กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12772
ชื่อเรื่อง: | การออกแบบอัตลักษณ์สากลจากภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยการมีส่วนร่วมแหล่งท่องเที่ยวแบบสโลว์ทาวน์ในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงตะวันออก-ตะวันตก ในประเทศไทย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Identity design with an indigenous-inspired for tourism of slow town in gms economic corridor east-west in thailand |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เกรียงศักดิ์ เขียวมั่ง รวี หาญเผชิญ กษม อมันตกุล มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ แหล่งท่องเที่ยว ภูมิปัญญาชาวบ้าน Humanities and Social Sciences วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก อัตลักษณ์ -- การออกแบบ |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
สำนักพิมพ์: | คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นและอัตลักษณ์ร่วมแหล่งท่องเที่ยว สโลว์ทาวน์ในเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และออกแบบและพัฒนาอัตลักษณ์องค์กรณ์ชุมชนต้นแบบเป็นแหล่งท่องเที่ยวสโลว์ทาวน์ในเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง โดยมีขอบเขตการวิจัย คือ แหล่งท่องเที่ยวสโลว์ทาวน์ในพื้นที่ศึกษาบนเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ตะวันออก-ตะวันตก หรือเส้นทางหมายเลข 9 (R9) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือในประเทศไทย ซึ่งประกอบด้วย จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดกาพสินธุ์ และจังหวัดขอนแก่น โดยสอบถามจากผู้นำชุมชน (นายอำเภอ) จำนวน 10 คน ในเส้นทางหมายเลข 9 ผ่านตามการจัดกลุ่ม 3 ลักษณะ ประกอบด้วย กลุ่มสถาปัตยกรรม กลุ่มศิลปกรรม และกลุ่มหัตถกรรม ผลการวิจัย พบว่า พื้นที่วิจัย คือ บ้านป่าเหลื่อม (แก่งดอนจาน) ตำบลดอนช้าง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น เป็นต้นแบบของแหล่งท่องเที่ยวสโลว์ทาวน์เพราะมีการสงวนรักยาหรืออนุรักษ์ไว้ซึ่งเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม มีรูปแบบวัฒนธรรมที่มีความสงบสุข มีรูปแบบวัฒนธรรมของตนเอง มีการปลูกจิตสำนึกในรูปแบบวัฒนธรรมของตนเอง มีการแสดงถึงความเจริญงอกงามทางวัฒนธรรม มีการดำรงอยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์ มีการจำแบกชาติพันธุ์ใบชุมชน มีการเสริมสร้างอัตลักษณ์ของบุคคลและของชาติพันธุ์ในชุมชน มีการรณรงค์ให้ใส่ชุดเสื้อผ้าที่ผลิตในท้องถิ่น และประชาชนรับประทามอาหารที่ปรุงจากวัตถุดิบพื้นบ้านตามฤดูกาล การออกแบบและพัฒนาอัตลักษณ์องค์กรชุมชนต้นแบบเป็นแหล่งท่องเที่ยวสโลว์ทาวน์ในเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ผลการวิจัยพบว่า การใช้เส้นในการออกแบบเส้นตรงทั้ง แนวนอนแนวตั้งหรือแม้กระทั่งเส้นเฉียงแสดงออกถึงความเรียบง่ายตามวิถีของเมืองสโลว์ทาวน์ ในการใช้สีในการออกแบบใช้สีที่มีเชิงความหมายและความรู้สึก ทั้งสีฟ้า แดง และเหลือง สีน้ำเงินหรือสีดำ มีความหมายถึงการทำพิธีในการปักเฉลว ในวันศุกร์ และสีฟ้าเป็นสีประจำวันศุกร์ มีความรู้สึกถึงความสดใส ร่มเย็น สดชื่น และเรียบง่ายตามวิถีของสโลว์ทาวน์ สีแดงหรือสีชมู มีความหมายถึงครั่ง ที่เป็นตัวเชื่อมอุปกรณ์ที่นำมาทำพิธีการปักเฉลว มีความรู้สึกถึงความสวยงาม น่าเชื่อถือ และเรียบง่ายตามวิถีของสโลว์ทาวน์ สีเหลือง มีความหมายถึงเป็นสีของฝ่ายผูกแขนและดินสอพองที่เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ในการนำมาทำพิธีปักเฉลวมีความรู้สึกถึงความอุดมสมบูรณ์และเรียบง่ายตามวิถีของสโลว์ทาวน์ การใช้รูปร่างในการออกแบบผู้วิจัยได้เลือกนำรูปร่างของเฉลว แบบ 5 มุม |
รายละเอียด: | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)-- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12772 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 166.22 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น