพ ปัญหาและแนวทางพัฒนาการบริหารของผู้บริหาร สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคตะวันออกสู่อาเซียนth_TH
dc.title.alternativeSituations Problems and Guided Development of Administration Based on ASEAN of School Administrators of Basic Education in the Easternen
dc.typeResearch
dc.author.emailparadee.anan@gmail.com
dc.year2556
dc.description.abstractalternativeThe purposes of the study were to investigate and to compare the existing situations and problems of ASEAN Community administration of school administrators in Eastern Part of Thailand, as classified by graduation degree, school educational level, school size, as well as to find out the guidelines for developing ASEAN community administration in schools in 4 aspects: 1) constructing education for ASEAN community 2) supporting education for ASEAN Community 3) constructing educational technologies for ASEAN community 4) constructing social and culture of ASEAN Community. The samples used in this research were 380 teachers in Eastern Part of Thailand derived by stratified random sampling technique (using school education level as strata). The experts used in this research were 17 people for interview, and 10 people for focus groups technique. The research instruments were a 5 rating- scale questionnaire asking about existing situation and problems in developing ASEAN community; and interview questionnaire for gathering the guidelines for developing ASEAN community in schools. Statistical devices used for analyzing the data were mean, standard deviation, t-test, One-way ANOVA with paired test of LSD. For guidelines of developing ASEAN community, the researcher used content analysis, focus group technique and inductive synthesis technique. The findings were as follows: 1. The existing situation of administration for ASEAN community in schools in Eastern Part of Thailand, as a whole and by dimensions were rated of a moderate level. 2. There were no significant difference of existing situations of ASEAN community in school as Classified by graduation degree as a whole and by dimension, except the dimension of supporting education for ASEAN Community was significant difference at .05 level. When classified by school educational level, as a whole and by dimensions, there was non-significant difference at .05 level; except, the dimension of constructing education for ASEAN community, there was significant. When classified by school size, as a whole and by dimension, there was significant at .05 level. When classified by educational region, as a whole and by dimensions, there was non significant difference. 3. The problems of ASEAN Community administration of school administration in Eastern part of Thailand, as a whole and by dimensions were rated of a moderate level. 4. There were no significant differences of problems of ASEAN Community administration of school administrators as classified by graduation degree, as a whole and by dimension. When classified by school educational level, as a whole and by dimensions, there was non-significant difference. When classified by school size, as a whole and by dimension, there was significant difference at .05 level. Except the dimension of constructing education for ASEAN community and supporting education for ASEAN Community, there was non-significant difference. When classified by educational region, as a whole, there was non-significant difference, respectively. 5. The guidelines for developing ASEAN community administration in schools in 4 aspects were; the developing of education hub of Thailand as the studying center in this region, Connection of school policy and effective practical activities, nurture Thai students to be good ASEAN citizenship, supporting working net work by using educational technologies and learning resources together, as well as constructing ASEAN COMMUNITY, concentrated in social and Culture, in central authority, educational regions and schoolsen
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2568_017.pdf5.33 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น