กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12691
ชื่อเรื่อง: | จริต อิสตรี : คุณค่า สัญญะ ในงานศิลปะเส้นผม |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Demenor, womn: vlue, sign the rt of hir |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุชาติ เถาทอง อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก เดชา วราชุน อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม ถนอมนวล เดชาคนีวงศ์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์. |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ ภาพวาดเส้น วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก ศิลปะ |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
สำนักพิมพ์: | คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเน้นการสร้างสรรค์อย่างเป็นขั้นตอน (Practice-based research) ศึกษา ค้นคว้าข้อมูลภาคเอกสาร และศึกษาผลงานศิลปิน ภาคสนาม มุ่งเน้นทําการวิเคราะห์ผลงานศิลปะของศิลปินหญิงร่วมสมัยที่ใช้เส้นผมเป็นสื่อทางศิลปะโดยใช้แนวความคิดของการสูญเสียความงามจากเส้นผม มีการสอดแทรกเชื่อมโยง แนวความคิด รูปแบบ รูปทรงทางสัญลักษณ์ทางสัญญะความหมายในงานศิลปะ โดยนําองค์ความรู้จากการศึกษา วิเคราะห์ผลงานของอิ่มหทัย สุวัฒนศิลป์ ทําให้ทราบถึง โครงสร้างและแนวความคิดขบวนการสร้างสรรค์ ความหมายจากการถอดรหัส ความหมาย และทฤษฎี อย่างมีเหตุผล จริตจึงเปรียบได้ดังรูปแบบทางความคิด บุคลิกพฤติกรรมที่ออกมาจากความเป็นตัวตนของศิลปินนําเข้าสู่ผลงานศิลปะ การใช้เส้นผมเป็นสื่อวัตถุ เพราะเส้นผมอาจมีส่วนสัมพันธ์ที่ซ่อนเร้นกับความหมายของความเป็นผู้หญิง ศิลปินจึงมักนําเอาเส้นผมมาเป็นวัสดุจําเพาะในการสร้างสรรค์ การรับรู้ทางอารมณ์ ความรู้สึกผ่านในรูปแบบ รูปทรง แนวความคิดในงานศิลปะร่วมสมัย โดยการใช้ เครื่องมือที่ผู้วิจัยใช้ในการเก็บข้อมูล กึ่งสัมภาษณ์แบบโครงสร้างและการใช้ทฤษฎีรูปทรง ทฤษฎีสัญญะวิทยา ทฤษฎีบุคลิกภาพ เข้ามาวิเคราะห์ผลงานสร้างสรรค์ภายใต้แนวคิด การสูญเสียความงามจากเส้นผม ผู้วิจัยได้นําการสูญเสียเส้นผมนํามาสร้างสรรค์ผลงานโดยนําประสบการณ์ และสิ่งที่สะเทือนใจจากการสูญเสียความงามจากเส้นผม ถ่ายทอดพลังอันซ่อนเร้นในจิตใจอันลึกซึ้ง ผลของการศึกษาข้อมูล และการทดลองสร้างสรรค์สรุปได้ว่า ค่าความจําเพาะของการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะอย่างมีปัจเจกลักษณ์ ทําให้วิเคราะห์ถึงขบวนการความคิด อันมีความละเอียดอ่อนทางด้านอารมณ์เข้ามาเชื่อมโยงด้านแนวความคิดเนื้อหาและวัสดุ ซึ่งถูกถ่ายทอดผ่านการกลั่นกรองทางความคิดของศิลปิน โดยแสดงรูปทรงที่นําเส้นผมมาสื่อสารในรูปแบบทางสัญญะ ผ่านขบวนการทางเทคนิคที่แตกต่างกันไป จึงทําให้เกิดความหมายทางสัญญะการตีความในงานสร้างสรรค์จากเส้นผมในมิติต่าง ๆ ถึงแม้ว่ารูปแบบผลงาน เนื้อหาแนวคิดมีความคล้ายคลึงกัน แต่ความหมายแอบแฝงภายในผลงานอย่างมีนัยยะ ประกอบเป็นชุดการสันนิษฐานการสร้างสรรค์ คือ (1) การตีความหมายรูปทรงกับแนวคิด (2) โครงสร้างส่วนประกอบทางแนวคิด (3) การถอดรหัส ความหมายทางสัญญะในงานศิลปะเส้นผม |
รายละเอียด: | ดุษฎีนิพนธ์(ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12691 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 22.78 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น