กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12735
ชื่อเรื่อง: การจัดตั้งชุมชนไทยในเขตบริหารพิเศษฮ่องกง สาธารณรัฐประชาชนจีน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Estblishment of Thi town community in Hong Kong specil Administrtive Region of the People's Republic of Chin
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บรรพต วิรุณราช
อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก
สุทธิชัยพงษ์ วลัญช์อารยะ
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์
คำสำคัญ: Humanities and Social Sciences
วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพัฒนาองค์การและการจัดการสมรรถนะของมนุษย์
ชาวไทย -- ฮ่องกง
กลุ่มคน -- ฮ่องกง
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษาแนวทางจัดตั้งชุมชนชาวไทยในเขตบริหารพิเศษ ฮ่องกง สาธารณรัฐประชาชนจีนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน 2) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยในการจัดตั้งชุมชนไทยในเขตบริหารพิเศษฮ่องกง สาธารณรัฐประชาชนจีน แตกต่างกัน 3) เพื่อศึกษาลักษณะประชากรศาสตร์ที่มีแนวทางจัดตั้งชุมชนไทยในเขตบริหารพิเศษฮ่องกง สาธารณรัฐประชาชนจีน แตกต่างกัน และ 4) เพื่อสร้างแนวทางในการจัดตั้งชุมชนไทยในต่างแดน โดยใช้การวิจัยแบบผสานวิธี คือการออกแบบการวิจัยที่มีการดำเนินการวิจัยทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพแบบไปพร้อม ๆ กัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นชาวไทยที่ดำรงอยู่ในพื้นที่เกาลูน ตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป จำนวนกลุ่มตัวอย่างไม่ต่ำกว่า 50 คน สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ เป็นชาวไทยที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เกาลูน เขตบริหารพิเศษฮ่องกง สาธารณรัฐประชาชนจีน จำนวน 341 คน ผลการวิเคราะห์เชิงคุณภาพพบว่า มีปัจจัย 10 ปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการจัดตั้งชุมชนชาว ไทย ได้แก่ ปัจจัยด้านอาชีพมีการพัฒนาในด้านรายได้ของสมาชิกเกิดจากฮ่องกงมีสภาวะเศรษฐกิจที่เอื้ออำนวย ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมฮ่องกงมีการพัฒนาในด้านสาธารณูปโภคอย่างรวดเร็วเนื่องจากฮ่องกงเป็นเมืองที่มียุทธศาสตร์ทางการค้า ปัจจัยด้านขนาดของชุมชนมีการพัฒนาการทางด้านรายได้ของสมาชิกจึงความพยายามรวมตัวกันเพื่ออาศัยอยู่ในชุมชน ปัจจัยด้านความหนาแน่นของประชากร ฮ่องกงมีการจัดการผังเมืองใหม่จึงเกิดเป็นแหล่งชุมชนคนไทยในย่านเกาลูน ปัจจัยความต่างแบบหรือความเป็นแบบเดียวกันของประชากรมีการสร้างบรรยากาศเป็นเอกลักษณ์ไทยจนหลากหลายผู้คนได้รับรู้ปัจจัยด้านความแตกต่างทางสังคมและการแบ่งชั้นทางสังคมมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังลดความเหลื่อมล้าทางสังคมได้ปัจจัยด้านการเคลื่อนที่ทางสังคมคนไทยมีจุดมุ่งหมายมาเพื่อยกระดับรายได้ทั้งนี้เดินทางระหว่างไทยกับฮ่องกงมีความสะดวก ปัจจัยด้านระบบของการกระทำระหว่างกัน มีการรวมกลุ่มของสมาคมรวมไทยในการประสานกิจกรรมต่าง ๆ ทำให้สมาชิกในชุมชนเริ่มเห็นประโยชน์จากความร่วมมือนำไปสู่ปัจจัยด้านจิตสำนึกต่อสาธารณะของสมาชิกจึงได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐฮ่องกงเพื่อช่วยเหลือคนไทยและปัจจัยด้านสวัสดิการของภาครัฐคนไทยคำนึงถึงประโยชน์จากการได้รับสิทธิต่าง ๆ มีความพยายามต้องวีซ่าถาวรเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของตน ผลการวิเคราะห์เชิงปริมาณพบว่า ระดับปัจจัยการจัดตั้งชุมชนชาวไทยในเขตบริหารพิเศษ ฮ่องกง สาธารณรัฐประชาชนจีน มีปัจจัย 9 ปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการจัดตั้งชุมชนชาวไทยอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ปัจจัยด้านอาชีพ ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ปัจจัยด้านขนาดของชุมชน ปัจจัยด้านความหนาแน่นของประชากร ปัจจัยด้านความต่างแบบกัน หรือความเป็นแบบเดียวกัน ปัจจัยด้านความแตกต่างทางสังคมและการแบ่งชั้นทางสังคม ปัจจัยด้านการเคลื่อนที่ทางสังคม ปัจจัยด้านระบบของการกระทำระหว่างกัน และปัจจัยด้านจิตสำนึกต่อสาธารณะของสมาชิกในการจัดตั้งชุมชนชาวไทยในเขต บริหารพิเศษฮ่องกงอยู่ในระดับมาก นอกจากนี้ลักษณะประชากรศาสตร์มีปัจจัยในการจัดตั้งชุมชนไทยในเขตบริหารพิเศษฮ่องกง สาธารณรัฐประชาชนจีน พบว่า อายุและอาชีพมีปัจจัยในการจัดตั้งชุมชนไทยในเขตบริหารพิเศษฮ่องกง สาธารณรัฐประชาชนจีน แตกต่างกัน ส่วนเพศระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือนและระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในฮ่องกง มีปัจจัยในการจัดตั้งชุมชนไทยในเขตบริหารพิเศษ ฮ่องกง สาธารณรัฐประชาชนจีน ไม่แตกต่างกัน จากผลการวิจัยนำไปกำหนดแนวทางและพัฒนาส่งเสริมให้ชุมชนคนไทยให้มีความแข็งแกร่งและเติบโตขึ้น โดยผ่านการผสานความร่วมมือทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านสมาชิกในชุมชน ภาครัฐ ฮ่องกงและภาครัฐไทยในการกำหนดแนวทางในการพัฒนาชุมชนเพื่อยกระดับเศรษฐกิจและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งนี้ชุมชนคนไทยในต่างแดนต้อง คำนึงถึงผู้ มีส่วนได้ส่วนเสียด้วยและสร้างการยอมรับให้เกิดขึ้น เพื่อศักยภาพในการจัดตั้งชุมชนคนไทยในต่างแดนทำให้การเจรจาของสถานกงสุลประเทศไทยที่ประจำ อยู่ในเมืองมีความราบรื่น ทั้งแง่ของวัตถุประสงค์และประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดตั้งชุมชนขึ้นมา
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2558
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12735
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
52870328.pdf3.98 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น