กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12735
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorบรรพต วิรุณราช
dc.contributor.advisorอาจารย์ที่ปรึกษาหลัก
dc.contributor.authorสุทธิชัยพงษ์ วลัญช์อารยะ
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์
dc.date.accessioned2024-02-05T06:29:14Z
dc.date.available2024-02-05T06:29:14Z
dc.date.issued2558
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12735
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2558
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษาแนวทางจัดตั้งชุมชนชาวไทยในเขตบริหารพิเศษ ฮ่องกง สาธารณรัฐประชาชนจีนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน 2) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยในการจัดตั้งชุมชนไทยในเขตบริหารพิเศษฮ่องกง สาธารณรัฐประชาชนจีน แตกต่างกัน 3) เพื่อศึกษาลักษณะประชากรศาสตร์ที่มีแนวทางจัดตั้งชุมชนไทยในเขตบริหารพิเศษฮ่องกง สาธารณรัฐประชาชนจีน แตกต่างกัน และ 4) เพื่อสร้างแนวทางในการจัดตั้งชุมชนไทยในต่างแดน โดยใช้การวิจัยแบบผสานวิธี คือการออกแบบการวิจัยที่มีการดำเนินการวิจัยทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพแบบไปพร้อม ๆ กัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นชาวไทยที่ดำรงอยู่ในพื้นที่เกาลูน ตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป จำนวนกลุ่มตัวอย่างไม่ต่ำกว่า 50 คน สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ เป็นชาวไทยที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เกาลูน เขตบริหารพิเศษฮ่องกง สาธารณรัฐประชาชนจีน จำนวน 341 คน ผลการวิเคราะห์เชิงคุณภาพพบว่า มีปัจจัย 10 ปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการจัดตั้งชุมชนชาว ไทย ได้แก่ ปัจจัยด้านอาชีพมีการพัฒนาในด้านรายได้ของสมาชิกเกิดจากฮ่องกงมีสภาวะเศรษฐกิจที่เอื้ออำนวย ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมฮ่องกงมีการพัฒนาในด้านสาธารณูปโภคอย่างรวดเร็วเนื่องจากฮ่องกงเป็นเมืองที่มียุทธศาสตร์ทางการค้า ปัจจัยด้านขนาดของชุมชนมีการพัฒนาการทางด้านรายได้ของสมาชิกจึงความพยายามรวมตัวกันเพื่ออาศัยอยู่ในชุมชน ปัจจัยด้านความหนาแน่นของประชากร ฮ่องกงมีการจัดการผังเมืองใหม่จึงเกิดเป็นแหล่งชุมชนคนไทยในย่านเกาลูน ปัจจัยความต่างแบบหรือความเป็นแบบเดียวกันของประชากรมีการสร้างบรรยากาศเป็นเอกลักษณ์ไทยจนหลากหลายผู้คนได้รับรู้ปัจจัยด้านความแตกต่างทางสังคมและการแบ่งชั้นทางสังคมมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังลดความเหลื่อมล้าทางสังคมได้ปัจจัยด้านการเคลื่อนที่ทางสังคมคนไทยมีจุดมุ่งหมายมาเพื่อยกระดับรายได้ทั้งนี้เดินทางระหว่างไทยกับฮ่องกงมีความสะดวก ปัจจัยด้านระบบของการกระทำระหว่างกัน มีการรวมกลุ่มของสมาคมรวมไทยในการประสานกิจกรรมต่าง ๆ ทำให้สมาชิกในชุมชนเริ่มเห็นประโยชน์จากความร่วมมือนำไปสู่ปัจจัยด้านจิตสำนึกต่อสาธารณะของสมาชิกจึงได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐฮ่องกงเพื่อช่วยเหลือคนไทยและปัจจัยด้านสวัสดิการของภาครัฐคนไทยคำนึงถึงประโยชน์จากการได้รับสิทธิต่าง ๆ มีความพยายามต้องวีซ่าถาวรเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของตน ผลการวิเคราะห์เชิงปริมาณพบว่า ระดับปัจจัยการจัดตั้งชุมชนชาวไทยในเขตบริหารพิเศษ ฮ่องกง สาธารณรัฐประชาชนจีน มีปัจจัย 9 ปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการจัดตั้งชุมชนชาวไทยอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ปัจจัยด้านอาชีพ ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ปัจจัยด้านขนาดของชุมชน ปัจจัยด้านความหนาแน่นของประชากร ปัจจัยด้านความต่างแบบกัน หรือความเป็นแบบเดียวกัน ปัจจัยด้านความแตกต่างทางสังคมและการแบ่งชั้นทางสังคม ปัจจัยด้านการเคลื่อนที่ทางสังคม ปัจจัยด้านระบบของการกระทำระหว่างกัน และปัจจัยด้านจิตสำนึกต่อสาธารณะของสมาชิกในการจัดตั้งชุมชนชาวไทยในเขต บริหารพิเศษฮ่องกงอยู่ในระดับมาก นอกจากนี้ลักษณะประชากรศาสตร์มีปัจจัยในการจัดตั้งชุมชนไทยในเขตบริหารพิเศษฮ่องกง สาธารณรัฐประชาชนจีน พบว่า อายุและอาชีพมีปัจจัยในการจัดตั้งชุมชนไทยในเขตบริหารพิเศษฮ่องกง สาธารณรัฐประชาชนจีน แตกต่างกัน ส่วนเพศระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือนและระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในฮ่องกง มีปัจจัยในการจัดตั้งชุมชนไทยในเขตบริหารพิเศษ ฮ่องกง สาธารณรัฐประชาชนจีน ไม่แตกต่างกัน จากผลการวิจัยนำไปกำหนดแนวทางและพัฒนาส่งเสริมให้ชุมชนคนไทยให้มีความแข็งแกร่งและเติบโตขึ้น โดยผ่านการผสานความร่วมมือทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านสมาชิกในชุมชน ภาครัฐ ฮ่องกงและภาครัฐไทยในการกำหนดแนวทางในการพัฒนาชุมชนเพื่อยกระดับเศรษฐกิจและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งนี้ชุมชนคนไทยในต่างแดนต้อง คำนึงถึงผู้ มีส่วนได้ส่วนเสียด้วยและสร้างการยอมรับให้เกิดขึ้น เพื่อศักยภาพในการจัดตั้งชุมชนคนไทยในต่างแดนทำให้การเจรจาของสถานกงสุลประเทศไทยที่ประจำ อยู่ในเมืองมีความราบรื่น ทั้งแง่ของวัตถุประสงค์และประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดตั้งชุมชนขึ้นมา
