กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12769
ชื่อเรื่อง: เป็น อยู่ คือ ในโลกเดียวกัน ศิลปวิจัยวิจัยการเปิดเผยตนในพื้นที่สาธารณะเมือง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Being in the world we shre” n rtistic reserch on selfdisclosure in the urbn public spce
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ไพโรจน์ ชมุนี
สุชาติ เถาทอง
ฝอยฝน ชัยมงคล
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ
จิตวิทยาสิ่งแวดล้อม
Humanities and Social Sciences
วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
การเปิดเผยตนเอง
ศิลปะ -- วิจัย
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้เป็นความพยายามสร้างสิ่งที่เป็นได้ทั้งงานศิลปะและงานวิจัยเพื่อเปีนหลักฐานในการพิสูจน์ว่าพื้นที่สาธารณะที่แท้จริงสามารถส่งเสริมให้คนแปลกหน้ามีโอกาสพบปะกับฉับมิตรและไว้วางใจกัน วัตถุประสงค์ของการศึกษา คือ เพื่อทำความเข้าใจลักษณะทางกายภาพของความเป็นสาธารณะแล้วพัฒนาแบบถอดรหัสความเป็นสารารณะในพื้นที่ เพื่อสำรวจและถอดรหัสพื้นที่สาธารณะเมือง เพื่อทำการทดลองภาคสนามโดยใช้เวลาเขียนภาพในพื้นที่สาธารณะเมืองและศึกษาการเปีดเผยตนโดยผู้เข้าร่วมการทดลองที่พบในแต่ละพื้นที่ เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างคู่ความเป็นสาธารณะกับจำนวนผู้เข้าร่วมการทคลองแต่ละขั้นและคู่เฉลี่ยความลึกของการเปิดเผยตนในพื้นที่แต่ละแห่ง และเพื่อฉายภาพความเป็นไปได้ที่งานวิจัยและงานศิลปะสามารถเป็นสิ่งเดียวกันได้ในบางโอกาสและยังพอมีความหวังที่มนุษย์จะอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข ระเบียบวิธีที่ใช้เป็นแบบผสมระหว่างการวิเคราะห์เนื้อหาโดยตรงกับการพัฒนาแบบร่างกระบวนการวิจัยและกรทดลองภาคสนามโดยเขียนภาพและวาดภาพในพื้นที่ที่มีค่าความเป็นสาธารณะสูงสุดและต่ำสุด จากกรุงเทพฯ ไทเป และสิงคโปร์ เป็นเวลารวม 96 ชั่วโมง ข้อมูลจากการทดลองภาคสนามจะถูกวิเคราะห์ทั้งเชิงปริมาณ คุณภาพ และสร้างสรรค์ ผลการทดลองพบว่า มีความสัมพันธ์เชิงบวกระดับปานกลางระหว่างคู่ความเป็นสาธารณะและจำนวนผู้ที่ปรากฎเข้าร่วมการทดลองโดยหยุดดูยิ้มทัก และพูดคุยกับผู้วิจัย และเมื่อปรับค่าความเป็นสาธารณะ โดยคำนวณรวมความเข้าใจภาษาที่สื่อสารกับสภาพอากาศ และวันในสัปดาห์ พบว่า มีความสัมพันธ์เชิงบวกระดับปานกลางระหว่างคู่ความเป็นสารารณะที่ปรับแล้วกับจำนวนผู้ที่หยุดดู พูดคุย เป็นแบบ และยอมให้ข้อมูลติดต่อ และยังพบความสัมพันธ์เชิงบวกระดับสูงระหว่างค่ำความเป็นสาธารณะที่ปรับแล้วและจำนวนผู้เข้าร่วมการทดลองที่ยิ้มทักและเล่าเรื่องส่วนตัวให้ฟังระหว่างเป็นแบบ ตลอดจบมีความสัมพันธ์เชิงบวกระดับปานกลางระหว่างค่ำความเป็นสาธารณะที่ปรับแล้วและค่าเฉลี่ยความลึกการเปิดเผยตนในแต่ละพื้นที่ อย่างไรก็ตาม ไม่พบว่ามีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญระหว่างค่าความเป็นสาธารณะและความลึกของการเปิดเผยตน ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าพื้นที่สาธารณะดึงดูดผู้คนเข้าหากันได้จริง แต่การที่พื้นที่สาธารณะจะทำงานได้เต็มศักยภาพนั้นต้องอาศัยบริบทด้านสถานการณ์ที่เหมาะสมด้วย การศึกษานี้อาจเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจสำหรับหน่วยงานรัฐที่ดูแลเมืองหรือนักลงทุนในการสร้างสรรค์พื้นที่ สาธารณะ นอกจากนี้ยังอาจเป็นประโยชน์สำหรับนักวิจัยหรือศิลปินที่มุ่งพัฒนาโครงการที่อาจเป็นได้ทั้ง งานศิลปะและงานวิจัยในเวลาเดียวกัน
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12769
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf239.87 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น