กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12734
ชื่อเรื่อง: | ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยภายในบริษัทกับการถือเงินสดของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Reltionship between internl orgniztion fctors nd csh holding of compnies registered in the stock exchnged of Thilnd |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ยอดยิ่ง ธนทวี พีรภัทร ลีลาชัยภัทร มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ |
คำสำคัญ: | Humanities and Social Sciences บริษัทมหาชน -- การบริหาร มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สำหรับผู้บริหาร การจัดการเงินสด |
วันที่เผยแพร่: | 2558 |
สำนักพิมพ์: | วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของปัจจัยภายในบริษัทต่อการถือเงินสดของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มีการจดทะเบียนภายในปี พ.ศ. 2554 รวมทั้งสิ้น 383 บริษัท ประกอบด้วย 7 กลุ่มธุรกิจรวมทั้งสิ้น 1,141 ข้อมูล โดยไม่รวมถึงกลุ่มธุรกิจการเงิน ได้แก่ กลุ่มธนาคาร กลุ่มเงินทุนและหลักทรัพย์ กลุ่มประกันภัยและประกันชีวิต และไม่รวมถึงบริษัทจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ โดยใช้การเก็บข้อมูลย้อนหลังจากข้อมูล งบการเงินของแต่ละบริษัทและเนื่องจากมีระยะเวลาในการทำการวิจัยที่จำกัด ทำให้ผู้วิจัยเก็บข้อมูลย้อนหลังจากข้อมูลงบการเงินของแต่ละบริษัทเป็นระยะเวลาเพียง 3 ปีเท่านั้น คือ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2555 ถึง พ.ศ. 2557 ซึ่งใช้การวิเคราะห์ทางสถิติ2 ส่วน ด้วยกัน ได้แก่ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) และการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงอนุมาน (Inferential statistics) ซึ่งในส่วนของการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงอนุมานนั้นได้ทำการวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์ของตัวแปร วิเคราะห์ความแตกต่างของการถือเงินสดของ 2 กลุ่มข้อมูลตัวอย่าง จำแนกตามตัวแปรอิสระที่แบ่งโดยค่าเฉลี่ยของตัวแปรนั้น ๆ โดยการทดสอบค่าเฉลี่ยแบบ 2 กลุ่มตัวอย่าง (Independent sample t-test) และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยภายในบริษัทกับการถือครอง เงินสดโดยการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple regression analysis) ผลจากการศึกษาพบว่า ตัวแปรปัจจัยภายในบริษัทที่มีผลการทบต่อการถือเงิน (Cash holding) ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 ได้แก่ ขนาดของธุรกิจ (Size) เงินทุนหมุนเวียน (Networking capital: NWC) รายจ่ายลงทุน (Capital expenditure: CAPEX) และการใช้ประโยชน์จากหนี้สิน (Leverage: LEV) โดยที่ตัวแปรที่มีความความพันธ์กับการถือเงินสดในทิศทางบวก ได้แก่ ขนาดของธุรกิจ (Size) ส่วนตัวแปรมีความสัมพันธ์กับการถือเงินสดในทิศทางลบ ได้แก่ เงินทุนหมุนเวียน (Networking capital: NWC) รายจ่ายลงทุน (Capital expenditure: CAPEX) และการใช้ประโยชน์จากหนี้สิน (Leverage: LEV) |
รายละเอียด: | งานนิพนธ์ (บธ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2558 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12734 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
56710171.pdf | 3.56 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น