dc.language.isoth
dc.publisherวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectHumanities and Social Sciences
dc.subjectวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพัฒนาองค์การและการจัดการสมรรถนะของมนุษย์
dc.subjectชาวไทย -- ฮ่องกง
dc.subjectกลุ่มคน -- ฮ่องกง
dc.titleการจัดตั้งชุมชนไทยในเขตบริหารพิเศษฮ่องกง สาธารณรัฐประชาชนจีน
dc.title.alternativeEstblishment of Thi town community in Hong Kong specil Administrtive Region of the People's Republic of Chin
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe research has the following objectives: 1) To study from past to present establishment of Thai Town Community in Hong Kong Special Administrative Region of the People's Republic of China. 2) To study the level factors different of Thai Town Community in Hong Kong Special Administrative Region of the People's Republic of China. 3) To study demographic difference with guidelines established of Thai Town Community in Hong Kong Special Administrative Region of the People's Republic of China difference. 4) To establish guidelines for the establishment of a Thai community abroad. The research mix methods design that has carried out research both quantitative and qualitative to simultaneously. The samples used qualitative research Thai people existed area of Kowloon over 10 years. The sample not less than 50 people for the sample quantitative research studies Thai people was living in Kowloon total 341 peoples. The qualitative analysis found that the 10 factors that are important to forming a Thailand community. Factors include professional development income the members of Hong Kong economic conditions are favorable. The environmental factor has rapidly developed in the utilities because Hong Kong is a trade strategic. Factor of the community size development of the income of the member had gathered to efforts to live in the community. Factor of population density of Hong Kong the new town planning management became a Thailand community in Kowloon. Factor various or the same as the population has created a unique environment of Thailand until people get to know. Factor differences and social stratification with law enforcement seriously reduce social inequality. The factors social mobility of Thai people is intended to elevating their income the travel between Thailand and Hong Kong is convenient. Factor system of interaction with the integration Thailand Association to coordinate activities community members began to realize the benefits of collaboration leads to public awareness of factors have supported from Hong Kong government to support Thai people. The factor welfare of the public sector Thai people regard of obtaining the rights an efforts to visa permanently to their quality of life. The quantitative analysis found the factors established of Thai Town Community in Hong Kong Special Administrative Region of the People's Republic of China has 9 factors that are critical high level to establishment is Career factor/ The environmental factor/ Size of the community factor/ Population density factor/ Various or the same factor/ Social differences and social Stratification factor/ Social mobility factor/ Systems of interaction factor/ Public awareness factors in the establishment of Thai community in Hong Kong a high level. In addition demographic factors found that age and occupation Thai communities established different. As a result established of Thai Town Community in Hong Kong Special Administrative Region of the People's Republic of China factor no difference. Based on findings leading to guidelines promote and development Thai community is a strong and growing cooperation 3 sides. 1) Members of the community 2) Hong Kong government 3) Thailand government to determine guidelines for development community to improve the economy and international relations both directly and indirectly. The Thai abroad community considers the stakeholders and create considered to occur for potential established Thai abroad community making the deal of the consulate of Thailand in the city are seamless. Both the objective and benefit from the established community. This research can be further developed and perfected detail even further of established Thai abroad communities.
dc.degree.levelปริญญาเอก
dc.degree.disciplineการพัฒนาองค์การและการจัดการสมรรถนะของมนุษย์
dc.degree.nameปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
52870328.pdf3.98 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น