กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12708
ชื่อเรื่อง: โมเดลการบริหารจัดการคนเก่งคนดีของสถานประกอบการอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The tlent mngement model in electricl nd electronics industry compnies
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พรรัตน์ แสดงหาญ
อภิญญา อิงอาจ
อรุณวดี นันทวัฒนานุกูล
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะการจัดการและการท่องเที่ยว
คำสำคัญ: การบริหารงานบุคคล
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์
Humanities and Social Sciences
อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ -- การบริหารงานบุคคล
สถานประกอบการ
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการคนเก่ง คนดีของสถานประกอบการต้นแบบในด้านการบริหารจัดการคนเก่ง คนดี และพัฒนาโมเดลการบริหารจัดการคนเก่ง คนดีของสถานประกอบการอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ใช้วิธีการวิจัยแบบผสม โดยออกแบบการวิจัยแบบเชิงสำรวจเป็นสำดับ เริ่มต้นจากวิธีการเชิงคุณภาพด้วยการใช้วิธีสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการคนเก่ง คนดีของสถานประกอบการต้นแบบ จากการเลือกตัวอย่างแบบจงใจด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบการเคลื่อนของก้อนหิมะหรือห่วงโซ่ แล้วนำผลที่ได้มาสร้างโมเดลการบริหารจัดการคนเก่ง คนดีของสถานประกอบการอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์จากนั้นจึงใช้การวิจัยเชิงปริมาณสำรวจความคิดเห็นที่มีต่อโมเดลดังกล่าวจากผู้รับผิดชอบงานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลของสถานประกอบการอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ นิคม อุตสาหกรรมในแถบชายฝั่งทะเลตะวันออก แล้วนำผลจากการวิจัยทั้งสองวิธีมาวิเคราะห์ร่วมกัน ซึ่ง พบว่า ผลการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณมีความสอดคล้องกัน ผู้ตอบแบบสอบถามเห็นด้วยกับ โมเดลการบริหารจัดการคนเก่ง คนคีของสถานประกอบการอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเด็กทรอนิกส์ กล่าวคือ สรรหาคนเก่ง คนดีจากภายในด้วยวิธีการพิจารณาจากบัญชีรายชื่อ กลุ่มผู้สืบทอดตำแหน่ง และการเสนอชื่อจากผู้บังคับบัญชา คัดเลือกคนเก่ง คนดี โดยพิจารณาจากทัศนคติ ภาวะผู้นำ ผลการ ปฏิบัติงาน ศักยภาพ และตำแหน่ง ซึ่งคนเก่ง คนดีควรได้รับการพัฒนาเป็นกรณีพิเศษ โดยวิธีการ พัฒนามีหลายวิธี ได้แก่ การฝึกอบรมหลักสูตรเฉพาะทาง การติดตามผู้บริหาร การหมุนเวียนงาน การเรียนรู้และพัฒนาตนเอง การสอนงานในระบบพี่เลี้ยง การเปิดโอกาสให้เรียนรู้งานจาก ผู้เชี่ยวชาญ ตลอดจนการมอบหมายงานพิเศษ สำหรับวิธีจูงใจและชำรงรักษา ทำได้โดยการ มอบหมายงานที่ท้าทาย การสร้างความสัมพันธ์ที่ดี การสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี การ สร้างบรรยากาศการทำงานแบบอิสระและยืดหยุ่น การให้โอกาสได้เข้าร่วมกิจกรรม การให้รางวัล การให้โอกาสในการพัฒนา และการสร้างความก้าวหน้าในสายอาชีพ ตลอดจนควรมีการให้ ผลตอบแทนพิเศษ การปรับคำตอบแทนตามการเลื่อนตำแหน่งและผลการปฏิบัติงาน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กจ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2558
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12708
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf4.75 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น