กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1286
ชื่อเรื่อง: | การแก้ปัญหาการวางแผนย้ายแหล่งทำงานของโมบายล์เอเจนต์ด้วยวิธีการเชิงพลวัติ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Dynamic problem solving for mobile agent migration planning. |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | กฤษณะ ชินสาร สุวรรณา รัศมีขวัญ สุนิสา ริมเจริญ ภูสิต กุลเกษม เบญจภรณ์ จันทรกองกุล เอกจิต แซ่ลิ้ม มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาการสารสนเทศ |
คำสำคัญ: | ซอฟแวร์ เอเจนต์เคลื่อนที่ (ซอฟต์แวร์) สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2555 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การแก้ปัญหาการวางแผนย้ายแหล่งทำงานของโมบายล์เอเจนต์ด้วยวิธีการเชิงพลวัติ โดยมีจุดมั่งหมายในการแก้ปัญหาคือ การหาเส้นทางการเคลื่อนที่ที่ทำให้โมบายล์เอเจนต์สามารถทำงานได้สำเร็จตามกำหนด โดยใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเครือข่ายเป็นปัจจัยในการตัดสินใจเคลื่อนย้ายโหนด เช่น ค่าเวลาที่ทำการย้ายการทำงานจากโหนดหนึ่งไปยังอีกโหนดหนึ่ง ค่าเวลาหน่วงที่เกิดขึ้น ณ โหนดใด ๆ ค่าความน่าจะเป็นของงานที่จะทำสำเร็จ เป็นต้น สำหรับการวัดประสิทธิภาพของเส้นทางที่เหมาะสมนั้น ได้แบ่งออกเป็น 2 ตอน โดยตอนที่ 1 จะใช้การวัดจากผลรวมของเวลาทั้งหมดในการเคลื่อนที่รวมถึงเวลาหน่วงที่เกิดขึ้น โดยมีเป้าหมายในการใช้เวลาให้น้อยที่สุด ผลการทดลองโดยการปรับปรุงขั้นตอนวิธีอาณานิคมหมดในการย้ายการทำงานของโมบายล์เอเจนต์ซึ่งทำการทดลองกับเครือข่ายจำลอง จำนวน 20 โหนด แสดงให้เห็นว่าขั้นตอนวิธีที่นำเสนอสามารถหาเส้นทางที่เหมาะสมในการย้ายการทำงานของโมบายล์เอเจนต์ได้ผลดีขึ้น ส่วนในตอนที่ 2 การใช้การวัดประสิทธิภาพการค้นหาเส้นทางจากวิธีการค้นหาแบบนกดุเหว่าแบบปรับปรุงในการวางแผนย้ายแหล่งทำงานของโมบายล์เอเจนต์ โดยใช้ชุดข้อมูลจากปัญหาการเดินทางของเซลส์แมน ซึ่งเป็นปัญหากราฟเช่นเดียวกับปัญหาการวางแผนย้ายแหล่งทำงานของโมบายล์เอเจนต์ จากผลลัพธ์แสดงให้เห็นว่า วิธีการค้นหาแบบนกดุเหว่าแบบปรับปรุงสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการค้นหาเส้นทางได้ดียิ่งขึ้น ถึงแม้ว่าอาจจะยังไม่ใช่เวลาที่ดีที่สุดหรือเร็วที่สุด แต่ก็สามารถลดเวลาในการทำงานของโมบายล์เอเจนต์ลงได้ จากการศึกษากระบวนการย้ายการทำงานของโมบายล์เอเจนต์ พบว่า ยังมีอีกหลายปัจจัยที่มีผลต่อการทำงาน เช่น ศักยภาพการทำงานของแต่ละโหนดที่อาจมีประสิทธิภาพที่แตกต่างกัน ซึ่งอาจส่งผลต่อเวลาที่ให้บริการและปริมาณงาน ความหลากหลายของงานที่อาจมีผลต่อการเคลื่อนย้ายที่มีประสิทธิภาพ หรือจำนวนสูงสุดของโหนดที่เหมาะสมในการเคลื่อนย้าย เป็นต้น ดังนั้นปัจจัยที่กล่าวถึงมานี้เป็นปัจจัยที่น่าสนใจสำหรับการศึกษาในการตัดสินใจย้ายการทำงานของโมบายล์เอเจนต่อไป |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1286 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2566_157.pdf | 2.85 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น