กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12693
ชื่อเรื่อง: แนวทางการออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกสาธารณะสำหรับอำเภอเมืองชลบุรี : การศึกษาเปรียบเทียบกับการออกแบบมหานครอินชอน สาธารณรัฐเกาหลี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: การศึกษาเปรียบเทียบกับการออกแบบมหานครอินชอน สาธารณรัฐเกาหลี,The public fcility design guideline of meung chon buri district: comprtvie study on urbn design of incheon metropolitn city, republic of kore
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เทพศักดิ์ ทองนพคุณ
อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก
Sungh Kim
อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม
ซอ, มิยอง
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์.
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ
การออกแบบภูมิทัศน์
วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อเสนอแนะความสําคัญของงานออกแบบสาธารณะเมือง ก่อนจะสร้างงานออกแบบที่มีลักษณะเฉพาะของท้องถิ่น และสะท้อนอัตลักษณ์ของอําเภอเมืองชลบุรี จากนั้นจึงเสนอแนะแนวทางการออกแบบสิ่งอํานวยความสะดวกสาธารณะทางสัญจร หลังจากหาข้อสรุปเกี่ยวกับอัตลักษณ์ท้องถิ่นของเมืองชลบุรีได้แล้ว สําหรับการศึกษาเบื้องต้นก่อนการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยได้เปรียบเทียบและวิเคราะห์แนวทางการออกแบบสาธารณะเมืองของกรณีศึกษาจากมหานครอินชอน สาธารณรัฐเกาหลี ซึ่งมีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์และโครงสร้างอุตสาหกรรมที่เปรียบเทียบได้อําเภอเมืองชลบุรี มหานครอินชอน ได้ประกาศผังเมืองพื้นฐานที่มุ่งไปสู่วิสัยทัศน์ในอนาคตที่จะเป็น “อินชอนน่าอยู่ เมืองสีเขียว ระดับโลก” แผนการนี้เริ่มขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 2006 และมีกําหนดเสร็จสิ้นในปี ค.ศ. 2025 มีเป้าหมายที่จะดําเนินการทั้งเมือง ผู้วิจัยได้ศึกษาและวิเคราะห์วิธีที่มหานครอินชอน ได้สร้างแนวทางการออกแบบสาธารณะเพื่อสะท้อนอัตลักษณ์ของเมืองและสร้างภูมิทัศน์เมืองอย่างบูรณาการและการที่ แนวทางการออกแบบสาธารณะได้ถูกนําไปใช้ในการติดตั้งสิ่งอํานวยความสะดวกสาธารณะทางสัญจรในเมือง จากผลการศึกษา แม้ผังเมืองพื้นฐานจะไม่ใช่วิธีการทางกฎหมายที่จะปรับปรุง สภาพแวดล้อมเมืองของมหานครอินชอน และเตรียมวิธีการบริหารจัดการสิ่งอํานวยความสะดวก สาธารณะที่มีประสิทธิภาพแต่ได้กําหนดเงื่อนไขของแผนพัฒนาระยะยาว รวมถึง แผนภูมิทัศน์เมือง พื้นฐานแนวทางการออกแบบเมืองสําหรับมหานครอินชอน แผนเบื้องต้นในการออกแบบ สาธารณะมหานครอินชอน ฯลฯ และข้อบังคับที่เกี่ยวกับการฟื้นฟูเมืองและการพัฒนาเมือง เช่น กฤษฎีกาการออกแบบภูมิทัศน์เมืองสําหรับมหานครอินชอน มาตรการต่าง ๆ เหล่านี้เกิดขึ้นด้วย แผนการพัฒนาเมืองที่เป็นระบบที่บูรณาการ ซึ่งสะท้อนอัตลักษณ์ที่มหานครอินชอน พยายามให้เกิดขึ้นภายใต้การบริหารของสํานักงานส่งเสริมการออกแบบเมืองฝ่ายบริหารภูมิทัศน์ขึ้นตรงกับรองนายกเทศมนตรี ผู้วิจัยได้ทําการศึกษาสถานะปัจจุบันของสิ่งอํานวยความสะดวกสาธารณะทางสัญจร และสํารวจเพื่อค้นหาอัตลักษณ์ท้องถิ่นของอําเภอเมืองชลบุรี และเสนอแนะความจําเป็นของงานออกแบบสาธารณะสําหรับอําเภอเมืองชลบุรี ศูนย์กลางของจังหวัดชลบุรี อันดับแรกในการสํารวจสถานะปัจจุบัน ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ สรุป ระบุปัจจัยการประเมินเพื่อสร้างตัวบ่งชี้การประเมิน ได้แก่ การใช้งานการบูรณาการความปลอดภัย การใช้งานได้ทุกคน ความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ความยั่งยืน และอัตลักษณ์ จากตัวบ่งชี้ที่ใช้ในการประเมินจากนั้นผู้วิจัยได้ทบทวนและวิเคราะห์สถานะปัจจุบันของสิ่งอํานวยความสะดวกสาธารณะเมืองชลบุรี จากผลการประเมินพบว่า สิ่งอํานวยความสะดวกสาธารณะของเมืองชลบุรีขาดการคํานึงถึงผู้สัญจรทางเท้า ทําให้น่ากังวล เรื่องความปลอดภัยในพื้นที่เดิน