กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12736
ชื่อเรื่อง: รูปแบบแนวทางบริหารผู้มีศักยภาพสูงที่มีผลต่อการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Tlent mngement lignment ffect to Stock Exchnge of Business Performnce of Public Compny Thilnd
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศรัณยา เลิศพุทธรักษ์
ธัชชพันธ์ ศิริเวช
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์
คำสำคัญ: Humanities and Social Sciences
วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพัฒนาองค์การและการจัดการสมรรถนะของมนุษย์
ความสามารถทางการบริหาร
ตลาดหลักทรัพย์ -- การบริหาร
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มุ่งพัฒนารูปแบบแนวทางบริหารผู้มีศักยภาพสูง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา องค์ประกอบสำคัญของรูปแบบแนวทางบริหารและวิเคราะห์คุณลกัษณะที่มีอิทธิพลต่อผลดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพของกลุ่มบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทั้งนี้การวิจัยแบบผสมวิธีโดยกำหนดประชากรที่ใช้ศึกษาเป็นผู้บริหารสายงานธุรกิจของกลุ่มบริษัท มีองค์ประกอบเชิงประจักษ์ จำนวน 58 องค์ประกอบ แบ่งเป็นการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 9 ท่าน และสำรวจข้อมูล จำนวน 929 ตัวอย่าง นำผลที่ได้ไปวิจัยสนทนาเชิงกลุ่มผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 9 บริษัท นำผลใช้วิเคราะห์ยืนยันสมการเชิงโครงสร้าง ผลการวิจัยแนวทางบริหารผู้มีศักยภาพสูงมีองคป์ระกอบสำคัญเกี่ยวกับมุมมองการบริหาร กระบวนการบริหารประเมินผลการบริหาร และกระจายความเสี่ยงในการบริหาร มีอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมต่อผลการดำเนินงานขององค์การธุรกิจรวมทั้งมีอิทธิพลแทรกซ้อนจากองค์ประกอบการประเมินศักยภาพสูงและองคป์ระกอบการประเมินผลการปฏิบัติงาน ทำให้โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในรูปแบบสมการเชิงโครงสร้างองค์ประกอบ พิจารณาค่าความสอดคล้องดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.995 และค่า RMASEA เท่ากับ 0.004 เป็นผลจากค่าสถิติไคสแควร์ต่อองศาอิสระมีค่า เท่ากับ .978 และค่าระดับนัยสำคัญทางสถิติเท่ากับ 0.495 มากกว่าที่กำหนดไว้ระดับ 0.05 จากผลการสัมภาษณ์ผู้บริหารส่วนใหญ่ให้ความสำคัญมากกว่าร้อยละ 66 กับรูปแบบการบริหารผู้มีศักยภาพสูง เนื่องจากขาดความชัดเจนต่อมุมมองการยอมรับความสำเร็จที่มีต่อกระบวนการบริหารการผลักดันให้เกิดผลเชิงรูปธรรมในการประเมิน และกระจายความเสี่ยงรองรับการแข่งขันทั้งนี้กลุ่มผู้บริหารอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ให้ความสำคัญกับแนวทางบริหารผู้มีศักยภาพสูงโดยวิธีการจำแนกกลุ่มกำหนดกระบวนการบริหาร ได้แก่ กลุ่มผู้มีผลการปฏิบัติงานดีกลุ่มผู้มีผลการปฏิบัติงานสูงกลุ่มผู้มีผลสัมฤทธิ์กลุ่มผู้มีศักยภาพสูงและประเมินระดับ ความสำคัญเป้าหมาย 5 ระดับ สรุปผลการวิจัยองค์ประกอบแนวทางบริหารผู้มีศักยภาพสูงมีอิทธิพลทางตรงต่อผลการดำเนินงานองค์การและมีอิทธิพลทางอ้อมผ่านการประเมินศักยภาพสูงและผลปฏิบัติงานสูงที่มีผลต่อการดำเนินงานธุรกิจ มีความจำเป็นต่อการพัฒนาศักยภาพมุ่งเน้นการขีดความสามารถและจัดการพฤติกรรมบุคลากรให้เหมาะสมเพื่อความสำเร็จในเป้าหมายการเพิ่มศักยภาพด้านเติบโตและผลตอบแทนการลงทุนของธุรกิจและต้องกำหนดแนวทางให้สอดคล้องกับการแยกกลุ่มผู้มีศักยภาพสูง
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2558
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12736
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
53870143.pdf5.95 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น