กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12647
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนาเชาวน์สังคมของนักเรียนวัยรุ่นโดยการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The development of dolescent students’ socil intelligence through integrtive group counseling model |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เพ็ญนภา กุลนภาดล ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์ ดุษฎี เล็บขาว มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาจิตวืทยาการปรึกษา วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก Humanities and Social Sciences ความฉลาดทางสังคม นักเรียน -- การให้คำปรึกษา |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
สำนักพิมพ์: | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาเชาวน์สังคมของนักเรียนวัยรุ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการเพื่อพัฒนาเชาวน์สังคมของนักเรียนวัยรุ่น 3) เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการเพื่อพัฒนาเชาวน์สังคมของนักเรียนวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 จำนวน 1,031 คน ใช้ในการศึกษาเชาวน์สังคมของนักเรียนวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่างที่ 2 คัดเลือกจากนักเรียนที่มีค่าเฉลี่ยคะแนนเชาวน์สังคมตั้งแต่เปอร์เซนไทล์ที่ 50 ลงมา จำนวน 20 คนและสุ่มอย่างง่ายเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 10 คน กลุ่มทดลองได้รับการพัฒนาเชาวน์สังคมโดยใช้รูปแบบการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการ ดำเนินการปรึกษากลุ่มจำนวน 10 ครั้ง ๆ ละ 90 นาที เป็นระยะเวลา 10 สัปดาห์ติดต่อกัน ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามแนวทางปกติของโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดเชาวน์สังคมที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดโดยสูตรสัมประสิทธ์อัลฟ่า (α-Coefficient reliability) เท่ากับ 0.82 และรูปแบบการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการมีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง .60-1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมล ได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. เชาวน์สังคมนักเรียนวัยรุ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.35, SD = .39) มีองค์ประกอบด้านความร่วมรู้สึกอย่างแท้จริง ด้านการเอื้ออำนวยในสังคมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยคะแนนเชาวน์สังคมเท่ากับ 3.46 และ 3.41 ตามลำดับ ด้านการตระหนักรู้สถานการณ์ ด้านการแสดงตน ด้านการนำเสนอตนเอง อยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยเชาวน์สังคมเท่ากับ 3.37, 3.35 และ 3.33 ตามลำดับ 2. รูปแบบการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการเพื่อพัฒนาเชาวน์สังคมของนักเรียนวัยรุ่น พัฒนาจากแนวคิดทฤษฎีและเทคนิคต่าง ๆ ของการปรึกษากลุ่ม ประกอบด้วย ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม ทฤษฎีเกสตัลท์ ทฤษฎีเน้นบุคคลเป็นศูนย์กลาง ทฤษฎีการวิเคราะห์การสื่อสาร ทฤษฎีการเผชิญความจริง ทฤษฎีการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์นิยม โดยขั้นตอนการปรึกษาประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือขั้นนำ ขั้นดำเนินการ และขึ้นสรุป 3. เชาวน์สังคมนักเรียนวัยรุ่นที่ได้รับการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการมีค่าเฉลี่ยคะแนนเชาวน์สังคมเพิ่มขึ้นกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. เชาวน์สังคมนักเรียนวัยรุ่นที่ได้รับการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการมีค่าเฉลี่ยคะแนนเชาวน์สังคมระยะหลังการทดลองและหลังการติดตามผลเพิ่มขึ้นกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
รายละเอียด: | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12647 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 7.98 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น