และจําเป็นต้องมีการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนแทนอย่างเร่งด่วน เนื่องจากสิ่งอํานวยความสะดวกเกิดความเสียหายและได้รับการดูแลไม่เพียงพอ ในทางกลับกันเป็นการยากที่จะหาเอกภาพระหว่างสิ่งอํานวยความสะดวกใหม่และเก่า และเห็นได้ง่ายว่า สิ่งอํานวยความสะดวกทางสัญจรส่วนใหญ่มีรูปลักษณ์แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับงบประมาณในช่วงเวลาที่ดําเนินการ นอกจากนี้ยังมีการตกแต่งมากเกินความจําเป็น และมีการติดตั้งโดยไม่ได้ระมัดระวัง ทําให้ไม่เหมาะสมกับบริบทของสิ่งแวดล้อมโดยรอบ ส่วนการสํารวจเพื่อค้นหาอัตลักษณ์เมืองชลบุรีนั้นมีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 452 คน จากการส่งแบบสํารวจ 500 ชุด ประกอบด้วยข้าราชการ เจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐของเทศบาล จํานวน 12 แห่ง ที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบนโยบายพัฒนาเมืองชลบุรี คณาจารย์และนิสิต มหาวิทยาลัยบูรพา จากผลการสํารวจพบว่า มากกว่าร้อยละ 50 ของผู้ตอบแบบสอบถามให้การประเมินสภาพแวดล้อม เมืองอุตสาหกรรมท้องถิ่น และสังคมท้องถิ่นในเชิงบวก จากผลการศึกษา สามารถระบุนิยามอัตลักษณ์ท้องถิ่นของเมืองชลบุรีได้ว่า “เมืองชายทะเล: เมืองท่องเที่ยวชายฝั่งที่อุดมสมบูรณ์” “ก้าวหน้า: เมืองอุตสาหกรรมร่วมสมัยที่เต็มไปด้วยพลวัตร” และ “หลากหลายทางวัฒนธรรม: เมืองมีชีวิตซึ่งขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรมร่วมสมัย ตลอดจนความต้องการของผู้คนในท้องถิ่น ต่างอยู่ร่วมกัน” จากผลการศึกษา ผู้วิจัยได้เสนอแนะแนวทางการออกแบบสิ่งอํานวยความสะดวกสําหรับเมืองชลบุรี ภายใต้เป้าหมายที่จะเป็น “ชลบุรี เมืองรื่นรมย์ เต็มไปด้วยปฏิสัมพันธ์ น่าอยู่” (Pleasant city+interactingcity+ want-to-live city= Mueang Chon Buri) นอกจากนี้ผู้วิจัยยังได้เสนอแนะ แนวทางการออกแบบโดยละเอียด สําหรับสิ่งอํานวยความสะดวก ภายใต้ยุทธศาสตร์การออกแบบ 7 ข้อ และหลักการออกแบบพื้นฐาน 6 ข้อ สิ่งอํานวยความสะดวกสาธารณะทางสัญจรสามารถแบ่งกลุ่มใหญ่ ๆ ได้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ สิ่งอํานวยความสะดวก สิ่งอํานวยความสะดวกสําหรับพื้นที่สีเขียว สิ่งอํานวยความสะดวกสําหรับการสัญจร และสิ่งอํานวยความสะดวกในส่วนเสริม ประเภทย่อย ๆ มีทั้งหมด 32 ชนิด และมีรายละเอียดแนวทางการออกแบบสําหรับสิ่งอํานวยความสะดวกแต่ละชนิด โดยระบุรายละเอียดรูปทรงวัสดุสีสัน และวิธีการติดตั้ง แนวทางการออกแบบสิ่งอํานวยความสะดวกสาธารณะทางสัญจรของเมืองชลบุรีจะช่วยให้องค์กรที่เกี่ยวข้องและบุคคลที่รับผิดชอบเข้าใจถึงงานออกแบบสาธารณะระดับเมืองได้ อย่างลึกซึ้งขึ้น และเล็งเห็นถึงความสําคัญ นอกจากนี้ หากมีการวางแผนโครงการที่เกี่ยวข้องกับงานออกแบบสาธารณะในจังหวัดอื่น ก็สามารถใช้แนวทางการออกแบบฉบับนี้เพื่อช่วยให้องค์กร และบุคคลที่รับผิดชอบสามารถตั้งแนวทางการออกแบบที่เฉพาะตัวของท้องถิ่นนั้น หรือเสนอแนะทิศทางการออกแบบสําหรับโครงการออกแบบสาธารณะในฐานะกรณีศึกษาที่เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยเสนอให้แนวทางการออกแบบนี้ช่วยให้เมืองชลบุรีดําเนินแผนพัฒนาเมืองได้อย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อให้เกิดอัตลักษณ์ท้องถิ่นที่บูรณาการและมีสุนทรียภาพ ตลอดจน ส่งเสริมการตลาดให้กับเมือง นอกจากนี้ ก่อนจะมีการวางแผนพัฒนาเมืองระยะยาวในอนาคต ผู้วิจัยเสนอให้มีองค์กรความร่วมมือซึ่งประกอบไปด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบสาธารณะของรัฐบาลท้องถิ่น ภาคเอกชน ผู้เชี่ยวชาญ และคณะที่ปรึกษาจากประชาชน ควรดําเนินการโดยการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นใหม่เพื่อร่วมจัดทําแผนการออกแบบสาธารณะเมืองที่มีความสอดคล้องกัน
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12693
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf24.2 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น