กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12751
ชื่อเรื่อง: การสร้างมูลค่าเพิ่มในการส่งออกมังคุดไทยไปยังประเทศจีน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Vlue dded to export of mngosteens from Thilnd to Chin
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชำนาญ งามมณีอุดม
กนกรัตน์ คำรอด
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์
คำสำคัญ: มังคุด -- การส่งออก
Humanities and Social Sciences
มังคุด -- การตลาด
ไทย -- การค้ากับต่างประเทศ -- จีน
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการธุรกิจโลก
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ถึงกิจกรรมห่วงโซ่คุณค่าในการส่งออกมังคุดไทยไปยังประเทศจีนและเพื่อแนะนำแนวทางการเพิ่มมูลค่าในการส่งออกมังคุดไทยไปยังประเทศจีน วิธีการดำเนินการวิจัยแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitaive rescarch) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่างแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มประกอบด้วย 1) กลุ่มตัวอย่างในประเทศไทยจังหวัดจันทบุรี ได้แก่ ล้งมังคุดที่รับซื้อผลผลิตจากชาวสวน ผู้ประกอบการรวบรวมและคัดบรรจุและตัวแทนผู้ส่งออกมังคุดไปประเทศจีน 2) กลุ่มตัวอย่างในประเทศจีน เมืองคุณหมิง ได้แก่ ผู้นำเข้าและผู้ค้าส่งมังคุดในประเทศจีน และผู้จัดการ/ บริหารสินค้าปลีกผลไม้ในประเทศจีน ผลการวิจัยพบว่า ห่วงโซ่คุณค่าในการส่งออกมังคุดไทยไปยังประเทศจีนทุกองค์ประกอบในห่วงโซ่คุณค่ามีความเชื่อมโยงกับหมดในทุกขั้นตอน จะต้องให้ความสำคัญในการดำเนินงานในแต่ละกิจกรรมไม่ว่าจะเป็นการรับซื้อผลผลิตจากชาวสวน การคัดแยกประเภท การส่งขายไปขังผู้รวมรวบคัดบรรจุ กระบวนการดบรรจุ การส่งของไปขายยังประเทศจีน การกระจายสินค้าขายส่งและขายปลีกในประเทศจีน ความสำคัญในทุกขั้นตอน คือ เรื่องของคุณภาพสินค้า ต้องมีคุณภาพดีตรงตามมาตรฐานที่ตลาดต้องการ ราคาและปริมาณในการซื้อขายมีความสัมพันธ์กันกับอุปสงค์และอุปทานของตลาด รวมไปถึงช่วงฤดูกาล เทศกาล และความต้องการของสินค้าที่ปลายทาง ผู้ที่ถือครองมูลค่าเพิ่มในห่วงโซ่คุณค่าของการส่งออกมังคุดมากที่สุด คือ ผู้ส่งออกมังคุด ไปประเทศจีน นอกจากจะมีอำนาจต่อรองในการกำหนดราคาขายที่ปลายทางแล้วนั้น ยังเป็นผู้ กำหนดราคารับซื้อในประเทศไทยด้วย หากผู้ประกอบการคัดบรรจุคนไทยสามารถที่จะส่งมังคุด ออกไปขายยังตลาดประเทศจีนได้ จะทำให้ลดขั้นตอนของห่วงโซ่คุณค่าลง และจะได้มูลค่าเพิ่มจาก การส่งออกเองด้วย การส่งออกไปขังตลาดประเทศจีนเพียงอย่างเดียวอาจเป็นการสูญเสียมูลค่าที่จะ เพิ่มขึ้นได้ หากมีการหาตลาดเพื่อการส่งออกมังคุดไปขายยังต่างประเทศแห่งใหม่ เช่น ประเทศ ได้หวัน ประเทศอินเดีย เพิ่มขึ้นได้นั้น ก็จะเป็นช่องทางในการกระจายสินค้าได้เพิ่มมากขึ้นและ ราคาสินค้าก็จะดีขึ้น
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (บธ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12751
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
55710023.pdf3.7 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น