กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12649
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนาตัวบ่งชี้ความสุขในที่ทำงานของครูปฐมวัยในโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Developing workplce hppiness indictors of erly childhood techers in the school under Office of the Bsic Eduction Commission |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ธร สุนทรายุทธ ระพินทร์ ฉายวิมล ณฐาภรณ์ ซื่อมาก มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | Humanities and Social Sciences มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก การทำงาน -- แง่จิตวิทยา ครูปฐมวัย -- ความพอใจในการทำงาน ความสุข |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
สำนักพิมพ์: | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้ความสุขในที่ทำงานของครูปฐมวัย ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลการวัดตัวบ่งชี้ความสุขในที่ทำงานของครูปฐมวัย ที่พัฒนาขึ้นจากทฤษฎีกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) เพื่อสร้างเกณฑ์ปกติในการประเมินความสุขในที่ทำงานของครูปฐมวัยโดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสาน วิธีการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้ความสุขในที่ทำงานของครูปฐมวัย โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับครูปฐมวัย จำนวน 19 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา ส่วนระยะที่ 2 เป็นการศึกษาเชิงปริมาณเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลการวัดตัวบ่งชี้ความสุขในที่ทำงานของครูปฐมวัย และพัฒนาเกณฑ์ปกติในกลุ่มครูปฐมวัย จำนวน 921 คน จาก 6 ภูมิภาคทั่วประเทศ ซึ่งได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบวัดประมาณค่า 4 ระดับ ที่มีค่าความเชื่อมั่น .94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS for Windows และ LISREL ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า ตัวบ่งชี้ความสุขในที่ทำงานของครูปฐมวัย ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก 15 องค์ประกอบย่อย และ 64 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) ความคิดเชิงบวก มี 3 องค์ประกอบย่อย 16 ตัวบ่งชี้ 2) ความสัมพันธ์ทางสังคมที่ดี มี 3 องค์ประกอบย่อย 8 ตัวบ่งชี้ 3) การเห็นคุณค่าในตัวเอง มี 3 องค์ประกอบย่อย 16 ตัวบ่งชี้ 4) การรับรู้การสนับสนุนจากองค์กร มี 3 องค์ประกอบย่อย 14 ตัวบ่งชี้ และ 5) การรับรู้ความสามารถและเชี่ยวชาญของตน มี 3 องค์ประกอบย่อย 10 ตัวบ่งชี้ ส่วนผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า โมเดลการวัด ตัวบ่งชี้ความสุขในที่ทำงานของครูปฐมวัยที่พัฒนาขึ้นจากทฤษฎี มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง (X2 = 106.35; df = 54; p = .00003; CFI = 1.00; GFI = 0.98; AGFI = 0.97; RMSEA = 0.032; X2 / df = 1.97) และผลการพัฒนาเกณฑ์ปกติ พบว่า มีคะแนนทีปกติอยู่ในช่วง T20 ถึง T81 |
รายละเอียด: | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12649 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 3.5 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น