กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12691
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุชาติ เถาทอง | |
dc.contributor.advisor | อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก | |
dc.contributor.advisor | เดชา วราชุน | |
dc.contributor.advisor | อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม | |
dc.contributor.author | ถนอมนวล เดชาคนีวงศ์ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์. | |
dc.date.accessioned | 2024-01-25T08:56:28Z | |
dc.date.available | 2024-01-25T08:56:28Z | |
dc.date.issued | 2559 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12691 | |
dc.description | ดุษฎีนิพนธ์(ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559 | |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเน้นการสร้างสรรค์อย่างเป็นขั้นตอน (Practice-based research) ศึกษา ค้นคว้าข้อมูลภาคเอกสาร และศึกษาผลงานศิลปิน ภาคสนาม มุ่งเน้นทําการวิเคราะห์ผลงานศิลปะของศิลปินหญิงร่วมสมัยที่ใช้เส้นผมเป็นสื่อทางศิลปะโดยใช้แนวความคิดของการสูญเสียความงามจากเส้นผม มีการสอดแทรกเชื่อมโยง แนวความคิด รูปแบบ รูปทรงทางสัญลักษณ์ทางสัญญะความหมายในงานศิลปะ โดยนําองค์ความรู้จากการศึกษา วิเคราะห์ผลงานของอิ่มหทัย สุวัฒนศิลป์ ทําให้ทราบถึง โครงสร้างและแนวความคิดขบวนการสร้างสรรค์ ความหมายจากการถอดรหัส ความหมาย และทฤษฎี อย่างมีเหตุผล จริตจึงเปรียบได้ดังรูปแบบทางความคิด บุคลิกพฤติกรรมที่ออกมาจากความเป็นตัวตนของศิลปินนําเข้าสู่ผลงานศิลปะ การใช้เส้นผมเป็นสื่อวัตถุ เพราะเส้นผมอาจมีส่วนสัมพันธ์ที่ซ่อนเร้นกับความหมายของความเป็นผู้หญิง ศิลปินจึงมักนําเอาเส้นผมมาเป็นวัสดุจําเพาะในการสร้างสรรค์ การรับรู้ทางอารมณ์ ความรู้สึกผ่านในรูปแบบ รูปทรง แนวความคิดในงานศิลปะร่วมสมัย โดยการใช้ เครื่องมือที่ผู้วิจัยใช้ในการเก็บข้อมูล กึ่งสัมภาษณ์แบบโครงสร้างและการใช้ทฤษฎีรูปทรง ทฤษฎีสัญญะวิทยา ทฤษฎีบุคลิกภาพ เข้ามาวิเคราะห์ผลงานสร้างสรรค์ภายใต้แนวคิด การสูญเสียความงามจากเส้นผม ผู้วิจัยได้นําการสูญเสียเส้นผมนํามาสร้างสรรค์ผลงานโดยนําประสบการณ์ และสิ่งที่สะเทือนใจจากการสูญเสียความงามจากเส้นผม ถ่ายทอดพลังอันซ่อนเร้นในจิตใจอันลึกซึ้ง ผลของการศึกษาข้อมูล และการทดลองสร้างสรรค์สรุปได้ว่า ค่าความจําเพาะของการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะอย่างมีปัจเจกลักษณ์ ทําให้วิเคราะห์ถึงขบวนการความคิด อันมีความละเอียดอ่อนทางด้านอารมณ์เข้ามาเชื่อมโยงด้านแนวความคิดเนื้อหาและวัสดุ ซึ่งถูกถ่ายทอดผ่านการกลั่นกรองทางความคิดของศิลปิน โดยแสดงรูปทรงที่นําเส้นผมมาสื่อสารในรูปแบบทางสัญญะ ผ่านขบวนการทางเทคนิคที่แตกต่างกันไป จึงทําให้เกิดความหมายทางสัญญะการตีความในงานสร้างสรรค์จากเส้นผมในมิติต่าง ๆ ถึงแม้ว่ารูปแบบผลงาน เนื้อหาแนวคิดมีความคล้ายคลึงกัน แต่ความหมายแอบแฝงภายในผลงานอย่างมีนัยยะ ประกอบเป็นชุดการสันนิษฐานการสร้างสรรค์ คือ (1) การตีความหมายรูปทรงกับแนวคิด (2) โครงสร้างส่วนประกอบทางแนวคิด (3) การถอดรหัส ความหมายทางสัญญะในงานศิลปะเส้นผม | |
dc.language.iso | th | |
dc.language.iso | en | |
dc.publisher | คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ | |
dc.subject | ภาพวาดเส้น | |
dc.subject | วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก | |
dc.subject | ศิลปะ | |
dc.title | จริต อิสตรี : คุณค่า สัญญะ ในงานศิลปะเส้นผม | |
dc.title.alternative | Demenor, womn: vlue, sign the rt of hir | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | This study employed the approach of Practice - based Research, aiming to analyze the artworks of contemporary female artists who used hair as the medium of the arts inspired by the loss of the beauty of hair. The works have implied the concepts, patterns, symbolic forms in meaning of the artworks. The knowledge acquired from the studies and analyzing the artworks of Imhathai Suwathansilp had helped the understanding in structure and concept of thecreative process, decoded meaning, precise meaning as well as theories rationally. Demeanor was considered as pattern of thoughts, personal characteristics and behaviors conveyed through the artworks. Hair was used as material which could relate secretly to the meaning of feminine. The artist often made use of hair as the medium for creativity, emotional perception and feeling through patterns, forms, and concepts in contemporary art. The instruments for collecting data of this studies were semi-structuredinterview, theory of Formalist, Semiotics, and Personality as the framework for analyzing the artworks under the concept of the loss of the beauty of hair. Researcher utilized the loss of hair to create artworks through the concept experiencing the loss of the beauty of hair to express the hidden power in the deepened mind. The results of the studies and trial creations found that the creativity of artworks were performed individually. Such individuality described the creativity process which was vulnerable to connect with its concepts, subjectivity and materials. It was demonstrated from the artist’s considerate thinking by displaying forms that presented the hair to communicate semantically via different techniques. Consequently, the meaning, symbol, andinterpretation in the artworks took place in several dimensions. Although the pattern of artwork, the concept and the meaning were similar, there were hidden meanings within the artworks significantly which consisted of 3 assumptions: (1) Interpretation of forms and concept (2) The structure of concept’s component (3) Decoding the symbols of hair artworks. | |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | |
dc.degree.discipline | ทัศนศิลป์และการออกแบบ | |
dc.degree.name | ปริญญาดุษฎีมหาบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 22.78 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น